คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ฟาร์มสายทอง
ฟาร์มสายทอง ตำบลหนองย่างเสือ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
ฟาร์มสายทอง ภายในฟาร์มปลูกพันธุ์ไม้หลากหลาย เช่น สวนมัลเบอร์รี่, เสาวรส, หมามุ่ยอินเดีย ฯลฯ
พิกัด : https://goo.gl/maps/8TVTF7aQG5gtMS1fA
ลักษณะเด่น
ฟาร์มสายทอง เป็นไร่มัลเบอร์รี่ขนาดใหญ่บนพื้นที่กว่า 5 ไร่ ที่สามารถเดิมชม และเก็บชิมผลมัลเบอร์รี่ได้แบบสดๆจากต้น ซึ่งสามารถเก็บกินได้ตลอดทั้งปี ที่สำคัญที่ฟาร์มสายทองยังมีผลิตภัณฑ์ของแปรรูปที่ทำจากมัลเบอร์รี่อีกด้วย ให้เลือกซื้อไปกินหรือจะจัดกระเช้าเป็นของฝากก็ได้ มีทั้ง แยม น้ำมัลเบอร์รี่คั้นสด
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
ผลิตและจำหน่าย ผักปลอดสารพิษ มากกว่า 50ชนิด และยังเปิดให้ความรู้สำหรับผู้ที่สนใจปลูกผัก นอกจากผักสดแล้วยังมีกาแฟสด อุปกรณ์เพาะปลูกขายด้วย ไม่ว่าจะเป็น เมล็ดพันธุ์ ดินเพาะ ดินปลูก ถาด กระถาง รวมถึงฮอร์โมนนมสด
สระบุรี
สวนโบราณ 200 ปี เป็นสวนที่มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระยะยาว เพื่อคนจำนวนมากที่สุด สวน 200 ปี ตั้งอยู่เลขที่ 5 หมู่ที่ 11 ตำบลแหลมทราย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ห่างจากตลาดหลังสวนราว 2 กิโลเมตร ผู้ที่ดูแลสวนอยู่ในปัจจุบันคือ คุณลุงสำเริง รัชเวทย์ ทายาทช่วงที่ 4 ของตระกูล สวน 200 ปี เป็นสวนเบญจพรรณ คือปลูกไม้ผลหลายๆ ชนิดรวมกัน โดยไม่ได้แบ่งเขต แบ่งโซน ชนิดของไม้ผลมีทุเรียนพื้นบ้าน มังคุด เงาะพื้นบ้าน ลางสาด หมาก มะพร้าว จันทน์เทศ สะตอ ลูกเนียง ละมุด จำปา ขนุน มะไฟ กล้วย ไผ่ พืชผักสวนครัว สมุนไพรต่างๆ สำหรับการบำรุงรักษา อาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ปราศจากการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโต การบำรุงดินทำโดยเลี้ยงหญ้าบำรุงดิน ช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้นตลอดปี ส่วนปุ๋ยเป็นปุ๋ยจากธรรมชาติ เป็นวัฏจักรหมุนเวียน เช่น ใบไม้ และซากพืชล้มลุกที่ทับถมตลอดปี ส่วนการป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีนก กระรอก กระแต คอยจับกินหนอน แมลง เป็นอาหาร ต้นทุนในการดูแลสวน แยกออกได้เป็นส่วนๆ คือ เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต ต้องจ้างแรงงานถางหญ้าบ้าง โดยเฉพาะโคนต้นเพื่อให้การเก็บเกี่ยวได้สะดวก ส่วนต่อมาคือถางบริเวณที่จะปลูกต้นไม้ซ่อมแซมลงไป
ชุมพร
นักท่องเที่ยวท่านใดที่เดินทางมาที่สวนลำดวน ถ้าได้มาแล้วไม่มีคำว่าผิดหวังแน่นอน กับการได้รับประทานบุฟเฟ่ต์ผลไม้ ทั้ง เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง สามารถทานได้ไม่อั้น จนกว่าลูกค้าจะพอใจ ที่สำคัญไปกว่านั้นทุเรียน เราสามารถเลือกทานได้ ตามใจเรา เพราะมีค่อนข้าง หลากหลายพันธุ์ เจ้าของสวนบริการดี มีมนุษย์สัมพันธ์กับลูกค้าแบบเป็นกันเอง
ระยอง
ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก การมาเที่ยวชมศูนย์ฯ แห่งนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย เว้นแต่ว่ามากันเป็นหมู่คณะ และต้องการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทางศูนย์ฯ ได้จัดขึ้น ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นเลิศ ที่จะทำให้เข้าใจเรื่องราวของคำว่า "พอเพียง" และการใช้ทรัพยากรอย่างไรให้ได้ประโยชน์และรู้คุณค่ามากที่สุด การเดินเที่ยวชมที่แห่งนี้ เดินชมได้เป็นลักษณะคล้ายวงกลม โดยเริ่มจาก โซนภาคเหนือ ตื่นตาไปกับการปลูกไม้ไผ่ชนิดต่างๆ สองข้างทาง รวมทั้งความน่ารักของสะพานไม้ไผ่ บ้านที่สร้างจากไม้ไผ่ริมสระบัว และเครื่องเล่นที่ทำจากไม้ไผ่ ที่จัดแสดงแบบนี้ เป็นเพราะต้องการให้ได้รู้ว่าไม้ไผ่สามารถทำประโยชน์อะไรได้มากมาย รวมทั้งทำรางหยดน้ำ เพื่อใช้รดน้ำต้นไม้และรดดินแทนคนอีกด้วย เดินขึ้นไปตามภูเขาก้อนเล็กๆ เรียนรู้เรื่องภูเขาป่า การตะบันน้ำ คือ การที่ใช้น้ำอัดน้ำขึ้นที่สูงแทนการใช้เครื่องปั๊มน้ำ ระบบป่าเปียกกันไฟ ประโยชน์ของหญ้าแฝก และการทำฝายชะลอความชุ่มชื้น เดินต่อไปยัง โซนภาคกลาง เรียนรู้เรื่องการเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของตัวเองอย่างคุ้มค่า เรียนรู้การสร้างบ้านดิน และเรื่องสมุนไพรนานาชนิด แล้วก็เดินไปยัง โซนภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ชมธนาคารข้าว เรียนรู้เรื่องการสีข้าว การเลี้ยงปศุสัตว์ แอบเห็นวัวตัวเบ่อเริ่มอยู่ในคอกด้วย การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง จะได้ไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมี และได้เรียนรู้เรื่องการห่มดิน จากที่พื้นที่ที่ไม่มีดิน ต้องใช้วิธีห่มดิน เพื่อให้ได้ดินดีๆ กลับมาปลูกพืชผัก แต่จะทำอย่างไร อยากให้ไปเรียนรู้ด้วยตัวเองจะดีที่สุด สุดท้ายไปยัง โซนภาคใต้ ไปดูการเผาถ่านที่ทำจากไม้ไผ่ การทำน้ำมันไบโอดีเซล และเรียนรู้โครงการแก้มลิง นอกจากนี้ตลอดภายในศูนย์ฯ ฉันเห็นว่าจะมีร่องน้ำขนาดใหญ่และเล็กตลอดเส้นทาง มีสระน้ำ มีแปลงเกษตรปลูกพืชผัก มีกังหันน้ำชัยพัฒนา มีการปลูกหญ้าแฝกในน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย จบการเดินเที่ยวชม ที่รับสาระความรู้และความเพลิดเพลินเดินอย่างไม่รู้เหนื่อยกันไป เดินชม ตาดู หูฟังและปากถามเจ้าหน้าที่ไม่ลดละ เพียงเพราะว่าสิ่งที่เราคิดว่า ‘เรารู้' กลายเป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน นั่นเป็นเพราะความเคยชินกับโครงการต่างๆ หรือทฤษฎีต่างๆ แต่ไม่เคยปฏิบัติหรือมาสัมผัสจริง การเดินทาง : จากแยกรังสิต ไปทาง อ.องครักษ์ มุ่งหน้าไปใช้เส้นนครนายก-น้ำตกนางรอง ผ่านวังตะไคร้ ก่อนถึงน้ำตกนางรอง 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าโครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล ตรงไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงวงเวียน (มีรูปปั้นช้าง) วนขวาข้ามสะพาน ถึงสี่แยกเลี้ยวขวาตรงไปอีก 200 เมตร ศูนย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ
นครนายก
ฟาร์มเมล่อนคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย ใส่ใจทุกการผลิต ด้านในประกอบด้วย ร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านขายของที่ระลึก สวนเมล่อน ครบวงจรในที่เดียว
สระบุรี
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการปฏิบัติธรรม ให้นักท่องเที่ยวได้เดินเล่นชมวิวสวย ๆ อีกทั้งยังเป็นศูนย์รวมแห่งศิลปวัฒนธรรมอย่างแท้จริง ตลอดทั้งปีจะมีประเพณีบุญให้เที่ยวชมทั้ง 12 เดือน มีบุญใหญ่ ๆ ประจำฤดูกาลทั้ง 3 ฤดู
กำแพงเพชร
ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ถือเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการ ฟื้นฟูป่าชายเลนจากนากุ้งร้างเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เดิมทีเป็นนากุ้งที่ได้รับสัมปทาน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองเก่า – คลองคอย ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมาที่ปราณบุรี กรมป่าไม้ได้สนองพระราชดำริด้วยการยกเลิกสัมปทานนากุ้ง แล้วรวมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ พัฒนาป่าไม้ปากน้ำปราณบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมเร่งฟื้นฟูป่าชายเลนและกำหนด ให้เป็นพื้นที่เป้าหมายในการปลูกป่าและพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนในเวลาต่อมา
ประจวบคีรีขันธ์
สวนยายดา-เจ๊บุญชื่น เป็นสวนผลไม้ผลแบบผสมผสาน มีกิจกรรมชมสวนบุฟเฟต์ กินอิ่มนอนเล่นได้ทั้งวัน พร้อมส้มตำบุฟเฟต์ มีการบริการจัดคณะทัวร์ รับประทานอาหารในสวน มีผลิตภัณฑ์ทุเรียนทอด และทุเรียนกวนจากสวนยายดา ทำเอง สูตรลับเฉพาะ กรอบ อร่อย มีกะปิระยองแท้ ทำเองแบบดั้งเดิม และมีการจำหน่ายผลไม้สดๆ โปรแกรมการท่องเที่ยว - เดือน ธันวาคม-มกราคม มาชมดอกทุเรียนบาน ดูวิธีผสมเกสรทุเรียน เงาะ สละ   - เดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม เป็นฤดูมะปรางหวานมะยงชิด       - เดือน เมษายน - มิถุนายน จะเป็นช่วงที่ผลไม้ออกพร้อมกันมากที่สุด กิจกรรมบุฟเฟ่ต์ผลไม้ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.)  - หาดแม่รำพึง 8 กม., หาดสวนสน 15 กม.,  สถานีแสดงพันธุ์สัตว์น้ำระยอง 13 กม., ตลาดกลางผลไม้ตะพง 6 กม., ท่าเรือไปเกาะเสม็ด 12 กม. สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน ผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร, ทุเรียนทอด, กะปิคุณภาพ, ผลไม้คุณภาพ
ระยอง
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นหน่วยงานของกรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ให้บริการความรู้ และฝึกอาชีพด้านการเกษตรแก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและแหล่งศึกษาดูงานด้านการเลี้ยงและแมลงเศรษฐกิจ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้งและชันโรง และการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีจุดเรียนรู้ต่างๆ ภายในศูนย์ ดังนี้ - จุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ - จุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรง - จุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งชันโรง - จุดเรียนรู้การเลี้ยงจิ้งหรีด - จุดเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้ง และผึ้งชันโรง - จุดเรียนรู้การเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง (การปลูกพืชผักในภาชนะ การเพาะเห็ดนาฟ้า ) โปรแกรมการท่องเที่ยว สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) - ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี (ทุ่งเพล) ระยะทาง 21 กม. - ศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริจังหวัด จันทบุรี ระยะทาง 24 กม. - สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 จันทบุรี ระยะทาง 25 กม. - ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระยะทาง 48 กม. - ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านปัถวี ระยะทาง 5 กม. สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน - น้ำผึ้ง - น้ำผึ้งชันโรง - ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผึ้งและผึ้งชันโรง (สบู่น้ำผึ้ง แชมพูน้ำผึ้งสมุนไพร ไขผึ้งสมุนไพร ลิบบาล์มไขผึ้ง โลชั่นโปรโปลิส ครีมนมผึ้ง)
จันทบุรี
บุบเฟ่ต์ผลไม้ การทำกะราง ข้าวตังพื้นบ้าน การสานเสื่อคล้า รำตัดเด็ก
ระยอง
โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ ตั้งอยู่ที่อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร มีประวัติเล่าสืบกันมาว่าในปี ค.ศ.1908 มีผู้หนีตายอพยพจากที่ต่าง ๆ กัน เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้รวม 5 ครอบครัว ซึ่งหนีมาด้วยสาเหตุเดียวกัน คือ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงรุมทำร้ายและขับไล่ เป็นโบสถ์หลังที่ 4 วางแผนก่อสร้างปี ค.ศ. 1936 ชาวบ้านพากันรวบรวมไม้ ลงมือสร้างปี ค.ศ. 1947 ตัวโบสถ์รูปทรงที่สร้างขึ้นมีลักษณะแบบศิลปะไทย กว้าง 16 เมตร ยาว 57 เมตร จัดเป็นโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย ใช้แผ่นไม้เป็นแป้นมุง หลังคา 80,000 แผ่น ใช้เสาขนาดต่างๆกันถึง 360 ต้น ส่วนใหญ่เป็นเสาไม้เต็ง เสาในแถวกลางมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดมี 260 ต้น สูงจากพื้นดินกว่า 10 เมตร พื้นแผ่นกระดานเป็นไม้แดงและไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ม้านั่งไม้จุคนได้กว่าพันคน ระฆังโบสถ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 ฟุต อยู่ในหอระฆังสูงที่สร้างแบบหอระฆังตามวัดไทยทั่วไป แต่แปลกตรงที่แยกต่างหากจากโบสถ์ และเนื่องจากไม้ที่ได้รวบรวมมามีจำนวนมาก จึงได้นำไม้ที่เหลือมาสร้างโรงเรียนบ้านซ่งแย้พิทยา ข้อมูลและรูปภาพจากเว็บไซต์ : http://www.yasothon.go.th/web/file/menu4.html
ยโสธร
ท่องเที่ยวแบบภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีในชุมชนเป็นศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
อุบลราชธานี