History
นครชุมเป็นตำบลเล็กๆ ใน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ที่มีประวัติยาวนานหลาย 100 ปี อยู่ติดลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีลำคลองที่สำคัญคือ "คลองสวนหมาก" ในอดีตเป็นเมืองค้าขาย โดยเฉพาะค้าไม้และของจำเป็นอื่นๆ มีพ่อค้าและแรงงาน จากต่างถิ่นหลากหลายชนเผ่าทั้ง ไทย จีน กระเหรี่ยง มอญ ลาว ทำให้มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย นอกจากนั้นยังมีประวัติเล่าขานมากมาย หนึ่งในนั้นคือ "ตำนานชั่วฟ้าดินสลาย" ที่เป็นนวนิยายชื่อดังของ "ครูมาลัย ชูพินิจ" ที่นำบรรยากาศฉากหลังบรรยากาศของเมืองนครชุมและประวัติศาสตร์ของนครชุมแฝงอยู่มาเป็นฉากหลัง พร้อมกับหยิบเรื่องราวของ "พะโป้" ชาวกะเหรี่ยงผู้ได้รับสัมปทานไม้แห่งเมืองกำแพงเพชร ที่มาตั้งบ้านเรือนที่บริเวณปากคลองสวนหมากซึ่งมีชีวิตอยู่จริงมาเป็นตัวละครนวนิยายที่แต่งขึ้น นอกจากนั้นยังมีผลงานของครูมาลัยที่บันทึกเรื่องราวของนครชุม และคลองสวนหมาก ไว้อย่างละเอียดครบถ้วนในหนังสือ "ทุ่งมหาราช"
ตลาดย้อนยุคนครชุม โดยจำลองบรรยากาศตลาดแบบย้อนยุคภายในตลาดจะมีพ่อค้า แม่ค้าแต่งกายด้วยผ้าจุงกระเบน ซึ่งจัดให้มีขึ้นทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ แรกของเดือน เปิดตลาดตั้งแต่เวลาประมาณ 17.00 น เป็นต้นไป สินค้าที่จำหน่ายใน "ตลาดต้องชม" ที่เป็นเอกลักษณ์พาณิชย์ อัตลักษณ์ของชุนชน อาหารในท้องถิ่น เช่น ขนมครก ขนมรังผึ่ง ผัดไท ขนมเบื้อง และอีกมากมายที่เข้ายุคสมัย รวมทั้งสินค้าเกษตร สินค้าหัตถกรรม OTOP อาทิ การจักสานไม้ไผ่ งานผีมือใบตองหรือการวาดรูป ระบายสี มุ่งเน้นการแต่งกายพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยสร้างสำนึกในการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งสร้างแหล่งเรียนรู้ปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เยาวชนรุ่นลูกๆ หลานๆ ได้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมต่อๆ กันไป สร้างรายได้สร้างเศรษฐกิจชุมชนให้ดีขึ้น สามารถก้าวไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง
ตลาดย้อนยุคนครชุม โดยจำลองบรรยากาศตลาดแบบย้อนยุคภายในตลาดจะมีพ่อค้า แม่ค้าแต่งกายด้วยผ้าจุงกระเบน ซึ่งจัดให้มีขึ้นทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ แรกของเดือน เปิดตลาดตั้งแต่เวลาประมาณ 17.00 น เป็นต้นไป สินค้าที่จำหน่ายใน "ตลาดต้องชม" ที่เป็นเอกลักษณ์พาณิชย์ อัตลักษณ์ของชุนชน อาหารในท้องถิ่น เช่น ขนมครก ขนมรังผึ่ง ผัดไท ขนมเบื้อง และอีกมากมายที่เข้ายุคสมัย รวมทั้งสินค้าเกษตร สินค้าหัตถกรรม OTOP อาทิ การจักสานไม้ไผ่ งานผีมือใบตองหรือการวาดรูป ระบายสี มุ่งเน้นการแต่งกายพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยสร้างสำนึกในการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งสร้างแหล่งเรียนรู้ปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เยาวชนรุ่นลูกๆ หลานๆ ได้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมต่อๆ กันไป สร้างรายได้สร้างเศรษฐกิจชุมชนให้ดีขึ้น สามารถก้าวไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง