คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงใหม่
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ หมู่1 ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 50220
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
อยู่ในเวลาปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
...ชิมชา......ชาผักเชียงดาที่ผลิตภายในศูนย์ฯ
...ชมสวน...ชมแปลงเรียนรู้การเกษตรด้าน ไม้ดอก-ไม้ประดับ,ไม้ผล-ไม้ยืนต้น,เศรษฐกิจพอเพียง,พืชผักและสมุนไพร,แมลงเศรษฐกิจ,ฝายชะลอน้ำ,แปลงรวบรวมพันธุ์ไม้หายาก,จุดเช็คอินธรรมชาติ,เส้นทางเดินชมธรรมชาติ,ชมตาน้ำ,ดูนกท้องถิ่น...ฯลฯ
...ชวนช้อป...สินค้าผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรที่บริเวณจุดจำหน่ายด้านหน้าศูนย์ฯ

โปรแกรมการท่องเที่ยว :
ทริปเที่ยว ๑ วันภายในศูนย์ฯ
ทริปเที่ยว ๒ วัน ๑ คืน..พร้อมท่องเที่ยวแหล่งอื่นๆที่ใกล้เคียง

เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ:
'- บ้านไทลื้อบ้านลวงใต้ ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม.
- วัดศรีมุงเมือง ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม.
- วัดพระธาตุดอยสะเก็ด ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม.
- หนองบัวพระเจ้าหลวง ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๕ กม. สะพานแขวนเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๑๐กม.
- น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด ระยะทางจากศูนย์ฯ ๙ กม.
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระยะทางจากศูนย์ฯประมาณ ๔ กม.
- โครงการพระราชดำริฯศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรแปลงสาธิต๘๕ไร่
ระยะทางจากศูนย์ฯถึงประมาณ ๗ กม.
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
ผ้าไทย ถือเป็นหัตถกรรมและหัตถศิลป์มรดกอันล้ำค่าของเมืองไทย มีความงดงามของเส้นไหมที่เป็นเอกลักษณ์ลวดลายที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย ทำให้เป็นผ้าไหมไทยได้รับความนิยม และโด่งดังไปทั่วโลกในอดีตผ้าไหมไทยถูกนำมาใช้ในหมู่สมาชิกของราชวงศ์ และข้าราชการเท่านั้น แต่ในยุคปัจจุบันผ้าไหมไทยก็เป็นที่นิยมในวงการแฟชั่น วงสังคมชั้นสูง และประชาชนทั่วไป เช่นกัน ผ้าไหมไทยเป็นผ้าที่นิยมใช้ในชุดแต่งงาน, ชุดไทย, ชุดไทยออกงานสำหรับสวมใส่ในงานปาร์ตี้ งานบุญ
ลำพูน
เป็นฟาร์มเกษตรแบบผสมผสาน มีการวางแผนและจัดระบบฟาร์มที่ดี การผลิตและใช้สารสกัดชีวภาพเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืช นอกจากนั้นยังมีการขยายพันธุ์ไม้ผลและเป็ดเทศอีกด้วย ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการศึกษาดูงาน
กำแพงเพชร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
ศูนย์การเรียนรู้ตามรอยพ่อหลวง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 ตำบลสรรพยา (ถนนเส้น ห้วยกรด - สรรพยา) ศูนย์การเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรผสมผสาน ขุดบ่อเลี้ยงปลา ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทั้งนี้ ยังรองรับคณะศึกษาดูงานจากหลายหน่วยงาน ประชาชน ตลอดจนผู้ที่สนใจ ติดต่อสอบถาม 081 886 2844 (นายกใหญ่) และ 082 399 0990 (แป้ง)
ชัยนาท
บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อเป็นฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายในบ้านเป็นสวนผสม ปลูกพืชผักเพื่อบริโภคในครอบครัว โดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต และครูยังเป็นต้นแบบในการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในถังพลาสติก จำนวน 400 ถัง และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะได้ข้าวเปลือกประมาณกว่า 20 ถัง ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในครอบครัวได้ทั้งปี ต่อมาได้มีชาวบ้าน และชาวต่างชาติรู้ข่าวจึงได้มาดู และขอดูถ่ายรูปเป็นจำนวนมาก และได้เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการทำการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนนักศึกษาและผู้ที่สนใจอีกด้วย
ชุมพร
ดงเมืองเตยเป็นเมืองเก่าสมัยขอมจะเป็นเมืองร้างมาแล้วนานเท่าไรไม่ทราบได้ สภาพที่เห็นมาจากปู่ย่าตาทวดหลายชั่วอายุคน ดงเมืองเตยมีป่าไม้ขึ้นสูงข้างล่างโปร่ง มีหมู่ไม้เล็กๆ ขึ้นบ้าง ต้นไม้ใหญ่ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะแบก ไม้ยางเหียง เป็นป่าหนาแน่นมาก พวกพ่อแม่ปู่ย่าตายายไม่กล้าตัดต้นไม้ในดงนี้ เพราะดงเมืองเตยมีผีดุเรียกว่า ผีปู่ตา ป่าไม้จึงเป็นที่อาศัยของลิง และนกหลายจำพวก บึงรอบบริเวณดงเมืองเตยเป็นหนองน้ำขนาดลึกมีน้ำขังตลอดปี เป็นที่อาศัยและเป็นที่เพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ นอกจากนกจำพวกต่างๆ แล้วบึงนี้ได้ชื่อว่ามีเต่ามากที่สุด เหตุที่มีเต่ามากเช่นนี้ชาวบ้านนับถือผีปู่ตา ปู่ตาห้ามจับกินทำลายสัตว์พาหนะของท่าน คือ ลิงและเต่า ถ้าเกิดทำอันตรายขึ้นมา จะต้องมีอันเป็นไป” “ต่อมาเมื่อประมาณ 90 ปีมาแล้ว ชาวบ้านสงเปือยมีหมอร่ำเรียนวิชาอาคมมาทำพิธีปราบผีดงเมืองเตยได้ หมอผู้มีวิชาอาคมผู้นี้ชื่อ ผู้ใหญ่สุวอ เหตุการณ์นี้ตรงกับสมัยพ่อใหญ่อัครฮาด เป็นตาแสง เมื่อชาวบ้านใกล้ไกลได้ยินข่าวพ่อใหญ่สุวอข่มผีดงเมืองเตยได้แล้ว ก็พากันหลั่งไหลมาจับเต่าปลาดงเมืองเตยไปเป็นอาหารจนเกือบเกลี้ยงบึง เต่าจึงเกือบสูญพันธุ์มาจนบัดนี้ พ่อใหญ่สุวอได้แบ่งปันที่บึงออกเป็นที่นาให้พี่น้องญาติมิตรทำนามาจนทุกวันนี้ ส่วนบริเวณดงเมืองเตยได้แบ่งบันทำไร่ สวน ปลูกพืชทำกินมาเท่าทุกวันนี้ อันนี้เป็นเรื่องจริง ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุครบ 90 ปี เช่น พ่อใหญ่อ่อน หอมกลิ่น พ่อใหญ่บู กกเปือย ยังมีชีวิตเป็นพยานอยู่
ยโสธร
โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า เป็นโครงการที่รเริ่มดำเนินการโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งได้รับความร่วมมือสนับสนุนจาดส่วนราชการ อำเภอพนมสารคาม และธนาคารกรุงเทพ จำกัด เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นมา เพื่่อช่วยเหลือเกษตรที่มีฐานะยากจน ไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง ให้มีโอกาสได้ประกอบอาชีพการเลี้ยงสัตว์ ควบคู้ไปกับเพราะปลูก การดำเนินงานของโครงการ จัดเป็นระบบเบ็ดเสร็จครบวงจร เพื่อให้การพัฒนาอาชีพของกระเกษตรกรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ฉะเชิงเทรา
ชม ชิม เช็คอิน บรรยากาศสวนสละ เรียนรู้การเขี่ยดอกสละ จำหน่ายสละและผลิตภัณฑ์แปรรูป
ระยอง
- ชมการเลี้ยงปลาในกระชัง หอยแมลงภู่ - การปลูหญ้าทะเล - ศึกษาระบบนิเวศน์ป่าชายเลน - การแปรรูปปลาเค็มกางมุ้ง/อาหารทะเล - การจักสานเตยปาหนัน โปรแกรมการท่องเที่ยว - เดินทางถึงที่ทำการกลุ่ม ฟังบรรยายสรุปข้อมูลความเป็นมาของวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลากระชังบ้านพรุจูด - เรียนรู้วิถีการเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง - ล่องเรือชมระบบนิเวศน์ป่าชายเลน ศึกษาป่าชายเลน บ่อน้ำร้อน ชมอ่าวบุญคง ปลูกหญ้าทะเลเพื่อการอนุรักษ์อาหารปลาพะยูนในท้องทะเลตรัง ชมเกาะต่างๆ หาดทราย กลับเข้าที่พัก อาหารเย็น ตอนเช้าชมวิถีชุมชน กลุ่มแปรรูปอาหารทะเลปลาเค็มกางมุ้ง กลุ่มจักสานเตยปาหนัน ซื้อของฝาก เดินทางกลับ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) - หาดปากเม็ง 8 km. - หาดหัวหิน 3 km. - หาดราชมงคล 6 km. หมายเหตุ การวัดระยะทางใช้จุดที่ทำการกลุ่มฯ เป็นจุดเริ่มต้น สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน ผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตร อาหารทะเล ปลาเค็มกางมุ้ง ผลิตภัณฑ์จักสานเตยปาหนัน
ตรัง
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดพะเยา (เกษตรที่สูง) ตั้งอยู่บนความสูงจากน้ำทะเล 908 เมตร มีสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างหนาวเย็นตลอดทั้งปี สภาพพื้นที่เป็นสันเขา ตั้งอยู่ในบริเวณวนอุทยานภูลังกา จากที่ตั้งศูนย์สามารถมองเห็นทิวทัศน์ยอดดอยภูลังกา ซึ่งมีตำนานเล่าขานว่า ในอดีตช่วงก่อนวันพระขึ้น 15 ค่ำ ชาวเขาด้านล่างซึ่งเป็นชนเผ่าเมี่ยน จะมองเห็นแสงสว่างขาวนวลส่องเป็นประกายเหมือนแท่งหน่อไม้คู่ บนยอดภูลังกา ทำให้ชาวบ้านบางคนเกิดความสงสัย บางคนถึงขนาดมานอนค้างอ้างแรมกันข้างบนภูลังกา แต่ก็ไม่พบอะไร แต่พอกลับลงไปก็พบแสงสว่างที่ว่านั้นในวันพระ ขึ้น 15 ค่ำอีก ชาวบ้านแถบนี้จึงเชื่อกันว่า แสงเหล่านั้นเกิดจากการชุมนุมกันของเหล่าเทวดา เชื่อว่า บนภูลังกาแห่งนี้ เป็นที่สถิตของเทพ เทวดา ทุกๆปีจะต้องทำพิธีเซ่นไหว้ เพื่อให้ท่านช่วยปกปักรักษา ชาวเมี่ยนจึงเรียก ภูลังกาแห่งนี้ว่า “ฟินจาเบาะ” หรือ “แท่นเทวดา” โปรแกรมการท่องเที่ยว : 1 วัน - ช่วงเช้า : สัมผัสอากาศหนาว ชมทิวทัศน์ดอยภูลังกา เยี่ยมชมแปลงเรียนรู้ภายในศูนย์ฯ เช่น แปลงองุ่น อาโวคาโด้ การปลูกพืชผักในโรงเรือน และแปลงเกษตรกร - ช่วงบ่าย : จิ๊บกาแฟ และชาเจียวกูหลาน ที่จุดชมวิวผาช้างน้อย ภูลังการีสอร์ท Magic Mountain บ้านทะเลหมอก (ที่พักหลักร้อยวิวหลักล้าน) และเยี่ยมชมโครงการหลวงปังค่า 2 วัน วันที่ 1 - ช่วงเช้า : ไหว้พระขอพรวัดนันตาราม และวัดพระนั่งดิน - ช่วงบ่าย : ชมทิวทัศน์ดอยภูลังกา เยี่ยมชมแปลงเรียนรู้ภายในศูนย์ฯ เช่น แปลงองุ่น อาโวคาโด้ การปลูกพืชผักในโรงเรือน และแปลงเกษตรกร วันที่ 2 - ช่วงเช้า : จิ๊บกาแฟ และชาเจียวกูหลาน ที่จุดชมวิวผาช้างน้อย ภูลังการีสอร์ท Magic Mountain บ้านทะเลหมอก (ที่พักหลักร้อยวิวหลักล้าน) และเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน - ช่วงบ่าย : เยี่ยมชมโครงการหลวงปังค่า และยอดดอยภูลังกา เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ : '- วัดนันตาราม ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 42.3 กิโลเมตร - วัดพระนั่งดิน ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 38 กิโลเมตร - โครงการหลวงปังค่า ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 21.8 กิโลเมตร - วนอุทยานภูลังกา ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 25 กิโลเมตร - จุดชมวิวผาช้างน้อย ภูลังการีสอร์ท Magic Mountain บ้านทะเลหมอก (ที่พักหลักร้อยวิวหลักล้าน) ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 6.9 กิโลเมตร - อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 16 กิโลเมตร
พะเยา
-ชม ชิม ช็อป สินค้าชุมชนตลาดน้ำท่าคา (ตลาดน้ำมีทุกวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ และทุกวันขึ้นและแรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ และ 12 ค่ำ) -ลงเรือพายชมธรรมชาติริมฝั่งคลอง ไปตามเส้นทางเสด็จประพาสต้น ร.5 ณ บ้านกำนันจัน เป็นบ้านเรือนไทยเก่าแก่ (จองก่อนเข้าชมบ้านกำนันจัน) -เยี่ยมชมกิจกรรมชุมชน ร่วมทำกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้ต่างๆของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ตลาดน้ำท่าคาจากเรื่องราวของมะพร้าว ชมภูมิปัญญาการทำน้ำตาลมะพร้าว ได้แก่ - การขึ้นเก็บน้ำตาลมะพร้าวจากต้น - การเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าวแบบโบราณ - เติมความหวาน เรียนรู้การทำขนมโบราณจากน้ำตาลมะพร้าวท่าคา - การจักสานก้านมะพร้าว ภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนท่าคา - การจักสานทางมะพร้าวสด นำมาสานเป็นหมวก ตะกร้า ฯลฯ - เรือดุ๊กดิ๊กจากกาบมะพร้าว
สมุทรสงคราม
“ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์” ภายใต้แนวคิดการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการป่าครบวงจร เป็นพื้นที่สาธิตการปลูกป่าและวิจัยการฟื้นฟูป่าหลากหลายรูปแบบ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นภาคตะวันออกและพันธุ์ไม้หายากของไทย รวมถึงเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เรื่องการปลูกป่าและระบบนิเวศป่าไม้ ให้แก่นิสิต นักศึกษา นักเรียน และประชาชนผู้สนใจ อีกทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งใหม่ที่สำคัญของภาคตะวันออก โดยศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดศูนย์ฯเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2558 และได้เปิดให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ระยอง