คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดพะเยา
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดพะเยา หมู่6 ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา 56140
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดพะเยา (เกษตรที่สูง) ตั้งอยู่บนความสูงจากน้ำทะเล 908 เมตร มีสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างหนาวเย็นตลอดทั้งปี สภาพพื้นที่เป็นสันเขา ตั้งอยู่ในบริเวณวนอุทยานภูลังกา จากที่ตั้งศูนย์สามารถมองเห็นทิวทัศน์ยอดดอยภูลังกา ซึ่งมีตำนานเล่าขานว่า ในอดีตช่วงก่อนวันพระขึ้น 15 ค่ำ ชาวเขาด้านล่างซึ่งเป็นชนเผ่าเมี่ยน จะมองเห็นแสงสว่างขาวนวลส่องเป็นประกายเหมือนแท่งหน่อไม้คู่ บนยอดภูลังกา ทำให้ชาวบ้านบางคนเกิดความสงสัย บางคนถึงขนาดมานอนค้างอ้างแรมกันข้างบนภูลังกา แต่ก็ไม่พบอะไร แต่พอกลับลงไปก็พบแสงสว่างที่ว่านั้นในวันพระ ขึ้น 15 ค่ำอีก ชาวบ้านแถบนี้จึงเชื่อกันว่า แสงเหล่านั้นเกิดจากการชุมนุมกันของเหล่าเทวดา เชื่อว่า บนภูลังกาแห่งนี้ เป็นที่สถิตของเทพ เทวดา ทุกๆปีจะต้องทำพิธีเซ่นไหว้ เพื่อให้ท่านช่วยปกปักรักษา ชาวเมี่ยนจึงเรียก ภูลังกาแห่งนี้ว่า “ฟินจาเบาะ” หรือ “แท่นเทวดา”

โปรแกรมการท่องเที่ยว :
1 วัน
- ช่วงเช้า : สัมผัสอากาศหนาว ชมทิวทัศน์ดอยภูลังกา เยี่ยมชมแปลงเรียนรู้ภายในศูนย์ฯ เช่น แปลงองุ่น อาโวคาโด้ การปลูกพืชผักในโรงเรือน และแปลงเกษตรกร
- ช่วงบ่าย : จิ๊บกาแฟ และชาเจียวกูหลาน ที่จุดชมวิวผาช้างน้อย ภูลังการีสอร์ท Magic Mountain บ้านทะเลหมอก (ที่พักหลักร้อยวิวหลักล้าน) และเยี่ยมชมโครงการหลวงปังค่า
2 วัน
วันที่ 1
- ช่วงเช้า : ไหว้พระขอพรวัดนันตาราม และวัดพระนั่งดิน
- ช่วงบ่าย : ชมทิวทัศน์ดอยภูลังกา เยี่ยมชมแปลงเรียนรู้ภายในศูนย์ฯ เช่น แปลงองุ่น อาโวคาโด้ การปลูกพืชผักในโรงเรือน และแปลงเกษตรกร
วันที่ 2
- ช่วงเช้า : จิ๊บกาแฟ และชาเจียวกูหลาน ที่จุดชมวิวผาช้างน้อย ภูลังการีสอร์ท Magic Mountain บ้านทะเลหมอก (ที่พักหลักร้อยวิวหลักล้าน) และเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน
- ช่วงบ่าย : เยี่ยมชมโครงการหลวงปังค่า และยอดดอยภูลังกา

เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ :
'- วัดนันตาราม ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 42.3 กิโลเมตร
- วัดพระนั่งดิน ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 38 กิโลเมตร
- โครงการหลวงปังค่า ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 21.8 กิโลเมตร
- วนอุทยานภูลังกา ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 25 กิโลเมตร
- จุดชมวิวผาช้างน้อย ภูลังการีสอร์ท Magic Mountain บ้านทะเลหมอก (ที่พักหลักร้อยวิวหลักล้าน)
ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 6.9 กิโลเมตร
- อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 16 กิโลเมตร
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบครบวงจร ภายในฟาร์มมีบริการสอนขี่ม้าเที่ยวชมธรรมชาติ ล่องแม่น้ำ อาหาร กาแฟ และที่พักใกล้ชิดธรรมชาติ
กาญจนบุรี
บ้านไร่ไชยสุริย์ ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เป็นศูนย์เรียนรู้การสร้างอาชีพ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับประชาชนและสามรถที่นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมการเกษตรต่างๆเพื่อนำไปปรับใช้เป็นอาชีพของตนเองได้
มุกดาหาร
สวนองุ่นแวงเดอร์เรย์ (Vin De Ray) เป็นสวนองุ่นที่คัดสรรพันธุ์องุ่นสำหรับการผลิตไวน์โดยเฉพาะ พิกัด : https://goo.gl/maps/TAiSBmBywwVD5ek86
สระบุรี
พบกับร้าน WISDOM CAFÉ แวะจิบกาแฟ ชิลล์ ชิลล์ เพิ่มความสดชื่นท่ามกลางบรรยากาศท้องทุ่ง แชะ แชร์ ถ่ายภาพกับมุมโปรดสุดประทับใจบนสะพานไม้ไผ่ ชมความน่ารักของสัตว์ในวิถีเกษตร สัมผัสเสน่ห์ของวิถีเกษตรไทย สะท้อนวิถีชีวิต ความเชื่อ และประเพณี กับโซนบ้านเรือนไทย 4 ภาค ตื่นตา ตื่นใจ ชมเรือขุด รข.1 เรือขุดในสมัยรัชกาลที่ 5
ปทุมธานี
...ชิมชา......ชาผักเชียงดาที่ผลิตภายในศูนย์ฯ ...ชมสวน...ชมแปลงเรียนรู้การเกษตรด้าน ไม้ดอก-ไม้ประดับ,ไม้ผล-ไม้ยืนต้น,เศรษฐกิจพอเพียง,พืชผักและสมุนไพร,แมลงเศรษฐกิจ,ฝายชะลอน้ำ,แปลงรวบรวมพันธุ์ไม้หายาก,จุดเช็คอินธรรมชาติ,เส้นทางเดินชมธรรมชาติ,ชมตาน้ำ,ดูนกท้องถิ่น...ฯลฯ ...ชวนช้อป...สินค้าผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรที่บริเวณจุดจำหน่ายด้านหน้าศูนย์ฯ โปรแกรมการท่องเที่ยว : ทริปเที่ยว ๑ วันภายในศูนย์ฯ ทริปเที่ยว ๒ วัน ๑ คืน..พร้อมท่องเที่ยวแหล่งอื่นๆที่ใกล้เคียง เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: '- บ้านไทลื้อบ้านลวงใต้ ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - วัดศรีมุงเมือง ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - วัดพระธาตุดอยสะเก็ด ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - หนองบัวพระเจ้าหลวง ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๕ กม. สะพานแขวนเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๑๐กม. - น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด ระยะทางจากศูนย์ฯ ๙ กม. - ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระยะทางจากศูนย์ฯประมาณ ๔ กม. - โครงการพระราชดำริฯศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรแปลงสาธิต๘๕ไร่ ระยะทางจากศูนย์ฯถึงประมาณ ๗ กม.
เชียงใหม่
โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ ตั้งอยู่ที่อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร มีประวัติเล่าสืบกันมาว่าในปี ค.ศ.1908 มีผู้หนีตายอพยพจากที่ต่าง ๆ กัน เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้รวม 5 ครอบครัว ซึ่งหนีมาด้วยสาเหตุเดียวกัน คือ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงรุมทำร้ายและขับไล่ เป็นโบสถ์หลังที่ 4 วางแผนก่อสร้างปี ค.ศ. 1936 ชาวบ้านพากันรวบรวมไม้ ลงมือสร้างปี ค.ศ. 1947 ตัวโบสถ์รูปทรงที่สร้างขึ้นมีลักษณะแบบศิลปะไทย กว้าง 16 เมตร ยาว 57 เมตร จัดเป็นโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย ใช้แผ่นไม้เป็นแป้นมุง หลังคา 80,000 แผ่น ใช้เสาขนาดต่างๆกันถึง 360 ต้น ส่วนใหญ่เป็นเสาไม้เต็ง เสาในแถวกลางมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดมี 260 ต้น สูงจากพื้นดินกว่า 10 เมตร พื้นแผ่นกระดานเป็นไม้แดงและไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ม้านั่งไม้จุคนได้กว่าพันคน ระฆังโบสถ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 ฟุต อยู่ในหอระฆังสูงที่สร้างแบบหอระฆังตามวัดไทยทั่วไป แต่แปลกตรงที่แยกต่างหากจากโบสถ์ และเนื่องจากไม้ที่ได้รวบรวมมามีจำนวนมาก จึงได้นำไม้ที่เหลือมาสร้างโรงเรียนบ้านซ่งแย้พิทยา ข้อมูลและรูปภาพจากเว็บไซต์ : http://www.yasothon.go.th/web/file/menu4.html
ยโสธร
สวนบ้านเรา มีทุเรียนได้ลิ้มลองรสชาติที่แท้จริงของทุเรียนพันธุ์หายากเหล่านั้น ซึ่งมีน้อยคนนักจะได้สัมผัส สวนบ้านเรามีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำทุเรียนทุกสายพันธุ์ให้มีคุณภาพที่ดีที่สุด ให้สมกับเป็นผลไม้ชั้นสูงที่ถูกขนานนามว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้”
ระยอง
ชาวบ้านบ้านนาต้นจั่น มีวิถีชีวิตดั้งเดิม มีการทำเกษตรแบบผสมผสาน มีการทำผ้าหมักโคลนเป็นผ้าดีมีน้ำหนัก งดงามด้วยการหมักโคลนและการทอที่ซับซ้อน ชาวบ้านได้ปรับพื้นที่สำหรับกางเต็นท์ ยกแคร่ไม่ไผ่ทำเป็นที่นั่งกินข้าว ทำห้องน้ำ ส่วนที่เหลือยังคงสภาพป่าไว้ดังเดิม สันดอยแห่งนี้มีทัศนียภาพงดงาม สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้ในจุดเดียวกัน โฮมสเตย์บ้านนาต้นจั่นมีประมาณ 23 หลัง แยกบ้านให้อยู่เป็น หลังหรืออยู่บ้านเดียวกับเจ้าของบ้าน ได้ดื่มด่ำไปกับธรรมชาติรอบ ที่พัก พร้อมห้องครัวอุปกรณ์ครบครัน ซื้ออาหาร ไปทำรับประทานเองสะดวกสบาย มีกิจกรรมปั่นจักรยานชมวิถีชมุชนในหมู่บ้าน ชมสวนผลไม้และท้องทุ่งพร้อมไกด์ชุมชนนำทาง ไปชมสวนผลไม้ของชาวบ้าน โปรแกรมการท่องเที่ยว : -พักโฮมสเตย์บ้านนาต้นจั่น ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมดจำนวน 23 หลัง -ปั่นจักรยานชมวิถีชมุชนในหมู่บ้าน ชมสวนผลไม้และท้องทุ่ง -ชมวิธีการทำผ้าหมักโคลน การทอผ้าด้วยมือ ผ้ายกดอก และเลือกซื้อผ้าหมักโคลนตัดสำเร็จรูป -ชมวิธีการทำตุ๊กตาบาร์โหน (บ้านตาวงศ์) -ชมหัตถกรรมตอไม้ -ชมและชิมผลไม้ตามฤดูกาล ได้แก่ ทุเรียน เงาะ ลองกอง มะม่วง มะปราง มะไฟ ลำไย -จุดชมวิว “ห้วยต้นไฮ” ชมทะเลหมอกพระอาทิตย์ -ชมและทดลองการทำข้าวเปิ๊ป อาหารท้องถิ่น จิบกาแฟในกระบอกไม้ไผ่ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ : - อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย 30 กิโลเมตร - ร้านทองโบราณ ร้านเงินโบราณ 30 กิโลเมตร - อุทยานแห่งชาติน้ำตกป่าคา 70 กิโลเมตร - อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (เมืองเก่าสุโขทัย) 77 กิโลเมตร - อุทยานแห่งชาติรามคำแหง 110 กิโลเมตร
สุโขทัย
ชุมชนบ้านบัวเทิง ศูนย์แห่งการเรียนรู้วิถีชีวิตการดำรงชีวิตเพื่อความสุขอย่างพอเพียง การทำการเกษตรผสมผสาน เกษตรปลอดสารพิษ และแหล่งเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ ประโยชน์และการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพกับการเกษตร การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ภาคอีสานที่ร้อนและแห้งแล้ง
อุบลราชธานี
ศูนยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ไร่นาสวนผสม การแปรรูปผลผลิตการเกษตร
ระยอง
บ้านสวนอคิราห์ เกษตรตามรอยพ่อ ได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริอำเภอปาย ซึ่งเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมบาถบพิตร และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อไปสู่ประชาชนในพื้นที่เพื่อให้ประชาชนนำแนวคิดและหลักปฏิบัติไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านต่างๆ ดังนี้ 1. ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอำเภอปาย 2. ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 3. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 4. ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ด้านไร่นาสวนผสม ด้านปศุสัตว์ ด้านประมง 5. แปลงต้นแบบการผลิตพืชอินทรีย์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน 6. แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตามโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 7. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ประจำตำบลแม่ฮี้ 8. ศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา โมเดล บ้านสวนอคิราห์
แม่ฮ่องสอน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร