คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผ้ามัดหมี่ย้อมคราม
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผ้ามัดหมี่ย้อมคราม ตำบลบ้านแดง อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
อยู่ในเวลาปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
เป็นกลุ่มแม่บ้านที่ทอผ้ามัดหมี่ย้อมครามใช้สีจากธรรมชาติ ถือเป็นสินค้า OTOP นำสิ่งที่บ้านนาข่า กรุงเทพ บ้านเชียง และทอตามที่มีออเดอร์จากลูกค้าสั่งมา จึงถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนตำบลบ้านแดง
ประวัติความเป็นมา
เดิมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดงยาง หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านแดง จัดตั้งเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2525 มีสมาชกเริ่มจัดตั้ง 27 คน ต่อมาประชากรเพิ่มขึ้น การปกครอง การดูแลเอาใจใส่ของผู้นำหมู่บ้านดูแลไม่ทั่วถึงจึงได้แยกหมู่บ้านพรพิบูลย์ออกจากบ้านดงยาง เป็นหมู่บ้านพรพิบูลย์ หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านแดง และปัจจุบัน มีสมาชิกกลุ่มทอผ้า เพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 75 คน มีที่ทำการกลุ่มตั้งอยู่ที่ “ศูนย์แสดงผลิตภัณฑ์ผ้ามัดหมี่ย้อมคราม” หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านแดง อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา อาชีพเสริมเพิ่มรายได้ คือ หัตถกรรมสิ่งทอจากผ้าฝ้ายมัดหมี่ย้อมครามธรรมชาติ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษหลายชั่วคน ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ราษฎรในหมู่บ้านจะทอผ้าไว้ใช้เองในครัวเรือน โดยใช้ครามย้อมสี ทอได้จะนำไปตัดเสื้อ ใส่ไปทำนา ทำสวน ทำไร่ และเย็บเป็นผ้าถุงใส่ไปวัด ทำบุญงานประเพณีต่าง ๆ หรือใช้เป็นของฝาก ต่อมาในปี 2536 กลุ่มได้มีการริเริ่มฟื้นฟูการทอผ้าซึ่งเคยทำมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ โดยมีนายทุนจากจังหวัดหนองคาย มาให้คำแนะนะในการออกแบบลวดลายผ้า พร้อมทั้งนำแบบลายผ้าที่ทันสมัยมาสอนปละฝึกทำ พัฒนาการแต้มสีลวดลายของการมัดหมี่ จะได้ลายผ้าและมีสีสันที่สวยงามกว่าแบบดั้งเดิม และส่งผ้าที่ทอเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นายทุนนำไปแปรรูปเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป และขายเป็นผ้าชิ้น ในราคาที่สูงมาก แต่ในนามผ้าของจังหวัดหนองคาย และราษฎรบางคนทอผ้าได้ก็นำไปขายที่ตลาดนาข่า ก็จะเป็นผ้าของนาข่า ไม่มีชื่อผ้าบ้านดงยาง พิบูลย์รักษ์เลย ในปี 2541 หน่วยงานภาคราชการ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพิบูลย์รักษ์ สำนักงานเกษตรอำเภอพิบูลย์รักษ์ ได้เข้าไปแนะนำในเรื่องการบริหารจัดการกลุ่ม กลุ่มจึงได้มีการระดมหุ้นเพื่อเป็นกองทนในการบริหารจัดการกลุ่ม หุ้นละ 100 บาท โดยดำเนินการทอผ้าที่ใต้ถุนบ้านตนเอง เนื่องจากยังไม่มีศูนย์รวม หรือที่ทำการเป็นของกลุ่ม แต่จะมีกรรมการฝ่ายผลิต และฝ่ายควบคุมคุณภาพ ออกติดตามและให้คำแนะนำตลอดเวลา เพื่อให้ได้ผ้าที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด และในปี 2542 กรมส่งเสริมการเกษตร ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นทุนในการดำเนินงานอีก จำนวน 100,000 บาท ซึ่งในช่วงนี้เอง ทำให้สมาชิกกลุ่มทุกคนได้มีเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น การผลิตผ้าทอก็เพิ่มมากขึ้น จนทำให้ผ้าทอไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ก็ยังจำหน่ายให้กับพ่อค้าชาวหนองคาย และนาข่าเหมือนเดิม จนกระทั่งในปี 2543-2544 สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพิบูลย์รักษ์ ได้เข้าไปพบปะพูดคุยกับกลุ่มทอผ้าเพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์ผ้ามัดหมี่ย้อมครามในนามของผ้าบ้านดงยาง ตำบลบ้านแดง อำเภอพิบูลย์รักษ์ ซึ่งมีนางสมร คำวิเศษ เป็นประธานกลุ่ม และในสมัยนั้นเป็นสมัยของรัฐบาลนายกทักษิณ ชินวัตร ได้จัดให้มีโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ขึ้น กลุ่มทอผ้าบ้านดงยาง จึงได้รับคัดเลือกให้เป็นสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของตำบลบ้านแดง อำเภอพิบูลย์รักษ์ ตั้งแต่ปี 2544 จนถึง ปี 2546 ผ้ามัดหมี่ย้อมครามบ้าน ดงยาง ก็ได้รับคัดเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์เด่น 1 ใน 10 ผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัดอุดรธานีด้วย จึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไดตั้งแต่นั้นมา และในขณะเดียวกันกรมส่งเสริมการเกษตร ได้สนับสนุนงบประมาณอีก จำนวน 1,350,000 บาท เพื่อสร้างอาคารศูนย์แสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน
ลักษณะเด่น
มีผ้ามัดหมี่ที่ย้อมจากธรรมชาติ จนสร้างชื่อเสียงให้กับชาวบ้านตำบลบ้านแดง และได้จัดส่งถึงบ้านเชียง นาข่า และกรุงเทพโดยส่วนมากกลุ่มแม่บ้านจะทอผ้าซิ่นโบราณ เสื่อปึกค้างคาว ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ และกระเป๋า
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
1.รูปแบบวิธีการจัดกิจกรรม - กิจกรรมนำชม ทดลองทำ รับประทานอาหารเวียดนาม ใส่ชุดอ๋าวใหญ่(ชุดเวียดนาม) โฮมสเตย์ 2. วิถีชีวิตชุมชน - การปลูกผักปลอดภัย การทำอาหารพื้นบ้าน จิบชาพื้นบ้าน 3. การมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว – เยี่ยมชมแปลงผัก รับประทานอาหารเวียดนาม ปั่นจักรยาน โปรแกรมการท่องเที่ยว ชิมชาพื้นเมือง เก็บผักปลอดภัยจากสารพิษ สาธิตการทำอาหารเวียดนาม ใส่ชุดอ๋าวใหญ่ ปั่นจักรยานชมวิถีชีวิตวัฒนธรรมคนไทยเชื้อสายเวียดนาม พักโฮมสเตย์ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) - พิพิธภัณฑ์ปลาน้ำจืด ระยะทาง 2 กม. - หอเฉลิมพระเกียรติราชวงศ์จักรี ระยะทาง 2.5 กม. - Land Mark พญาศรีสัตตนาคราช ระยะทาง 5 กม. - สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 ระยะทาง 15 กม. สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน พืชผักปลอดภัยจากสารพิษ ไม้ผล ใบชาแห้ง/สด เปลญวน ขนมใบป่าน
นครพนม
วังน้ำเขียว ขับผ่านแล้วเจอน้องไวโอเล็ต สีม่วงน่าถ่ายรูปมาก ไร่สตรอเบอรี่ฟ้าใส แต่ไม่ได้สนใจสตรอเบอรี่เลย แต่ถ้าสนใจเขามีให้เก็บจากต้นสดๆ
นครราชสีมา
1. สวนมณีทิพ สวนผลไม้ผสมผสาน เช่น ขนุน ส้มโอ ทุรียน ฯลฯ ที่อยู่ 784/3 หมู่ที่ 7 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-2803176 2. สวนศรปัก ดอกหน้าวัว ไม้ดอก ไม้ประดับ ที่อยู่ 255 หมู่ที่ 10 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-9727449 3. ต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดไผ่ใหญ่ไพรญาราม ที่ตั้ง หมู่ที่ 10 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง 4.น้ำตกไผ่สีทอง ที่ตั้ง หมู่ที่ 13 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง 5. ฟาร์มกวางแดง RED DEER FARM เลี้ยงกวางดาว กวางรูซ่า และกวางแดง พร้อมจำหน่ายเนื้อกวาง และผลิตภัณฑ์จากกวาง ที่อยู่ 568/3 หมู่ที่ 10 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 095-5322207 6.สวนเกษตรไพบูลย์ ศูนย์เรียนรู้การเกษตร ไม้ผลผสมผสาน เช่น มะขามเปรี้ยวยักษ์ มะม่วง มะยงชิด อินทผลัม ฯลฯ และที่พัก ที่อยู่ 3/1 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 089-6421461 087-3109216 7. สวนโพธิ์ทอง สวนผลไม้ผสมผสาน เช่น ลำไย ขนุน มะม่วง มะนาว ฯลฯ และจำหน่ายพันธุ์ไม้ผล ที่อยู่ 284 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 089-0112741 8.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรซำตะเคียน ผลิตภัณฑ์แปรรูปผลผลิตการเกษตร ไม้ผล พืชผัก ที่พัก และอาหาร ที่อยู่ 285/1 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-4744310 9. สมพลการ์เดนท์ สวนผลไม้ผสมผสาน เช่น มังคุด เงาะ ลำไย มะไฟ ฯลฯ ที่อยู่ 304 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-1359777 10. ภักดีฟาร์ม เลี้ยงกวาง พร้อมจำหน่ายเนื้อ และผลิตภัณฑ์จากกวาง ที่อยู่ หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-8452993 11. บ่อคาการ์เดนท์ ผักปลอดภัยจากสารพิษ ที่อยู่ 148 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 094-6265551 12. บ้านและสวนพูพูน สวนมะยงชิด ที่พักและอาหาร ที่อยู่ 43/2 หมู่ที่ 9 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง โทร. 081-9737839 13. สวนหลงรักไทย สวนทุเรียนหลงรักไทย พร้อมจำหน่ายกิ่งพันธุ์ ที่อยู่ 10/2 หมู่ที่ 9 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง โทร. 083-3333316 14. สวนพงษ์แตง สวนลำไย ที่พัก และอาหาร ที่อยู่ 437 หมู่ที่ 7 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง โทร. 081-9917073 โปรแกรมการท่องเที่ยว : 2 วัน 1 คืน เยี่ยมชมและชิมผลไม้ตามฤดูกาล รสเด็ด หวาน หอม สด ๆ จากสวนของสมาชิกกลุ่ม เพลิดเพลินกับการ “ชมพระอาทิตย์ตกดิน” ที่มีคำล่ำลือว่าสวยที่สุด ณ บ้านชำตาเจียม Check-in เข้าสู่ที่พักแบบ “บ้านพักในสวน” สัมผัสวิถีชีวิตชาวสวน พร้อมชมศูนย์การเรียนรู้บัวสวรรค์ หมู่ที่ 10 บ้านวังนกแอ่น รับประทานอาหารเย็นทีบ้านซำตาเจียม ชม พร้อม“พญาหิ่งห้อย” ที่พร้อมเรืองแสงต้อนรับทุกท่าน พักผ่อนตามอัธยาศัย รับประทานอาหารเช้าที่ที่พัก เยี่ยมชมวิธีการเลี้ยงกวางของคนท้องถิ่น “ฟาร์มกวาง” , เดินศึกษาเส้นทางธรรมชาติพร้อมเล่นน้ำที่ “น้ำตกไผ่สีทอง” และชมวิธีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่บ้านซำตะเคียน พร้อมซื้อของฝากจากชาวสวน เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ : -ห่างจากน้ำตกไผ่สีทอง ระยะทาง 5 กม. -ห่างจากทุ่งโนนสน ระยะทาง 20 กม.
พิษณุโลก
ชมสวนผลไม้ ชิมผลไม้สดจากสวน เเละจำหน่ายผลไม้คุณภาพ
ระยอง
การทำเกษตรตามแนวพระราชดำริ การเกษตรพอเพียงเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า และเป็นจุดแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรทฤษดีใหม่
แพร่
ดงเมืองเตยเป็นเมืองเก่าสมัยขอมจะเป็นเมืองร้างมาแล้วนานเท่าไรไม่ทราบได้ สภาพที่เห็นมาจากปู่ย่าตาทวดหลายชั่วอายุคน ดงเมืองเตยมีป่าไม้ขึ้นสูงข้างล่างโปร่ง มีหมู่ไม้เล็กๆ ขึ้นบ้าง ต้นไม้ใหญ่ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะแบก ไม้ยางเหียง เป็นป่าหนาแน่นมาก พวกพ่อแม่ปู่ย่าตายายไม่กล้าตัดต้นไม้ในดงนี้ เพราะดงเมืองเตยมีผีดุเรียกว่า ผีปู่ตา ป่าไม้จึงเป็นที่อาศัยของลิง และนกหลายจำพวก บึงรอบบริเวณดงเมืองเตยเป็นหนองน้ำขนาดลึกมีน้ำขังตลอดปี เป็นที่อาศัยและเป็นที่เพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ นอกจากนกจำพวกต่างๆ แล้วบึงนี้ได้ชื่อว่ามีเต่ามากที่สุด เหตุที่มีเต่ามากเช่นนี้ชาวบ้านนับถือผีปู่ตา ปู่ตาห้ามจับกินทำลายสัตว์พาหนะของท่าน คือ ลิงและเต่า ถ้าเกิดทำอันตรายขึ้นมา จะต้องมีอันเป็นไป” “ต่อมาเมื่อประมาณ 90 ปีมาแล้ว ชาวบ้านสงเปือยมีหมอร่ำเรียนวิชาอาคมมาทำพิธีปราบผีดงเมืองเตยได้ หมอผู้มีวิชาอาคมผู้นี้ชื่อ ผู้ใหญ่สุวอ เหตุการณ์นี้ตรงกับสมัยพ่อใหญ่อัครฮาด เป็นตาแสง เมื่อชาวบ้านใกล้ไกลได้ยินข่าวพ่อใหญ่สุวอข่มผีดงเมืองเตยได้แล้ว ก็พากันหลั่งไหลมาจับเต่าปลาดงเมืองเตยไปเป็นอาหารจนเกือบเกลี้ยงบึง เต่าจึงเกือบสูญพันธุ์มาจนบัดนี้ พ่อใหญ่สุวอได้แบ่งปันที่บึงออกเป็นที่นาให้พี่น้องญาติมิตรทำนามาจนทุกวันนี้ ส่วนบริเวณดงเมืองเตยได้แบ่งบันทำไร่ สวน ปลูกพืชทำกินมาเท่าทุกวันนี้ อันนี้เป็นเรื่องจริง ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุครบ 90 ปี เช่น พ่อใหญ่อ่อน หอมกลิ่น พ่อใหญ่บู กกเปือย ยังมีชีวิตเป็นพยานอยู่
ยโสธร
ดำเนินการโดยชุมชน กิจกรรม นั่งรถอีโก่งไปท่าเรือ ลงเรือ พายเรือ ล่องเรือ ชมสวนส้มโอ ทำกิจกรรมในสวนส้มโอ เช่นการขยายพันธุ์ส้มโอ การติดตา ต่อกิ่งส้มโอ ฟังการบรรยายความรู้เรื่องการปลูก การบริหารจัดการสวนส้มโอ การตลาดส้มโอ การชิมส้มโอ การรับประทานอาหารพื้นบ้าน เช่น ตำหมากโอ การบายศรีสู่ขวัญต้อนรับนักท่องเที่ยว การแสดงรำวงสาวบ้านแต้ แสดงโดยเยาวชนในแหล่งท่องเที่ยว และการพักโฮมสเตย์ โปรแกรมการท่องเที่ยว: 1 เที่ยว 1 วัน ราคา 350 บาท/คน กิจกรรม ต้อนรับนักท่องเที่ยว นำนั่งรถอีโก่ง ลงเรือ ล่องเรือตามลำน้ำพรม ชมธรรมชาติ ขึ้นชมสวนส้มโอ รับประทานอาหารกลางวัน/อาหารว่างและเครื่องดื่ม ซื้อสินค้าในสวน ส่งนักท่องเที่ยวกลับ 2 เที่ยว 2 วัน 1 คืน ราคา 990 บาท/คน วันที่ 1 ต้อนรับนักท่องเที่ยว นำดูงานที่ศูนย์เรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร รับประทานอาหารกลางวันที่ศูนย์บริการต้อนรับนักท่องเที่ยว นั่งรถอีโก่ง ลงเรือ ล่องเรือตามลำน้ำพรม ชมธรรมชาติ ขึ้นชมสวนส้มโอ ร่วมกิจกรรมในสวน รับประทานอาหารเย็นศูนย์บริการต้อนรับนักท่องเที่ยว ร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญต้อนรับนักท่องเที่ยว ชมการแสดงรำวงสาวบ้านแต้ ของเยาวชนในแหล่งท่องเที่ยว ร่วมกิจกรรมนันทนาการกับแหล่งท่องเที่ยว รำวงสาวบ้านแต้ เข้าพักโฮมสเตย์ วันที่ 2 รับประทานอาหารเช้า ที่ศูนย์บริการต้อนรับนักท่องเที่ยว ซื้อของฝากของที่ระลึก ส่งนักท่องเที่ยวกลับ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: 1 หาดน้ำพรม ระยะทาง 5 กม. 2 แก่งตาดไซ ระยะทาง 9 กม.
ชัยภูมิ
1 ฐานเรียนรู้ด้านการเกษตร ศพก.บ้านนาน้ำซำ จำนวน 10 ฐาน ดังนี้ 1) ฐานเรียนรู้การผลิตสารชีวภัณฑ์ (ไตรโคเดอร์มา, บิวเวอร์เรีย, BT, จุลินทรีย์ป่า , ไส้เดือนฝอย) 2) ฐานเรียนรู้การเผาถ่าน/กลั่นน้ำส้มควันไม้ 3) ฐานการเลี้ยงไก่ไข่พื้นเมือง 4) ฐานการเพาะเห็ด 5) ฐานการปลูกหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์ 6) ฐานการเลี้ยงปลาน้ำจืด 7) ฐานการทำปุ๋ยหมักไม่กลับกอง 8) ฐานการกลั่นสมุนไพร 2 ศึกษาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 1) ถ้ำผาน้ำทิพย์ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์จากธรรมชาติ 2) ถ้ำค้างคาว พบกับความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติของค้างคาวนับล้านตัว 3) ถ้ำชมพู 4) วัดเขาสามยอด 5) น้ำตกตาดฟ้า 6) น้ำผุดตาดเต่า 7) ถ้ำภูตาหลอ 8) จุดชมวิวดงสะคร่าน 9) โครงการพัฒนาป่าดงลาน 3 แหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร 1) การปลูกหน่อไม้ฝรั่ง 2) การปลูกและการขยายพันธุ์ฝรั่ง 3) สวนลำไยสร้างรายได้ 4) การเพาะเห็ดเสริมรายได้ โปรแกรมการท่องเที่ยว โปรแกรม 2 วัน 1 คืน เรียนรู้ด้านการเกษตรที่ ศพก.  1-2 ฐาน > รับประทานอาหารกลางวัน > ชมถ้ำผาน้ำทิพย์ > ชมค้างคาว > รับประทานอาหารเย็น > พักผ่อนบ้านพักโฮมสเตย์/ภูผาม่านแคมป์ > แปลงหน่อไม้ฝรั่ง> สวนกล้วยหอมทอง > วัดเขาสามยอด > รับประทานอาหารกลางวัน > เดินทางกลับ หมายเหตุ  – โปรแกรมการท่องเที่ยวและค่าบริการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม - อาหารว่าง 3 มื้อ โปรแกรม 1 วัน เรียนรู้ด้านการเกษตรที่ ศพก.  1-2 ฐาน > รับประทานอาหารกลางวัน > ชมถ้ำผาน้ำทิพย์ > ชมค้างคาว > เดินทางกลับ หมายเหตุ  – โปรแกรมการท่องเที่ยวและค่าบริการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม - อาหารว่าง 2 มื้อ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) 1) ถ้ำผาน้ำทิพย์ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์จากธรรมชาติ ระยะทาง 3 กม. 2) ถ้ำค้างคาว  ระยะทาง 6 กม. 3) ถ้ำชมพู ระยะทาง 4 กม. 4) วัดเขาสามยอด ระยะทาง 6 กม. 5) น้ำตกตาดฟ้า ระยะทาง 18 กม. 6) น้ำผุดตาดเต่า ระยะทาง 12 กม. 7) ถ้ำภูตาหลอ ระยะทาง 16 กม. 8) จุดชมวิวดงสะคร่าน ระยะทาง 18 กม. 9) โครงการพัฒนาป่าดงลาน ระยะทาง 22 กม. สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน 1 ร้านค้าชุมชนบ้านเซินใต้ หมู่ 3  บ้านเซินใต้ ตำบลโนนคอม จำหน่ายเสื้อผ้าพื้นเมืองภูผาม่าน 2 ร้านค้าชุมชนบ้านโนนคอม หมู่ 1 บ้านโนนคอม ตำบลโนนคอม จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของฝาก
ขอนแก่น
กลุ่มเลี้ยงผึ้งบ้านปากแพรก ตั้งอยูตำบลละหาร อำเภอปลวกแดง มีผลิตภัณฑ์แปรรูป/ของฝาก และยังสามารถศึกษาการเลี้ยงผึ้ง สำหรับคนที่สนใจการเลี้ยงผึ้ง
ระยอง
“ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์” ภายใต้แนวคิดการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการป่าครบวงจร เป็นพื้นที่สาธิตการปลูกป่าและวิจัยการฟื้นฟูป่าหลากหลายรูปแบบ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นภาคตะวันออกและพันธุ์ไม้หายากของไทย รวมถึงเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เรื่องการปลูกป่าและระบบนิเวศป่าไม้ ให้แก่นิสิต นักศึกษา นักเรียน และประชาชนผู้สนใจ อีกทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งใหม่ที่สำคัญของภาคตะวันออก โดยศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดศูนย์ฯเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2558 และได้เปิดให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ระยอง
บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อเป็นฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายในบ้านเป็นสวนผสม ปลูกพืชผักเพื่อบริโภคในครอบครัว โดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต และครูยังเป็นต้นแบบในการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในถังพลาสติก จำนวน 400 ถัง และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะได้ข้าวเปลือกประมาณกว่า 20 ถัง ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในครอบครัวได้ทั้งปี ต่อมาได้มีชาวบ้าน และชาวต่างชาติรู้ข่าวจึงได้มาดู และขอดูถ่ายรูปเป็นจำนวนมาก และได้เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการทำการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนนักศึกษาและผู้ที่สนใจอีกด้วย
ชุมพร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร