คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
โครงการศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ
โครงการศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ หมู่2 ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก

การมาเที่ยวชมศูนย์ฯ แห่งนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย เว้นแต่ว่ามากันเป็นหมู่คณะ และต้องการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทางศูนย์ฯ ได้จัดขึ้น ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นเลิศ ที่จะทำให้เข้าใจเรื่องราวของคำว่า "พอเพียง" และการใช้ทรัพยากรอย่างไรให้ได้ประโยชน์และรู้คุณค่ามากที่สุด การเดินเที่ยวชมที่แห่งนี้ เดินชมได้เป็นลักษณะคล้ายวงกลม โดยเริ่มจาก โซนภาคเหนือ ตื่นตาไปกับการปลูกไม้ไผ่ชนิดต่างๆ สองข้างทาง รวมทั้งความน่ารักของสะพานไม้ไผ่ บ้านที่สร้างจากไม้ไผ่ริมสระบัว และเครื่องเล่นที่ทำจากไม้ไผ่ ที่จัดแสดงแบบนี้ เป็นเพราะต้องการให้ได้รู้ว่าไม้ไผ่สามารถทำประโยชน์อะไรได้มากมาย รวมทั้งทำรางหยดน้ำ เพื่อใช้รดน้ำต้นไม้และรดดินแทนคนอีกด้วย เดินขึ้นไปตามภูเขาก้อนเล็กๆ เรียนรู้เรื่องภูเขาป่า การตะบันน้ำ คือ การที่ใช้น้ำอัดน้ำขึ้นที่สูงแทนการใช้เครื่องปั๊มน้ำ ระบบป่าเปียกกันไฟ ประโยชน์ของหญ้าแฝก และการทำฝายชะลอความชุ่มชื้น

เดินต่อไปยัง โซนภาคกลาง เรียนรู้เรื่องการเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของตัวเองอย่างคุ้มค่า เรียนรู้การสร้างบ้านดิน และเรื่องสมุนไพรนานาชนิด แล้วก็เดินไปยัง โซนภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ชมธนาคารข้าว เรียนรู้เรื่องการสีข้าว การเลี้ยงปศุสัตว์ แอบเห็นวัวตัวเบ่อเริ่มอยู่ในคอกด้วย การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง จะได้ไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมี และได้เรียนรู้เรื่องการห่มดิน จากที่พื้นที่ที่ไม่มีดิน ต้องใช้วิธีห่มดิน เพื่อให้ได้ดินดีๆ กลับมาปลูกพืชผัก แต่จะทำอย่างไร อยากให้ไปเรียนรู้ด้วยตัวเองจะดีที่สุด

สุดท้ายไปยัง โซนภาคใต้ ไปดูการเผาถ่านที่ทำจากไม้ไผ่ การทำน้ำมันไบโอดีเซล และเรียนรู้โครงการแก้มลิง นอกจากนี้ตลอดภายในศูนย์ฯ ฉันเห็นว่าจะมีร่องน้ำขนาดใหญ่และเล็กตลอดเส้นทาง มีสระน้ำ มีแปลงเกษตรปลูกพืชผัก มีกังหันน้ำชัยพัฒนา มีการปลูกหญ้าแฝกในน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย จบการเดินเที่ยวชม ที่รับสาระความรู้และความเพลิดเพลินเดินอย่างไม่รู้เหนื่อยกันไป เดินชม ตาดู หูฟังและปากถามเจ้าหน้าที่ไม่ลดละ เพียงเพราะว่าสิ่งที่เราคิดว่า ‘เรารู้' กลายเป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน นั่นเป็นเพราะความเคยชินกับโครงการต่างๆ หรือทฤษฎีต่างๆ แต่ไม่เคยปฏิบัติหรือมาสัมผัสจริง

การเดินทาง : จากแยกรังสิต ไปทาง อ.องครักษ์ มุ่งหน้าไปใช้เส้นนครนายก-น้ำตกนางรอง ผ่านวังตะไคร้ ก่อนถึงน้ำตกนางรอง 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าโครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล ตรงไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงวงเวียน (มีรูปปั้นช้าง) วนขวาข้ามสะพาน ถึงสี่แยกเลี้ยวขวาตรงไปอีก 200 เมตร ศูนย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ
ประวัติความเป็นมา
ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ ก่อตั้งบนที่ดินส่วนพระองค์ของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมูลนิธิชัยพัฒนาและสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปภัมภ์ ได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีเจตจำนงที่จะถวายความจงรักภักดีประกอบกิจกรรมสนองพระราชดำริ โดยมูลนิธิชัยพัฒนาขอพระบรมราชานุญาตขอใช้ที่ดิน 14-2-18 ไร่ ตั้งอยู่ท้ายเขื่อนขุนด่านปราการชล เป็นที่รวบรวมข้อมูลและมีกิจกรรมที่แสดงให้เห็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เกิดเป็นโครงการศูนย์นันทนาการบริหารทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเสนอแนวคิด และทฤษฎีการพัฒนาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านการเกษตร ปศุสัตว์ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน ตลอดจนการสาธิตความเป็นอยู่วิถีไทยด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ลักษณะเด่น
- ศูนย์แสดงแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ
- นิทรรศการเรื่อง ดิน น้ำ ป่าไม้ การอยู่การใช้
- สมุนไพร
- วิถีชีวิตในชุมชน
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
บ้านจำรุงเป็นหมู่บ้านเล็กๆ สมาชิกเหมือนเป็นคนครอบครัวเดียวกันทั้งหมด แต่เดิมมีลุงสำเริง ดีนาน เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง “โอท็อปโบราณ” ก่อนจะพัฒนาเป็นศูนย์โอท็อปชาวบ้าน นำสินค้าผลผลิตทางการเกษตรในชุมชนมาขาย นอกจากนี้ ยังเปิดแหล่งท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ มีรถพาชมสวน ได้ทั้งการพักผ่อนใกล้ชิดธรรมชาติ และความรู้จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบชาวบ้าน ทั้งเกษตรพื้นบ้านไร้สารเคมี เกษตรธรรมชาติกองทัพมด เป็นตัวอย่างนำกลับไปใช้ได้จริง โดยเริ่มลงมือทำตั้งแต่ปีพ.ศ.2529 กระทั่งมีผลงานเป็นรูปธรรม ด้วยความร่วมมือของชาวบ้านที่เข้มแข็ง จากที่ประชุมกันในครัวเรือน กลายเป็นเครือข่ายองค์กรบ้านจำรุง ที่มีการประชุมร่วมกันทุกวันที่ 15 ของเดือน เป็นเวทีสาธารณะ หรือเวทีชาวบ้าน ที่มีทั้งเด็ก เยาวชน และคนแก่ เข้าร่วม ต่อมาปี พ.ศ.2549 จึงจัดตั้งเป็น “มหาวิทยาลัยบ้านนอก” เพื่อการเรียนรู้ของสังคม กระทั่งได้รับรางวัล “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากนั้นก็มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาศึกษาหาความรู้กันอย่างไม่ขาดสาย เป็นสิ่งที่ชาวบ้านภาคภูมิใจ
ระยอง
ชุมชนบ้านบัวเทิง ศูนย์แห่งการเรียนรู้วิถีชีวิตการดำรงชีวิตเพื่อความสุขอย่างพอเพียง การทำการเกษตรผสมผสาน เกษตรปลอดสารพิษ และแหล่งเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ ประโยชน์และการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพกับการเกษตร การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ภาคอีสานที่ร้อนและแห้งแล้ง
อุบลราชธานี
เดิมชื่อ “สวนเกษตรศิริ” เป็นสวนยางพาราผสมสวนผลไม้มากว่า 40 ปีแล้ว มีพื้นที่ ประมาณ 2,000 ไร่ ภูมิประเทศเป็นหุบเขา มีลำธารน้ำไหลผ่าน 3 สาย อุดมสมบูรณ์ ตลอดปี ต่อมาได้ถูกพัฒนาพื้นที่บางส่วนให้เป็นพื้นที่จัดสรร และใช้ชื่อโครงการว่า โครงการ “THE PARK” ที่มีการตกแต่งภูมิสถาปัตย์อย่างสวยงาม และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน มีที่พัก ที่ทำกิจกรรม สวนผลไม้ แล้วยังมีร้านอาหารด้วยนะคะ กับกาแฟสด เครื่องดืม ขนม ของว่าง
ระยอง
ฟาร์มเมล่อนญี่ปุ่นที่ได้มาตรฐานและใหญ่ที่สุดในระยอง
ระยอง
ภูถ้ำพระ เป็นถ้ำใหญ่กว้างประมาณ 3 วา ยาวประมาณ 8 วา ตั้งอยู่ชะง่อนภูด้านทิศใต้ มีทางเข้าไปตามซอกหิน ซึ่งตั้งสูงสุดตระหง่านอยู่รอบ ๆ เป็นอุโมงค์ จากปากถ้ำเลยไปทางทิศเหนือ สามารถเดินลอดไปได้อย่างสบาย ถ้ำพระนี้มีธรรมชาติ เป็น 2 ชั้น เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปซึ่งตั้งเรียงรายอยู่เป็นแถว ๆ และมี พระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระกัจจายนะ 2 องค์ สร้างสมัยอาจารย์ดี ฉันโน อยู่ในถ้ำนี้อย่างงดงาม ภูถ้ำพระ เป็นพื้นที่ภูเขาขนาดเล็ก เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ มีป่าไม้เบญจพรรณขึ้นอยู่ทั่วไปค่อนข้างสมบูรณ์ ให้ความ ร่มรื่น อากาศเย็นสบาย เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลำห้วยหลายแห่ง เสาหินลักษณะคล้ายแหล่งท่องเที่ยวภูผาเทิบ และมีจุดชมวิวเป็นแหล่งธรรมชาติที่สวยงามใกล้ทางขึ้นจะมีซุ้มประตูอิฐก่อเป็น “ภูโง” ชาวบ้านเรียกประตูโขง ซึ่งตั้งอยู่ด้านเหนือของ ภูถ้ำพระ ไปไกลประมาณ 1 กิโลเมตร ปัจจุบันเหลือเพียงซากปรักหักพัง ความศักดิ์สิทธิ์ของภูถ้ำพระที่ได้เล่าสืบทอดกันต่อมาคือ หากชาว บ้านบริเวณนั้นจะออกหาของป่า ต้องมาที่ถ้ำแห่งนี้เพื่อสักการะ แล้วจะมีโชคในการทำมาหากินและแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง
ยโสธร
เลี้ยงปูนาสร้างรายได้ ส่งขายในประเทศ-ต่างประเทศ เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้และอนุรักษ์ขยายพันธุ์ รวมทั้งแปรรูปปูนาไทย แหล่งเรียนรู้ส่งเสริมอาชีพเกษตรกร
กำแพงเพชร
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมคุณภาพไม้ผลตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยมีการเชื่อมโยงกับกลุ่มท่องเที่ยวภายในอำเภอพะโต๊ะ มีกิจกรรม ล่องแพ ชมสวน ชิมผลไม้ เดินป่า เที่ยวน้ำตก ชิมอาหารพื้นบ้าน เช่น แกงส้มหยวกกล้วยป่ากับหมูสามชั้น, ใบเหลียงผัดไข่, ข้าวในกระบอกไม้ไผ่ ชิมกาแฟโบราณ
ชุมพร
บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อเป็นฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายในบ้านเป็นสวนผสม ปลูกพืชผักเพื่อบริโภคในครอบครัว โดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต และครูยังเป็นต้นแบบในการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในถังพลาสติก จำนวน 400 ถัง และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะได้ข้าวเปลือกประมาณกว่า 20 ถัง ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในครอบครัวได้ทั้งปี ต่อมาได้มีชาวบ้าน และชาวต่างชาติรู้ข่าวจึงได้มาดู และขอดูถ่ายรูปเป็นจำนวนมาก และได้เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการทำการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนนักศึกษาและผู้ที่สนใจอีกด้วย
ชุมพร
บ้านสวนอคิราห์ เกษตรตามรอยพ่อ ได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริอำเภอปาย ซึ่งเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมบาถบพิตร และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อไปสู่ประชาชนในพื้นที่เพื่อให้ประชาชนนำแนวคิดและหลักปฏิบัติไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านต่างๆ ดังนี้ 1. ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอำเภอปาย 2. ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 3. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 4. ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ด้านไร่นาสวนผสม ด้านปศุสัตว์ ด้านประมง 5. แปลงต้นแบบการผลิตพืชอินทรีย์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน 6. แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตามโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 7. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ประจำตำบลแม่ฮี้ 8. ศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา โมเดล บ้านสวนอคิราห์
แม่ฮ่องสอน
สวนมังคุดไทย (สวนคุณปัญญา) มีต้นมังคุดกว่า 300 ต้น และผลไม้อื่นๆ เช่น เงาะ ทุเรียน แก้วมังกร เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสามารถมาชิมบุฟเฟ่ต์ผลไม้ได้ท่านละ 150 บาท และมีบริการที่พักแบบโฮมสเตย์
ระยอง
ไร่องุ่นคุณมาลี เป็นไร่องุ่นที่มีทั้งองุ่นสดๆ และผลิตภัณฑ์จากองุ่น หลากชนิด พิกัด : https://goo.gl/maps/yCPKN5GAqmRaeCAp7
สระบุรี
ศูนย์ศึกษาพัฒนาการสังคมหมู่บ้าน(วนเกษตร) หรือ บ้านศานติธรรม ภายในอาณาบริเวณเกือบ 10 ไร่ มีพันะุ์ไม้กว่า 700-800 ชนิด เป็นสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ ภายในมีเรือนไม้แบบไทยมุงด้วยกระเบื้องว่าว ใต้ถุนสูงสำหรับประชุมหรือบรรยาย ชั้นบนใช้เก็บและแสดงเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านวัตถุโบราณ ของใช้รุ่นเก่าต่างๆ ด้านหลังบ้านมียุ้งข้าวจำลองและอุปกรณ์นวดข้าว สีข้าว บริเวณบ้านส่วนหนึ่งจัดไว้เป็นที่สำหรับตั้งค่ายพักแรมสำหรับเยาวชน มีลานสันทนาการ และบริเวณทำกิจกรรม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณวิบูลย์ เข็มเฉลิม
ฉะเชิงเทรา