คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านธารทอง
สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านธารทอง ตำบลแม่เงิน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พืชผักปลอดสารพิษ ไม้ดอก
ประวัติความเป็นมา
โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านธารทอง วันที่ 16 มีนาคม 2546 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จทอดพระเนตรพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติสบกกฝั่งขวา ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และถูกบุกรุกพื้นที่เพื่อจับจองที่ทำกินโดยชาวเขา บ้านขุนน้ำคำ ทำให้ป่าไม้ถูกทำลายลงเป็นจำนวนมาก ทางราชการจึ่งได้ทำการอพยพราษฎรบ้านขุนน้ำคำ ลงมาอยู่ในพื้นที่ บ้านธารทอง ตำบลแม่เงิน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย พิกัด PC316434 ซึ่งอยู่ห่างจากจุดเสด็จประมาณ 5 กิโลเมตร ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ได่พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการจัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง บ้านธารทอง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 10,000 ไร่ เพื่อหยุดยั้งการทำลายป่าให้สถานีเป็นแหล่งจ้างงานผลิตอาหารที่ปลอดภัยและในขณะเดียวกันให้เป็นศูนย์การเรียนรู้การเกษตรที่ถูกวิธี จนกระทั่งนำไปผลิตในที่ดินของตนเองสามารถดำรงชีพอยู่กับป่าอย่างยั่งยืนได้ รวมถึงการจัดระเบียบชุมชนและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ต่อไป ด้วยพื้นที่ดังกล่าวถูกบุกรุกทำลายและประกอบกับพื้นที่บริเวณนี้อยู่ติดกับชายแดน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดที่สำคัญ อาจจะกระทบต่อความมั่นคงในอนาคต ตลอดจนถึงคุณภาพชีวิตของราษฎรที่ไม่ดีพอจึงทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งเป็นสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง โดยเน้นในเรื่องการให้คนอยุ่ร่วมกับป่าได้อย่างผสมกลมกลืน การดำเนินการของสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านธารทองจึงมีทั้ง การฟื้นฟูสภาพป่าและระบบนิเวศน์ และจ้างแรงงานราษฎรเพื่อให้มีรายได้และเป็นแหล่งเรียนรู้จากสถานีเพื่อที่จะ ไปดำเนินการในพื้นที่ของตนเองที่มีอยู่ให้เกิดราบได้ที่ยั่งยืน ไม่บุกรุกทำลายป่าและมีที่อยู่และที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง ซึ่งสถานีได้เน้นปลูกไม้ผล ไม้ดอก และพืชผักปลอดสารพิษรวมถึงการหาตลาดเพื่อจำหน่ายให้แก่ราษฎรที่เข้าร่วม โครงการกับทางสถานีด้วย และเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จไปยังสถานีฯเพื่อทอดพระเนตรความก้าวหน้าของการดำเนินงานที่จะมุ่ง มั่นสู่ผลสัมฤทธิ์ให้คนอยู่กับป่าได้อย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
สวนจะติดกับคลองชลประทาน ซึ่งจะมีลมพัดเย็นตลอดเวลา ภายในสวนบรรยากาศร่มรื่น มีการจัดเส้นทางเดินชมสวน และมีซุ้มสำหรับให้นักท่องเที่ยวได้นั่งพักผ่อน รับประทานผลไม้ในสวนนานาชนิด โดยเอกลักษณ์ที่สำคัญของสวนผู้ใหญ่สมควรคือ ต้นมังคุด 100 ปี จะมีขนาดลำต้นที่ใหญ่ สูง และมีลักษณะเป็นพุ่มสวยงาม ซึ่งลักษณะเด่นของมังคุด 100 ปี คือ จะมีเปลือกบาง หวานอร่อยกว่ามังคุดทั่วไป โดยลูกจะมีขนาดไม่ใหญ่มากนักและผิวพรรณจะไม่นวลเนียนเท่าที่ควร แต่มีรสชาติอร่อย
ระยอง
ที่พักและสวนโกโก้ แห่งทุ่งตำเสา ดินแดนน้ำตกโตนงาช้าง ณ แนวเทือกเขาบรรทัด เราคือโฮมสเตย์ที่มีบ้านพักท่ามกลางสวนผสมผสานหรือภาคใต้ มักเรียกว่า สวนสมรม คือ ปลูกหลายๆอย่างรวมกัน มีทั้งไม้ยืนต้นและไม้ผล เช่น ลองกอง มังคุด ขนุน เงาะ มะพร้าว และที่โดดเด่น คือ โกโก้ ที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นช็อคโกแลตได้ ที่พักของเรามีเครื่องปรับอากาศและมองเห็นวิวเขาโตนงาช้าง ที่เรามีความสงบ ร่มรื่นย์ และเป็นกันเองเพราะเราดูแลทุกท่านดุจญาติมิตรของเรา
สงขลา
พระธาตุกู่จาน ตั้งอยู่ภายในวัดบ้านกู่จานเป็นปูชนียสถานสำคัญ ประชาชนชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียงต่างสักการะบูชา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมรูปทรงคล้ายพระธาตุพนมแต่มีขนาดเล็กกว่า ส่วนของฐานล่างรูปบัวคว่ำบัวหงายเตี้ยๆ รองรับฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมเรียบต่อด้วยทรงบัวเหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยลวดลายประณีตสวยงามตามโบราณ และยอดพระธาตุทรงเหลี่ยมรองรับฉัตรซึ่งเป็นยอดบนสุด จากหลักฐานน่าจะสร้างขึ้นตามคตินิยมในการสร้างพระธาตุทั่วไป คือ เพื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ละปีจะมีการจัดพิธีสรงน้ำเพื่อรักษาประเพณีที่ดีงามเอาไว้ ลักษณะทางสถาปัตยกรรม องค์พระธาตุกู่จาน กว้าง 5.10 เมตร สูง 15 เมตร ที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่บ้านงิ้ว กลางลานวัดกู่จาน ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งดูลักษณะแล้วคล้ายคลึงกับองค์พระธาตุพนม ต่างกันเพียงขนาดซึ่งพระธาตุกู่จานมี ขนาดเล็กกว่า ความสำคัญต่อชุมชน : เป็นที่สักการะของชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียง ทุกๆ ปี ชาวตำบลกู่จานจะนำน้ำอบ น้ำหอมไป ทำพิธีสรงน้ำพระธาตุในช่วงเช้าของวัน เพ็ญ เดือน 6 ตอนบ่ายจะไปทำพิธีสรงน้ำ "กู่" หลังจากนั้นจะพากันไปที่หนองสระพัง เพื่อนำน้ำที่หนองสระพังมาทำพิธี สรงน้ำพระธาตุและใบเสมา ซึ่งพิธีกรรมดังกล่าวนี้ ต้องกระทำเป็นประจำทุกปี มีความเชื่อว่าหากไม่ทำพิธีดังกล่าวแล้วจะทำให้ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านกู่จานจึงได้ถือปฏิบัติพิธีนี้เป็นประจำ
ยโสธร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
ด้วยสวนวิชา(ระยอง) -จำหน่ายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับนานาชนิด -จำหน่ายชุดโต๊ะ ที่นั่งหิน และหินตกแต่งหลากหลายรูปแบบ -รับปรึกษาการปลูกต้นไม้ -รับจัดสวน / ตกแต่งสวน ด้วยทีมงานมืออาชีพ สวนวิชาพันธุ์ไม้(ระยอง)มีพื้นที่ในการเพาะพันธุ์ไม้มากกว่า 50 ไร่ ทำให้ที่ร้านมีทั้งไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ รวมทั้งชุดโต๊ะ ที่นั้่งหิน และหินตกแต่งไว้ให้ท่านผู้สนใจได้เลือกชมเลือกซื้ออย่างมากมาย ด้วยประสบการณ์ของเจ้าของ เริ่มก่อร่างสร้างตัวเปิดร้านตั้งแต่ปี พศ. 2532 จนถึงปัจจุบัน สามารถเป็นตัวการันตีในคุณภาพของสินค้าได้เป็นอย่างดี มองหาร้านได้ไม่ยากติดถนนสุขุมวิทเยื้องๆตลาดผลไม้ตะพงทางไป อ.แกลง เปิดบริการทุกวันจันทร์-อาทิตย์ 08.00-17.00 น. และเปิดตัวน้องใหม่ มีบริการที่พักแบบโฮมสเตย์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาลิ้มลองผลไม้ตามฤดู หรือท่องเที่ยวทะเลที่มาเป็นครอบครัวหรือหมู่คณะ เพื่อการดูแลได้อย่างถั่วถึง จึงรองรับได้จำนวน 10 ท่าน/กรุ๊ป มีบริการสระว่ายน้ำและ Wi-Fi ฟรี สำหรับลูกค้าที่มาพักทุกท่าน
ระยอง
สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือที่ผ่านมา คือ การทดสอบพันธุ์ไม้ผลเมืองหนาวสำหรับปลูกในพื้นที่สูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้แก่ พันธุ์แอปเปิล พันธุ์ท้อสำหรับรับประทานสด และพันนอกจากนี้สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือยังได้มีความพยายามที่จะทำการรวบรวมและศึกษาพันธุ์องุ่นสำหรับทำไวน์ รวมทั้งองุ่นสำหรับรับประทานสด เพื่อพัฒนาพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดเลยทำการปลูกต่อไปอีกด้วย
เลย
ชมสวนผลไม้ ชิมผลไม้สดจากสวน
ระยอง
-ชม ชิม ช็อป สินค้าชุมชนตลาดน้ำท่าคา (ตลาดน้ำมีทุกวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ และทุกวันขึ้นและแรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ และ 12 ค่ำ) -ลงเรือพายชมธรรมชาติริมฝั่งคลอง ไปตามเส้นทางเสด็จประพาสต้น ร.5 ณ บ้านกำนันจัน เป็นบ้านเรือนไทยเก่าแก่ (จองก่อนเข้าชมบ้านกำนันจัน) -เยี่ยมชมกิจกรรมชุมชน ร่วมทำกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้ต่างๆของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ตลาดน้ำท่าคาจากเรื่องราวของมะพร้าว ชมภูมิปัญญาการทำน้ำตาลมะพร้าว ได้แก่ - การขึ้นเก็บน้ำตาลมะพร้าวจากต้น - การเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าวแบบโบราณ - เติมความหวาน เรียนรู้การทำขนมโบราณจากน้ำตาลมะพร้าวท่าคา - การจักสานก้านมะพร้าว ภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนท่าคา - การจักสานทางมะพร้าวสด นำมาสานเป็นหมวก ตะกร้า ฯลฯ - เรือดุ๊กดิ๊กจากกาบมะพร้าว
สมุทรสงคราม
อินทผลัมเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของอำเภอห้วยทับทัน มีทั้งหมด 10 สายพันธุ์ ซึ่งนำเข้าจากประเทศอียิปต์ อาทิ คาลูเต้ อัจวะห์ ซากูลใหญ่ ซากูลเล็ก บาฮี เจ้าชายซาอุ อัมเอสดาฮาน โคไนซี่ ชิชิ และนาเวนเดอร์ เป็นต้น เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตรการเพาะเนื้อเยื่อ SUKAN DATE PALM และเดินชิม ชมสวนอินทผลัมแต่ละสายพันธุ์ซึ่งเป็นผลผลิตของศูนย์เรียนรู้ฯ ตลอดจนสินค้าชุมชนอื่น ๆ ทั้งทุเรียน กล้วยหอมทอง ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ฯลฯ
ศรีสะเกษ
ชม ชิม เช็คอิน บรรยากาศสวนสละ เรียนรู้การเขี่ยดอกสละ จำหน่ายสละและผลิตภัณฑ์แปรรูป
ระยอง
ฟาร์มเมล่อนคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย ใส่ใจทุกการผลิต ด้านในประกอบด้วย ร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านขายของที่ระลึก สวนเมล่อน ครบวงจรในที่เดียว
สระบุรี
พิกัด https://goo.gl/maps/qjPyiZ6hd2UhroWV6
สระบุรี