คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ตลาดเทศบาลตำบลเกษไชโย
วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง หมู่3 ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง 14140
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 07:00 น. - 17:00 น.
• วันจันทร์
: 07:00 น. - 17:00 น.
• วันอังคาร
: 07:00 น. - 17:00 น.
• วันพุธ
: 07:00 น. - 17:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 07:00 น. - 17:00 น.
• วันศุกร์
: 07:00 น. - 17:00 น.
• วันเสาร์
: 07:00 น. - 17:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
เขาเล่าว่า....@ จังหวัดอ่างทอง "เมืองพระใหญ่" ที่นี่มี : "พระประทานพร" 3 ข้อ ผู้ที่ต้องการไปเที่ยวสามารถไปกราบไหว้ & สัมผัสได้ครบ ทั้ง 3 ที่ 3 องค์ จะเสริมสิริมงคล "มั่ง มี ศรี สุข" องค์ที่ 1 ให้ไปสัมผัสฐานพระ ท่านจะประทานพรให้ สุขภาพแข็งแรง และ สวยงาม (หลวงพ่อสด-พระสงฆ์องค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย @ วัดจันทรังษี อ.เมือง) องค์ที่ 2 ให้ไปสัมผัสที่ปลายพระหัตถ์พระพุทธเจ้าองค์ใหญ่ ท่านจะประทานพรให้ตำแหน่งหน้าที่การงาน กิจการเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย เป็นใหญ่เป็นโต (หลวงพ่อใหญ่-พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย @ วัดม่วง อ.วิเศษชัยชาญ) องค์ที่ 3 ให้ไปสัมผัสที่ฝ่าพระบาทพระนอน ท่านจะประทานพรให้มั่งคั่งบารมี อายุยืนยาว (พระนอน-องค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย @ วัดขุนอินทประมูล อ.โพธิ์ทอง) อีกองค์หนึ่งที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดและนิยมเข้ามากราบสักการะ คือ"หลวงพ่อโต" วัดไชโยวรวิหาร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวจังหวัดอ่างทอง และจังหวัดใกล้เคียง ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต เป็นที่ประจักษ์กันดีในหมู่ชาวเมืองอ่างทอง กล่าวกันว่าผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วไว้มากจะไม่สามารถเข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อโตได้ เนื่องจากเมื่อเข้าใกล้องค์พระจะเห็นว่าหลวงพ่อโตกำลังจะล้มมาทับ หลังจากที่ได้เข้ามากราบสักการะหลวงพ่อโต ที่วัดไชโยวรวิหารกันแล้ว ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวจับจ่ายซื้อหาของกินของฝาก ณ ตลาดต้องชม "ตลาดเทศบาลตำบลเกษไชโย" ซึ่งตั้งอยู่บริเวณวัดไชโยวรวิหาร ในความส่งเสริมของกรมการค้าภายใน ซึ่งเปิดขายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00 – 17.00 น. มีแผงค้ากว่า 131 แผงค้า ตลาดต้องชม "ตลาดเทศบาลตำบลเกษไชโย" เป็นตลาดของชุมชนที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่คงความเป็นชุมชนที่ในน้ำมีปลาในนามีข้าวอย่างแท้จริง

ตลาดเทศบาลตำบลเกษไชโย เป็นตลาดของชุมชนที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่คงความเป็นชุมชนที่ในน้ำมีปลาในนา มีข้าวอย่างแท้จริงซึ่งชุมชนแห่งนี้มีอาชีพเกษตรกรรมกันเป็นส่วนใหญ่โดยทำการเกษตรเพื่อบริโภคกันภายในครัวเรือนแต่หากเหลือจากการบริโภคก็นำมาจำหน่ายยังตลาดแห่งนี้เพื่อเพิ่มรายได้ สินค้าที่นำมาจำหน่ายในตลาดจึงเป็นสินค้าที่มาจากแหล่งผลิตโดยตรงจากชาวบ้านและเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น
ที่มาข้อมูล
กรมการค้าภายใน
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: มีค่าใช้จ่าย
  - ต่างชาติ ผู้ใหญ่
:
  - ต่างชาติ เด็ก
:
  - ไทย ผู้ใหญ่
:
  - ไทย เด็ก
:
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 พรรษา ในปี พ.ศ. 2539 บนเนื้อที่ 500 ไร่ ณ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
ปทุมธานี
ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีชุมชนตำบลสิบเอ็ดศอก แหล่งองค์ความรู้ สามารถเข้ามาศึกษาดูงาน เรียนรู้ลงมือปฏิบัติ ตามรอยเท้าพ่อ
ฉะเชิงเทรา
ฟาร์มเมล่อนญี่ปุ่นที่ได้มาตรฐานและใหญ่ที่สุดในระยอง
ระยอง
ไร่สุขถวิล อินทผลัมเมืองช้าง 164 หมู่ 5 ตำบลหนองระฆัง อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ 32160
สุรินทร์
“คุ้งบางกะเจ้า” คือ พื้นที่ส่วนหนึ่งที่เป็นบริเวณโค้งน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกระเพาะหมู ครอบคลุมพื้นที่กว้างถึง 6 ตำบลของ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ ตำบลบางกะเจ้า ตำบลบางน้ำผึ้ง ตำบลบางกอบัว ตำบลบางกระสอบ ตำบลบางยอ และ ตำบลทรงคะนอง คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 12,000 ไร่ เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2520 ได้มีมติคณะรัฐมนตรี กำหนดให้ “คุ้งบางกะเจ้า” เป็นพื้นที่สีเขียว เหมาะแก่การเพาะปลูก โดยไม่อนุญาตให้ทำการก่อสร้างตึกหรืออาคาร ที่มีความสูงเกินกว่าที่กำหนด และเมื่อปี 2549 นิตยสาร Time ได้ยกให้พื้นที่บางกระเจ้าเป็น The best Urban Oasis of Asia หรือที่เรียกว่า เป็นปอดกลางเมืองที่ดีที่สุดในเอเชียนั่นเอง แม้ระยะเวลาจะผ่านมาหลายสิบปี สถานที่แห่งนี้ยังถือว่าเป็น “ปอด” ฟอกอากาศให้กรุงเทพฯ และจังหวัดสมุทรปราการ ได้อย่างดีเสมอมา กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ “คุ้งบางกะเจ้า” จะเป็นการปั่นจักรยานลัดเลาะ ไปเรื่อยๆ ในพื้นที่สีเขียวที่กำลังเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเส้นทางปั่นจักรยานยอดฮิต เพราะเป็นเหมือนโอเอซิสผลิตออกซิเจนให้คนเมืองด้วยพื้นที่สวนกว่า 200 ไร่ ร่มรื่นเย็นชื้นเพราะมีต้นไม้นานาพันธุ์ มีไม้ใหญ่และ รากไทรปกคลุม บางพื้นที่มีอุโมงค์ต้นไม้ที่ตระการตา มีวิถีชีวิตเกษตรกรรม ที่น่าสนใจ และภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าค้นหา โดยมีจุดแวะชม และทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเกษตรกร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โปรแกรมการท่องเที่ยว 1. เยี่ยมชมสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ (มะม่วงน้ำดอกไม้คุ้งบางกะเจ้า มะม่วง GI ล่าสุดของไทย) โดย พ.ท.ชำนาญ อ่อนแย้ม ประธานชมรมผู้ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้จังหวัดสมุทรปราการ ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้พันการเกษตร และเจ้าของสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า เป็นวิทยากรให้ความรู้ พร้อมจำหน่ายมะม่วง และกิ่งพันธุ์มะม่วง 2. เยี่ยมสวนไม้ประดับ (โกสน หมากแดง และหมากผู้หมากเมีย) โดย อาจารย์ณรงค์ สำลีรัตน์ ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอพระประแดง กิจกรรมขยายพันธุ์ไม้ประดับ และอาจารย์สมศักดิ์ สำลีรัตน์ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน เป็นวิทยากรให้ความรู้ พร้อมจำหน่าย โกสน หมากแดง และหมากผู้หมากเมีย 3. ชมสวนเกษตรผสมผสานครบวงจร ของคุณสมนึก ฟักเจริญ Smart Farmer ตำบลบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 4. วิสาหกิจชุมชนหัตถศาสตร์เพื่อสุขภาพ กิจกรรมประกอบด้วย บริการนวดด้วยลูกประคบสมุนไพร สาธิตการทำลูกประคบสมุนไพร จำหน่ายหมอนรองคอ, เข็มขัดธัญพืช, ลูกประคบ, หมอนคลุมไหล่ และหมอนกดจุด 5. วิสาหกิจชุมชนบ้านธูปหอมสมุนไพร กิจกรรมทำธูปหอมสมุนไพร ทำผ้ามัดย้อม บริการโฮมสเตย์ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) (ทุกสถานที่อยู่ภายในคุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ)  - ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ตำบลบางน้ำผึ้ง  - สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ ตำบลบางกะเจ้า  - พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย ตำบลบางกะเจ้า  - หอดูนก ตำบลบางกะเจ้า  - พิพิธภัณฑ์เรือ ตำบลบางกอบัว  - โกดังผักบางกะเจ้า สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน - วิสาหกิจชุมชนหัตถศาสตร์เพื่อสุขภาพ  จำหน่ายหมอนรองคอ, เข็มขัดธัญพืช, ลูกประคบ, หมอนคลุมไหล่, หมอนกดจุด                                  - วิสาหกิจชุมชนบ้านธูปหอมสมุนไพร จำหน่ายธูปหอม, ผ้ามัดย้อม (กระเป๋า, เสื้อผ้า, ผ้าพันคอ)                       - น้ำตาลมะพร้าว                                                   - ไม้ประดับ เช่น โกสน, หมากแดง, หมากผู้หมากเมีย, อะโกนีม่า ฯลฯ  - ไม้ผล ได้แก่ มะม่วง, กิ่งพันธุ์มะม่วง, มะนาว, กิ่งพันธุ์มะนาว ฯลฯ                 - งานศิลปหัตถกรรมจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  เช่น ไม้มงคลจากหินนำโชค, ดอกไม้จากเกล็ดปลา, ดอกไม้จากผ้าใยบัว
สมุทรปราการ
เป็นสวนผลไม้ขนาดใหญ่บนพื้นที่กว่า 500 ไร่ มีรถบริการให้นักท่องเที่ยวนั่งชมสวนและรับประทานผลไม้ในรูปแบบบุฟเฟ่ต์ในช่วงฤดูผลไม้ ทั้ง เงาะ มังคุด ลำไย ส้มโอ ฯลฯ และในช่วงฤดูหนาว สวนละไมจะเปิดให้ชมไร่สตอเบอรี่ และ ทุ่งดอกคอสมอสสีสันสวยงาม และยังมีฟาร์มแกะเอาใจคนรักสัตว์ไว้ให้ป้อนนม และถ่ายรูปกับแกะแสนรู้อีกด้วย
ระยอง
เป็นบ่อกุ้งของทางหมู่บ้านจ้อก้อ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาชมวิธีหากุ้ง และรับประทานกุ้งสดๆจากบ่อ
ร้อยเอ็ด
ศูนยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ไร่นาสวนผสม การแปรรูปผลผลิตการเกษตร
ระยอง
ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก การมาเที่ยวชมศูนย์ฯ แห่งนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย เว้นแต่ว่ามากันเป็นหมู่คณะ และต้องการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทางศูนย์ฯ ได้จัดขึ้น ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นเลิศ ที่จะทำให้เข้าใจเรื่องราวของคำว่า "พอเพียง" และการใช้ทรัพยากรอย่างไรให้ได้ประโยชน์และรู้คุณค่ามากที่สุด การเดินเที่ยวชมที่แห่งนี้ เดินชมได้เป็นลักษณะคล้ายวงกลม โดยเริ่มจาก โซนภาคเหนือ ตื่นตาไปกับการปลูกไม้ไผ่ชนิดต่างๆ สองข้างทาง รวมทั้งความน่ารักของสะพานไม้ไผ่ บ้านที่สร้างจากไม้ไผ่ริมสระบัว และเครื่องเล่นที่ทำจากไม้ไผ่ ที่จัดแสดงแบบนี้ เป็นเพราะต้องการให้ได้รู้ว่าไม้ไผ่สามารถทำประโยชน์อะไรได้มากมาย รวมทั้งทำรางหยดน้ำ เพื่อใช้รดน้ำต้นไม้และรดดินแทนคนอีกด้วย เดินขึ้นไปตามภูเขาก้อนเล็กๆ เรียนรู้เรื่องภูเขาป่า การตะบันน้ำ คือ การที่ใช้น้ำอัดน้ำขึ้นที่สูงแทนการใช้เครื่องปั๊มน้ำ ระบบป่าเปียกกันไฟ ประโยชน์ของหญ้าแฝก และการทำฝายชะลอความชุ่มชื้น เดินต่อไปยัง โซนภาคกลาง เรียนรู้เรื่องการเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของตัวเองอย่างคุ้มค่า เรียนรู้การสร้างบ้านดิน และเรื่องสมุนไพรนานาชนิด แล้วก็เดินไปยัง โซนภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ชมธนาคารข้าว เรียนรู้เรื่องการสีข้าว การเลี้ยงปศุสัตว์ แอบเห็นวัวตัวเบ่อเริ่มอยู่ในคอกด้วย การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง จะได้ไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมี และได้เรียนรู้เรื่องการห่มดิน จากที่พื้นที่ที่ไม่มีดิน ต้องใช้วิธีห่มดิน เพื่อให้ได้ดินดีๆ กลับมาปลูกพืชผัก แต่จะทำอย่างไร อยากให้ไปเรียนรู้ด้วยตัวเองจะดีที่สุด สุดท้ายไปยัง โซนภาคใต้ ไปดูการเผาถ่านที่ทำจากไม้ไผ่ การทำน้ำมันไบโอดีเซล และเรียนรู้โครงการแก้มลิง นอกจากนี้ตลอดภายในศูนย์ฯ ฉันเห็นว่าจะมีร่องน้ำขนาดใหญ่และเล็กตลอดเส้นทาง มีสระน้ำ มีแปลงเกษตรปลูกพืชผัก มีกังหันน้ำชัยพัฒนา มีการปลูกหญ้าแฝกในน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย จบการเดินเที่ยวชม ที่รับสาระความรู้และความเพลิดเพลินเดินอย่างไม่รู้เหนื่อยกันไป เดินชม ตาดู หูฟังและปากถามเจ้าหน้าที่ไม่ลดละ เพียงเพราะว่าสิ่งที่เราคิดว่า ‘เรารู้' กลายเป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน นั่นเป็นเพราะความเคยชินกับโครงการต่างๆ หรือทฤษฎีต่างๆ แต่ไม่เคยปฏิบัติหรือมาสัมผัสจริง การเดินทาง : จากแยกรังสิต ไปทาง อ.องครักษ์ มุ่งหน้าไปใช้เส้นนครนายก-น้ำตกนางรอง ผ่านวังตะไคร้ ก่อนถึงน้ำตกนางรอง 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าโครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล ตรงไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงวงเวียน (มีรูปปั้นช้าง) วนขวาข้ามสะพาน ถึงสี่แยกเลี้ยวขวาตรงไปอีก 200 เมตร ศูนย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ
นครนายก
บ้านซำขี้เหล็ก เดิมเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น (คำว่า "ซำ" แปลได้ว่าเป็นพื้นที่ซับน้ำ หรือชำน้ำ) บุคคลที่เข้ามาบุกเบิกในระยะแรกๆ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2510-2512 เป็นชาวจังหวัดยโสธรเข้ามาจับจองที่ดินช่วงแรกยังคงปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลัง ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2530-2535 มีชาวบ้านที่ไปประกอบอาชีพรับจ้างทางภาคตะวันออกแถวจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด ได้นำความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพารา ไม้ผล เช่น เงาะ ทุเรียน และไม้ผลอื่นๆ กลับมาทดลองปลูกในพื้นที่ของตนเอง ปรากฏว่ามีการเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตที่ดี ในส่วนของผลไม้มีรสชาติที่แตกต่างจากทางภาคตะวันออกของไทย และผลผลิตที่ออกก็ไม่ตรงกับภาคอื่นๆ ในปัจจุบันมีการขยายพี้นที่การปลูกเงาะ ทุเรียน และยางพารา ประชากรส่วนใหญ่ของบ้านซำขี้เหล็กประกอบอาชีพการเกษตร งานประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ งานบุญเดือนสี่ ประเพณีบุญพเวส งานวันสารทลาว (ไหว้บรรพบรุษ)
ศรีสะเกษ
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเกษตร บริเวณภายในมีการตกแต่งและจัดสวนไว้อย่างสวยงาม เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวในการเข้าไปเที่ยวชมการเพาะปลูกพืชพรรณ ไม้ดอกเมืองหนาวต่างๆ มากมาย เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่จะมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากมายขึ้นไปเที่ยวดอยอ่างขางและมักจะแวะเข้าไปท่องเที่ยวยังศูนย์เกษตรฯ แห่งนี้ด้วย
เชียงใหม่