คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
สวนลำดวน
สวนลำดวน ตำบลตะพง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
อยู่ในเวลาปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 08:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 08:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 08:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 08:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 08:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 08:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 08:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
นักท่องเที่ยวท่านใดที่เดินทางมาที่สวนลำดวน ถ้าได้มาแล้วไม่มีคำว่าผิดหวังแน่นอน กับการได้รับประทานบุฟเฟ่ต์ผลไม้ ทั้ง เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง สามารถทานได้ไม่อั้น จนกว่าลูกค้าจะพอใจ ที่สำคัญไปกว่านั้นทุเรียน เราสามารถเลือกทานได้ ตามใจเรา เพราะมีค่อนข้าง หลากหลายพันธุ์ เจ้าของสวนบริการดี มีมนุษย์สัมพันธ์กับลูกค้าแบบเป็นกันเอง
ประวัติความเป็นมา
เริ่มจากอาชีพเกษตรทำสวนผลไม้ของเจ้าของสวนที่สืบทอดกันมา เเละมีการปรับเปลี่ยนเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวได้เข้าเยี่ยมชมได้ถึงสวน
ลักษณะเด่น
นักท่องเที่ยวสามารถรับประทานบุฟเฟ่ต์ผลไม้ ทั้ง เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง สามารถทานได้ไม่อั้น จนกว่าลูกค้าจะพอใจ
ข้อมูลแนะนำ
กลุ่มนักท่องเที่ยว
• กลุ่มครอบครัว
• กลุ่มผู้สูงอายุ
• กลุ่มวัยทำงาน
• กลุ่มนักเรียนนักศึกษา / เยาวชน / วัยรุ่น
• กลุ่มสตรี
• กลุ่มมุสลิม
• กลุ่มคู่รัก / คู่แต่งงาน
• กลุ่ม Soft Adventure & Ecotourism
• กลุ่ม MICE / ศึกษาดูงาน
• กลุ่ม Volunteer Tourism
• กลุ่มวิถีชีวิต / ชุมชน / วิถีเกษตร
การเดินทาง
• จักรยาน
• มอเตอร์ไซด์
• เดินเท้า
• รถโดยสารประจำทาง
• รถยนต์
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
สิ่งอำนวยความสะดวก
มัคคุเทศก์ท้องถิ่น
ลานจอดรถ
สาธารณูปโภค
ระบบกำจัดขยะ
• คัดแยกขยะ
ระบบไฟฟ้า
• การไฟฟ้า
ระบบน้ำใช้
• ประปา
ระบบการสื่อสาร
• สัญญาณ wifi
• สัญญาณโทรศัพท์
• สัญญาณอินเตอร์เน็ต
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
ชมผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านดงน้อย สัมผัสวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวนครจำปาศรี ณ ชุมชนบ้านดงน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม มาเลือกชมและซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากผ้าทอมือ กระเป๋าแปรรูป ผ้าตุ๊กตาของที่ระลึกจากไม้ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ที่ร้านค้าชุมชนบ้านดงน้อย และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ตั้งอยู่ใกล้ๆ หมู่บ้าน นั่นคือ พระบรมธาตุนาดูน ที่เปรียบเสมือนพุทธมณฑลแห่งอีสานแห่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่งที่มีประวัติอันยาวนานของเมืองนครจัมปาศรีค่า ที่ตั้ง : บ้านดงน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
มหาสารคาม
แปลงเรียนรู้ไม้ดอกเมืองหนาว - กล้วยไม้ซิมบิเดียมตัดดอก - แปลงทิวลิป แปลงเรียนรู้ไม้หอม - โรสแมรี่ - เจอราเนียม แปลงเรียนรู้การปลูกพืชเชิงอนุรักษ์บนพื้นที่สูง - อะโวคาโด - กาแฟอาราบิก้า - แมคคาเดเมีย รูปแบบวิธีการจัดกิจกรรม - มีจุดถ่ายรูป ลานจอดรถ ห้องน้ำ ให้บริการ - เดินชมแปลงเรียนรู้ (ไม้ดอก , ไม้หอม , พืชอนุรักษ์) พร้อมเรียนรู้การเพาะขยายพันธุ์ และการปลูก/ดูแลรักษา - มีจุดจำหน่ายสินค้าชุมชน ผลิตภัณฑ์, พืชผัก, ไม้ผล, พืชไร่ - มีบริการเครื่องดื่ม กาแฟ ชาเจียวกูหลาน - มีบริการบ้านพัก / จุดกางเต้นท์ การมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว - ชม ชิม ช้อป สินค้าชุมชน ผลิตภัณฑ์กระเป๋า ของที่ระลึก สินค้าเกษตร ไม้ผลเมืองหนาว พืชไร่ พืชผักตามฤดูกาล - ถ่ายรูป เช็คอิน แปลงไม้ดอก/ทิวลิป - เดินชมแปลงเรียนรู้ภายในศูนย์ฯ - ดื่มด่ำบรรยากาศทะเลหมอกในฤดูหนาวของจังหวัดเชียงราย โปรแกรมการท่องเที่ยว: โปรแกรม 2 วัน 1 คืน วันที่หนึง 09.30 ออกเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง เชียงราย เดินทางสู่ไร่เชิญตะวัน 10.00 แวะรับทานอาหารเช้า ณ ร้าน “ภูเทียนรีสอร์ท” / “จุ๋ยกุ้งเผา” 11.00 ไร่เชิญตะวัน ศึกษาธรรมะกับแนวคิดมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ (สถาบันการศึกษาทางเลือก เพื่อการพัฒนาตามปรัชญาพุทธเศรษฐศาสตร์) เกษตรธรรมชาติแบบครบวงจร 12.00 ออกเดินทางจากไร่เชิญตะวัน แวะรับประทานอาหาร ณ ร้าน “ลานนาตะวันวา” 13.00 ชมการสาธิตการคั่วชาอัสสัมและการทำเมี่ยง แบบดั่งเดิมโดยชุมชนเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนผลิตชาแม่ลอย 14.00 ออกเดินทางจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตชาแม่ลอย สู่ไร่รื่นรมย์ ต.งิ้ว อ.เทิง 14.30 ชมความงดงามของฟาร์มออแกนิคโดยคนรุ่นใหม่ รับประทานอาหารว่าง จากไร่จากแปลงเกษตรอินทรีย์โดยตรงเพื่อสุขภาพเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ทั้งหลักการและการลงมือทำ 15.00 ออกเดินทางจากไร่รื่นรมย์ สู่ศูนย์ฯ ดอยผาหม่น 17.00 รับประทานอาหารค่ำแบบชนเผ่า ปิ้งย่าง กิจกรรมรอบกองไฟ พร้อมชมการแสดงจากกลุ่มยุวเกษตรกรชาติพันธุ์ ศิลปวัฒนธรรมชนเผ่าจากชุมชน ท่ามกลางธรรมชาติและอาทิตย์อัสดง วันที่สอง 04.30 ตื่นนอน ทำภารกิจส่วนตัว 05.00 เดินทางสู่ยอดภูชี้ฟ้า ชื่นชมทัศนียภาพอันงดงามตามธรรมชาติ ขุนเขาและทะเลหมอก 06.00 เดินทางกลับสู่ ศูนย์ฯ ดอยผาหม่น 07.00 รับประทานอาหารเช้า 08.00 รื่นเริงกับกิจกรรมทางการเกษตรของศูนย์ฯ ดอยผาหม่น ชมแปลงไม้หอม ดอกทิวลิป ชมความงดงามของแปลง ซิมบีเดียม และแปลงเรียนรู้การปลูกกาแฟ อโวคาโด และแมคคาเดเมีย ชิมกาแฟสด คุณภาพสูงจากเกษตรกรผู้ผลิต 12.00 พักรับทานอาหารกลางวัน 13.00 เดินทางสู่กลุ่มผู้ผลิตกาแฟอินทรีย์บ้านบ้านพิทักษ์ไทย 13.30 เดินชมแปลงกาแฟอินทรีย์กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตกาแฟอินทรีย์บ้านพิทักษ์ไทย ร่วมศึกษากรรมวิธีการปลูกกาแฟอินทรีย์คุณภาพดี ซื้อสินค้าที่ระลึกจากชุมชนชาติพันธุ์ 14.30 เดินทางสู่หอนาฬิกาจังหวัดเชียงราย แลนด์มาร์คที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย 16.00 ซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน อาหารพื้นเมือง ของฝาก ของที่ระลึก เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: 1) ภูชี้ฟ้า ต.ตับเต่า อ.เทิง ระยะทาง 11 ก.ม 2) ผาตั้ง ต.ปอ อ.เวียงแก่น ระยะทาง 36 ก.ม 3) ดอยชมดาว ต.ตับเต่า อ.เทิง ระยะทาง 6 ก.ม
เชียงราย
ดงเมืองเตยเป็นเมืองเก่าสมัยขอมจะเป็นเมืองร้างมาแล้วนานเท่าไรไม่ทราบได้ สภาพที่เห็นมาจากปู่ย่าตาทวดหลายชั่วอายุคน ดงเมืองเตยมีป่าไม้ขึ้นสูงข้างล่างโปร่ง มีหมู่ไม้เล็กๆ ขึ้นบ้าง ต้นไม้ใหญ่ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะแบก ไม้ยางเหียง เป็นป่าหนาแน่นมาก พวกพ่อแม่ปู่ย่าตายายไม่กล้าตัดต้นไม้ในดงนี้ เพราะดงเมืองเตยมีผีดุเรียกว่า ผีปู่ตา ป่าไม้จึงเป็นที่อาศัยของลิง และนกหลายจำพวก บึงรอบบริเวณดงเมืองเตยเป็นหนองน้ำขนาดลึกมีน้ำขังตลอดปี เป็นที่อาศัยและเป็นที่เพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ นอกจากนกจำพวกต่างๆ แล้วบึงนี้ได้ชื่อว่ามีเต่ามากที่สุด เหตุที่มีเต่ามากเช่นนี้ชาวบ้านนับถือผีปู่ตา ปู่ตาห้ามจับกินทำลายสัตว์พาหนะของท่าน คือ ลิงและเต่า ถ้าเกิดทำอันตรายขึ้นมา จะต้องมีอันเป็นไป” “ต่อมาเมื่อประมาณ 90 ปีมาแล้ว ชาวบ้านสงเปือยมีหมอร่ำเรียนวิชาอาคมมาทำพิธีปราบผีดงเมืองเตยได้ หมอผู้มีวิชาอาคมผู้นี้ชื่อ ผู้ใหญ่สุวอ เหตุการณ์นี้ตรงกับสมัยพ่อใหญ่อัครฮาด เป็นตาแสง เมื่อชาวบ้านใกล้ไกลได้ยินข่าวพ่อใหญ่สุวอข่มผีดงเมืองเตยได้แล้ว ก็พากันหลั่งไหลมาจับเต่าปลาดงเมืองเตยไปเป็นอาหารจนเกือบเกลี้ยงบึง เต่าจึงเกือบสูญพันธุ์มาจนบัดนี้ พ่อใหญ่สุวอได้แบ่งปันที่บึงออกเป็นที่นาให้พี่น้องญาติมิตรทำนามาจนทุกวันนี้ ส่วนบริเวณดงเมืองเตยได้แบ่งบันทำไร่ สวน ปลูกพืชทำกินมาเท่าทุกวันนี้ อันนี้เป็นเรื่องจริง ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุครบ 90 ปี เช่น พ่อใหญ่อ่อน หอมกลิ่น พ่อใหญ่บู กกเปือย ยังมีชีวิตเป็นพยานอยู่
ยโสธร
ศูนย์ศึกษาพัฒนาการสังคมหมู่บ้าน(วนเกษตร) หรือ บ้านศานติธรรม ภายในอาณาบริเวณเกือบ 10 ไร่ มีพันะุ์ไม้กว่า 700-800 ชนิด เป็นสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ ภายในมีเรือนไม้แบบไทยมุงด้วยกระเบื้องว่าว ใต้ถุนสูงสำหรับประชุมหรือบรรยาย ชั้นบนใช้เก็บและแสดงเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านวัตถุโบราณ ของใช้รุ่นเก่าต่างๆ ด้านหลังบ้านมียุ้งข้าวจำลองและอุปกรณ์นวดข้าว สีข้าว บริเวณบ้านส่วนหนึ่งจัดไว้เป็นที่สำหรับตั้งค่ายพักแรมสำหรับเยาวชน มีลานสันทนาการ และบริเวณทำกิจกรรม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณวิบูลย์ เข็มเฉลิม
ฉะเชิงเทรา
ชาวบ้านบ้านนาต้นจั่น มีวิถีชีวิตดั้งเดิม มีการทำเกษตรแบบผสมผสาน มีการทำผ้าหมักโคลนเป็นผ้าดีมีน้ำหนัก งดงามด้วยการหมักโคลนและการทอที่ซับซ้อน ชาวบ้านได้ปรับพื้นที่สำหรับกางเต็นท์ ยกแคร่ไม่ไผ่ทำเป็นที่นั่งกินข้าว ทำห้องน้ำ ส่วนที่เหลือยังคงสภาพป่าไว้ดังเดิม สันดอยแห่งนี้มีทัศนียภาพงดงาม สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้ในจุดเดียวกัน โฮมสเตย์บ้านนาต้นจั่นมีประมาณ 23 หลัง แยกบ้านให้อยู่เป็น หลังหรืออยู่บ้านเดียวกับเจ้าของบ้าน ได้ดื่มด่ำไปกับธรรมชาติรอบ ที่พัก พร้อมห้องครัวอุปกรณ์ครบครัน ซื้ออาหาร ไปทำรับประทานเองสะดวกสบาย มีกิจกรรมปั่นจักรยานชมวิถีชมุชนในหมู่บ้าน ชมสวนผลไม้และท้องทุ่งพร้อมไกด์ชุมชนนำทาง ไปชมสวนผลไม้ของชาวบ้าน โปรแกรมการท่องเที่ยว : -พักโฮมสเตย์บ้านนาต้นจั่น ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมดจำนวน 23 หลัง -ปั่นจักรยานชมวิถีชมุชนในหมู่บ้าน ชมสวนผลไม้และท้องทุ่ง -ชมวิธีการทำผ้าหมักโคลน การทอผ้าด้วยมือ ผ้ายกดอก และเลือกซื้อผ้าหมักโคลนตัดสำเร็จรูป -ชมวิธีการทำตุ๊กตาบาร์โหน (บ้านตาวงศ์) -ชมหัตถกรรมตอไม้ -ชมและชิมผลไม้ตามฤดูกาล ได้แก่ ทุเรียน เงาะ ลองกอง มะม่วง มะปราง มะไฟ ลำไย -จุดชมวิว “ห้วยต้นไฮ” ชมทะเลหมอกพระอาทิตย์ -ชมและทดลองการทำข้าวเปิ๊ป อาหารท้องถิ่น จิบกาแฟในกระบอกไม้ไผ่ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ : - อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย 30 กิโลเมตร - ร้านทองโบราณ ร้านเงินโบราณ 30 กิโลเมตร - อุทยานแห่งชาติน้ำตกป่าคา 70 กิโลเมตร - อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (เมืองเก่าสุโขทัย) 77 กิโลเมตร - อุทยานแห่งชาติรามคำแหง 110 กิโลเมตร
สุโขทัย
ไร่คุณมนเป็นสวนเกษตรแบบผสมผสาน สวนผักปลอดสารพิษและโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นานาชนิด อาทิ น้ำนมข้าวโพด น้ำผัก กล้วย/ขนุนอบแห้ง กระยาสารทเคลือบน้ำผัก ลูกชิ้นข้าวโพด ไอศกรีมน้ำนมข้าวโพด อาหารชีวจิตเพื่อสุขภาพ เตาเผาถ่านอิวาติ และศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาไทย บนพื้นที่ 150 ไร่ ด้วยเครื่องจักรอันทันสมัย โปรแกรมการท่องเที่ยว เรียนรู้กิจกรรมตามฐานต่างๆ 1.ฐานผลิตน้ำนมข้าวโพด 2.ฐานผลิตไอศครีมน้ำนมข้าวโพด 3.ฐานเก็บข้าวโพดสดจากไร่ 4.ฐานสกัดน้ำมันงา 5.ฐานสกัดน้ำส้มควันไม้และเตาเผาถ่านอิวาเตะ 6.ฐานทำลูกประคบ 7.บ้านดิน เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) สะพานข้ามแม่น้ำแคว, สุสารสัมพันธมิตร ระยะทาง 25 กิโลเมตร วัดถ้ำเสือ ระยะทาง 30 กิโลเมตร ต้นจามจุรียักษ์ ระยะทาง 30 กิโลเมตร สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน น้ำนมข้าวโพด น้ำมันงา กล้วยอบสุญญากาศ
กาญจนบุรี
สวนปาหนัน มีผลไม้ปลูกมากมายหลากหลายชนิดที่นี่ปลูกทั้งเงาะ มังคุด ลองกอง ทุเรียน โดยค่าใช้จ่ายในการมาเที่ยวสวนปาหนันช่วงเดือน พ.ค. - มิ.ย. ซึ่งเป็นช่วงที่มีผลไม้เต็มสวน จากนี้ที่นี่ยังมีบริการที่พักในสวนผลไม้ด้ว
ระยอง
สวนมังคุดไทย (สวนคุณปัญญา) มีต้นมังคุดกว่า 300 ต้น และผลไม้อื่นๆ เช่น เงาะ ทุเรียน แก้วมังกร เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสามารถมาชิมบุฟเฟ่ต์ผลไม้ได้ท่านละ 150 บาท และมีบริการที่พักแบบโฮมสเตย์
ระยอง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบครบวงจร ภายในฟาร์มมีบริการสอนขี่ม้าเที่ยวชมธรรมชาติ ล่องแม่น้ำ อาหาร กาแฟ และที่พักใกล้ชิดธรรมชาติ
กาญจนบุรี
เป็นหมู่บ้านโครงการนำร่องหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตรซึ่งชาวสวนทุเรียนในหมู่บ้านนี้ได้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรโดยใช้ชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มผู้ผลิตทุเรียนคุณภาพดีบ้านซำตารมย์” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตร และตรวจรับรองคุณภาพผลผลิตโดยกรมวิชาการเกษตร ทำให้กลุ่มฯ กล้ารับประกันในเรื่องของคุณภาพผลผลิตของสมาชิก ประธานกลุ่มคือ นายทศพล สุวะจันทร์ ซึ่งเป็นเจ้าของสวนทศพล ที่เป็นจุดเชื่อมเครือข่ายในการท่องเที่ยวเกษตรมีผลผลิตทางการเกษตรตลอดทั้งปี ได้แก่ เงาะ ทุเรียน สะตอ มังคุด ลองกอง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสวนทับทิม ซึ่งเป็นอีกจุดที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมสวน พร้อมทั้งสามารถเลือกซื้อผลไม้ได้อย่างสะดวกสบาย พร้อมทั้งยังมี “กระเทียมโทนดองน้ำผึ้ง” เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) ที่มีชื่อเสียงของชุมชน นักท่องเที่ยวจะได้ร่วมกิจกรรมชิมผลไม้สดๆ จากสวน ร่วมเรียนรู้วิถีชีวิตชาวสวนผลไม้ภาคอีสานตอนล่าง ศึกษาวัฒนาธรรมชุมชน และสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวแหล่งใกล้เคียงได้อีกด้วย โปรแกรมการท่องเที่ยว: - แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ น้ำตกสำโรงเกียรติ อำเภอขุนหาญ ระยะทาง 25 กิโลเมตร - วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว (วัดล้านขวด) อำเภอขุนหาญ ระยะทาง 60 กิโลเมตร - แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนไม้ผลตำบลภูเงิน อำเภอกันทรลักษ์ ระยะทาง 14 กิโลเมตร - แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ผามออีแดง อำเภอกันทรลักษ์ ระยะทาง 105 กิโลเมตร เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: 1. น้ำตกสำโรงเกียรติ ระยะทาง 25 กม. 2. วัดล้านขวด ระยะทาง 60 กม.
ศรีสะเกษ
เที่ยวชมสวน บรรยากาศร่มรื่น ชิมผลไม้สดจากสวน จำหน่ายผลไม้คุณภาพ
ระยอง