คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
พระธาตุกู่จาน
- ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร 35110
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 06:00 น. - 18:00 น.
• วันจันทร์
: 06:00 น. - 18:00 น.
• วันอังคาร
: 06:00 น. - 18:00 น.
• วันพุธ
: 06:00 น. - 18:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 06:00 น. - 18:00 น.
• วันศุกร์
: 06:00 น. - 18:00 น.
• วันเสาร์
: 06:00 น. - 18:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
พระธาตุกู่จาน ตั้งอยู่ภายในวัดบ้านกู่จานเป็นปูชนียสถานสำคัญ ประชาชนชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียงต่างสักการะบูชา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมรูปทรงคล้ายพระธาตุพนมแต่มีขนาดเล็กกว่า ส่วนของฐานล่างรูปบัวคว่ำบัวหงายเตี้ยๆ รองรับฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมเรียบต่อด้วยทรงบัวเหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยลวดลายประณีตสวยงามตามโบราณ และยอดพระธาตุทรงเหลี่ยมรองรับฉัตรซึ่งเป็นยอดบนสุด จากหลักฐานน่าจะสร้างขึ้นตามคตินิยมในการสร้างพระธาตุทั่วไป คือ เพื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ละปีจะมีการจัดพิธีสรงน้ำเพื่อรักษาประเพณีที่ดีงามเอาไว้

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม องค์พระธาตุกู่จาน กว้าง 5.10 เมตร สูง 15 เมตร ที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่บ้านงิ้ว กลางลานวัดกู่จาน ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งดูลักษณะแล้วคล้ายคลึงกับองค์พระธาตุพนม ต่างกันเพียงขนาดซึ่งพระธาตุกู่จานมี ขนาดเล็กกว่า

ความสำคัญต่อชุมชน : เป็นที่สักการะของชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียง ทุกๆ ปี ชาวตำบลกู่จานจะนำน้ำอบ น้ำหอมไป ทำพิธีสรงน้ำพระธาตุในช่วงเช้าของวัน เพ็ญ เดือน 6 ตอนบ่ายจะไปทำพิธีสรงน้ำ "กู่" หลังจากนั้นจะพากันไปที่หนองสระพัง เพื่อนำน้ำที่หนองสระพังมาทำพิธี สรงน้ำพระธาตุและใบเสมา ซึ่งพิธีกรรมดังกล่าวนี้ ต้องกระทำเป็นประจำทุกปี มีความเชื่อว่าหากไม่ทำพิธีดังกล่าวแล้วจะทำให้ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านกู่จานจึงได้ถือปฏิบัติพิธีนี้เป็นประจำ
ประวัติความเป็นมา
เมื่อพุทธศักราช 7 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วเป็นเวลา 7 ปี พระมหากัสสปะได้นำพระบรมสารีริกธาตุลงแจกจ่ายในดินแดนแถบนี้ กลุ่มที่ได้มาคือพระยาคำแดงซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ ด้านกลุ่มพระยาพุทธซึ่งเป็นผู้มีอำนาจทางฝ่ายใต้ไม่ได้รับพระบรมสารีริกธาตุ จึงได้เดินทางไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุจากพระยาคำแดง พระยาคำแดงไม่อยากให้ ทำเป็นพูดจาบ่ายเบี่ยง โดยท้าแข่งก่อสร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระสารีริกธาตุว่าใครจะเสร็จก่อน หากใครแพ้ต้องยอมเป็นเมืองขึ้นของกันและกัน แต่มีข้อแม้อยู่ว่าในการก่อสร้างเจดีย์ครั้งนี้ต้องใช้คนอย่างมากไม่เกิน 6 คน เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงกันแล้ว พระยาพุทธก็เดินทางกลับมาประชุมเจ้าเมืองฝ่ายใต้เพื่อทำการก่อสร้างพระธาตุกู่จานและได้คัดเลือกเอาแต่คนสนิทที่มีฝีมือ ได้แก่ พระยาพุทธ พระยาเขียว พระยาธรรม พระยาคำ พระยาแดง และพระยาคำใบ กลุ่มของพระยาพุทธทำการก่อสร้างพระเจดีย์ไปได้ครึ่งหนึ่งแล้วแต่เกรงว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้วพระยาคำแดงจะไม่ยอมแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ตามที่ได้ตกลงกันไว้และกลัวจะแพ้พระยาคำแดง จึงได้ยกกองกำลังขึ้นไปแย่งชิงเอาพระบรมสารีริกธาตุมาไว้ก่อนแล้วค่อยสร้างต่อไปจนเสร็จ แต่พระยาคำแดงได้วางมาตรการคุ้มกันอย่างเข้มแข็ง ทั้ง 6 คนบุกเข้ารบอย่างดุเดือดแต่ก็ไม่สามารถโจมตีเข้าไปถึงที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุได้ เนื่องจากมีกำลังน้อยกว่าและพระยาคำได้เสียชีวิต เป็นอันว่าผู้สร้างพระธาตุกู่จานเหลือเพียง 5 คน เมื่อเห็นว่ามีกำลังน้อยกว่าคงสู้ต่อไปไม่ได้จึงยกทัพกลับ เมื่อกลับมาถึงก็ได้ทำการคัดเลือกผู้ที่มีฝีมืออยู่ยงคงกระพันยิงไม่เข้าฟันไม่เข้า รวบรวมได้หนึ่งหมื่นคนก็ยกกำลังไปที่หัวเมืองฝ่ายเหนืออีกเพื่อแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุจากพระยาคำแดงเป็นครั้งที่ 2 ครั้งนี้ฝ่ายของพระยาพุทธก็ได้รับความผิดหวัง ทหารที่เกณฑ์ไปเสียชีวิตทั้งหมดเหลือรอดกลับมามีแต่เจ้าเมืองทั้งห้าเท่านั้น เมื่อไม่ประสบผลสำเร็จก็กลับมายังเมืองของตน เพื่อทำการคัดเลือกทหารและวางแผนการใหม่โดยแบ่งกำลังออกเป็น 5 ส่วนเท่ากัน ในส่วนของพระยาพุทธนั้นยังไม่เข้าโจมตีรอให้ทั้ง 4 ฝ่ายเข้าโจมตีก่อน แล้วจึงเข้าโจมตีด้านหลัง ทหารของพระยาคำแดงหลงกลที่เห็นพระยาทั้ง 4 เข้าตีด้านหน้าก็พากันออกมารับโดยไม่ระวังด้านหลัง พระยาพุทธซึ่งคอยทีอยู่แล้วจึงได้พังประตูด้านหลังเข้าไปยังที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุอันได้บรรจุไว้ในผอบทองคำเขียนอักษรติดเอาไว้ซึ่งพระยาพุทธได้มาทั้งสิ้น 6 ผอบ คือ 1.พระบรมสารีริกธาตุ พระเศียร 2.พระบรมสารีริกธาตุ พระอุระ 3.พระบรมสารีริกธาตุ นิ้วพระหัตถ์ขวา 4.พระบรมสารีริกธาตุ นิ้วพระหัตถ์ซ้าย 5.พระบรมสารีริกธาตุ นิ้วพระบาทขวา และ 6.พระบรมสารีริกธาตุ นิ้วพระบาทซ้าย ในแต่ละชิ้นของพระบรมสารีริกธาตุมีขนาดเท่าเมล็ดงา พระยาทั้ง 5 เมื่อทำการสำเร็จแล้วจึงนำทหารถอยกลับยังเมืองฝ่ายตน หลังจากนั้นจึงทำการก่อสร้างพระธาตุเจดีย์จนกระทั่งสำเร็จและได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุทั้ง 6 ผอบไปประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์เป็นที่เรียบร้อย แต่ในการสร้างพระเจดีย์ครั้งนี้เป็นที่คับแค้นของเหล่าประชาราษฎร์ยิ่งนักเนื่องจากไม่ได้ร่วมก่อสร้างด้วย

ดังนั้นพระยาทั้งห้าจึงได้ปรึกษากันว่าพวกเราต้องสร้างใหม่อีกแห่งหนึ่งเพื่อที่จะให้ราษฎรในแต่ละหัวเมืองได้มีส่วนร่วมในการก่อสร้าง แต่ในครั้งนี้ต้องสร้างเป็นวิหารเพื่อเป็นที่เก็บสิ่งของและจารึกประวัติพระธาตุไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ เมื่อประชาชนในเมืองต่างๆ ทราบข่าว ต่างมีความยินดีที่จะได้ร่วมสร้างวิหารซึ่งวิหารนั้นจะต้องทำด้วยหินและหินนั้นต้องเป็นหินทะเลเมื่อตกลงกันแล้วพระยาทั้งห้าต่างก็แยกย้ายไปบอกข่าวแก่ประชาชนของตนให้ไปนำหินจากทะเลมาก่อสร้างพระวิหารโดยจัดแบ่งเป็นกลุ่มๆ กันไป ฝ่ายพระยาคำแดง หัวเมืองฝ่ายเหนือโกรธแค้นมากและทราบว่าผู้ที่มาแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุเป็นผู้ใด จึงได้ยกกำลังกองทัพลงมายังหัวเมืองฝ่ายใต้เพื่อพิจารณาขอร่วมสร้างด้วยเพราะรู้ว่าพระยาทั้ง 5 ได้ไปแย่งชิงเอาพระสารีริกธาตุจากตนมาแล้ว แต่พระยาทั้งห้าไม่ยอมจึงเกิดการต่อสู้กันขึ้นอย่างรุนแรง เนื่องจากฝ่ายพระยาพุทธไม่ได้เตรียมกองกำลังป้องกันไว้จึงเสียเปรียบ ผลปรากฏว่าพระยาทั้งหมดเสียชีวิตคือพระยาคำแดงถูกพระยาพุทธฟันด้วยทวนคอขาด ส่วนพระยาฝ่ายใต้ก็เสียชีวิตทั้งหมดเช่นกัน ศพทั้งหมดได้ถูกเผาและนำมาฝังไว้ห่างจากพระธาตุกู่จานประมาณ 200 -300 เมตร ทั้ง 4 ทิศ สนามรบครั้งนั้นก็คือดอนกู่ในปัจจุบันซึ่งมีหินเรียงกันเป็นชั้นๆ อยู่ทางทิศเหนือของบ้านกู่จาน ห่างจากองค์พระธาตุกู่จานไปไม่มากนักส่วนศพของพระยาคำแดงชาวเมืองได้ช่วยกันเผาแล้วปั้นเป็นเทวรูปคอขาด ซึ่งปัจจุบันนี้พระพุทธรูปคอขาดได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดสมบูรณ์พัฒนา ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เป็นวัดที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ส่วนข้าวของเงินทองของพระยาคำแดง ซึ่งนำลงมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือและของพระยาทั้งห้าของหัวเมืองฝ่ายใต้ ได้ถูกสาปให้จมธรณีเพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดทำลายและนำไปเป็นสมบัติส่วนตัว ส่วนชาวเมืองหัวเมืองฝ่ายใต้ที่พากันไปขนหินทะเลนั้น บางกลุ่มก็ยังไปไม่ถึง บางกลุ่มก็ไปถึง บางกลุ่มก็กลับมาถึงครึ่งทาง บางกลุ่มก็มาถึงแล้วแต่กลุ่มที่เดินทางไปก่อนหลังเมื่อทราบข่าวว่าเจ้าเมืองของตนตายก็พากันทิ้งหินไว้ตามที่ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันเห็นอยู่หลายแห่ง เมื่อดอนกู่ได้เกิดศึกใหญ่มีคนตายมากมาย ชาวเมืองที่เหลืออยู่เสียขวัญจึงพากันอพยพถิ่นฐานไปหาที่สร้างเมืองใหม่ปล่อยให้พระธาตุกู่จานถูกทอดทิ้งมาตั้งแต่บัดนั้น จนกลายเป็นป่าทึบตามธรรมชาติเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิดหลายต่อหลายชั่วอายุคนที่ไม่อาจนับได้ จนกระทั่งบรรพบุรุษที่เดินทางมาจากบ้านปรี่เชียงหมีมาพบเข้าได้เห็นดีที่จะตั้งหมู่บ้านเพราะมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ดินอุดมสมบูรณ์จึงตั้งหมู่บ้านขึ้น และถางป่ามาพบพระธาตุแต่ไม่ทราบประวัติความเป็นมาของพระธาตุ จนมาถึงปี พ.ศ. 2521 จึงปรากฏว่ามีสามเณรถาวร อินกาย และเกิดอภินิหารขึ้นจนกลายเป็นเรื่องเล่าของประวัติพระธาตุกู่จาน
ลักษณะเด่น
มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมมีรูปทรงแบบธาตุอีสานทั่วไปโดยสร้างตามแบบพระธาตุพนมแต่มีขนาดเล็กกว่า ฐานล่างเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายเตี้ยๆรองรับฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมเรียบๆต่อด้วยองค์เรือนธาตุทรงบัวเหลี่ยมประดับลวดลายและยอดธาตุทรงบัวเหลี่ยมรองรับฉัตรซึ่งเป็นยอดบนสุด พระธาตุกู่จานคงสร้างขึ้นตามคตินิยมแบบเดียวกับการสร้างพระธาตุทั่วไป คือ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จากรูปแบบของพระธาตุซึ่งได้รับอิทธิพลทางรูปแบบจากพระธาตุพนม สันนิฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
กลุ่มนักท่องเที่ยว
• กลุ่มครอบครัว
• กลุ่มผู้สูงอายุ
• กลุ่มวัยทำงาน
• กลุ่มนักเรียนนักศึกษา / เยาวชน / วัยรุ่น
• กลุ่มสตรี
• กลุ่มคู่รัก / คู่แต่งงาน
• กลุ่มท่องเที่ยวเชิงศาสนา
• กลุ่ม MICE / ศึกษาดูงาน
• กลุ่ม Volunteer Tourism
• กลุ่มศิลปวัฒนธรรม / ประวัติศาสตร์
• กลุ่มวิถีชีวิต / ชุมชน / วิถีเกษตร
การเดินทาง
• จักรยาน
• มอเตอร์ไซด์
• รถยนต์
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
สิ่งอำนวยความสะดวก
ลานจอดรถ
สุขา
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ร้านขายสินค้าที่ระลึก
ทางลาด
ห้องน้ำสำหรับคนพิการ
สาธารณูปโภค
ระบบน้ำใช้
• แหล่งน้ำธรรมชาติ
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พืชผักปลอดสารพิษ ไม้ดอก
เชียงราย
อาณาจักรสวนดอกไม้แห่งวังน้ำเขียว ‘ฟลอร่า พาร์ค’ อาณาจักรทุ่งดอกไม้นานาชนิดแห่งอำเภอวังน้ำเขียว ที่มีพื้นที่กว้างสุดลูกหูลูกตา ภายในมีดอกไม้เมืองหนาวสวยๆ ยังมีโซนโรส พาร์ค ที่เป็นสวนสวยเต็มไปด้วยดอกกุหลาบหลากสายพันธุ์ โดยจะได้พบกับสวนดอกไม้นานาพันธุ์ อุโมงค์ดอกไม้ กำแพงดอกไม้ และราชินีแห่งดอกไม้งาม รวมไปถึงพันธุ์ดอกไม้หายากที่สามารถเพาะพันธุ์ได้เฉพาะที่วังน้ำเขียวเท่านั้น
นครราชสีมา
หมู่บ้านโพนฮาด เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง แหล่งผักปลอดสารพิษ ข้าวอินทรีย์ แมลงเลิศรส ฟังเพลงกล่อมผัก เป็นแหล๋งปักพัดยศ แห่งเดียวในจังหวัดร้อยเอ็ด ตามคำขวัญที่ว่า หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ลือเลื่องแมลงเลิศรส พัดยศล้ำเลิศงานฝีมือ เลื่องลือผักปลอดสารพิษ ม่วนอีหลีประเพณีบุญบั้งไฟ พระเจ้าใหญ่ร่วมบูชา ตำนานพระยาฮาดพระยาทอน
ร้อยเอ็ด
ชมสวนผลไม้ ชิมผลไม้สดจากสวน เเละจำหน่ายผลไม้คุณภาพ
ระยอง
ชม ชิม เช็คอิน บรรยากาศสวนสละ เรียนรู้การเขี่ยดอกสละ จำหน่ายสละและผลิตภัณฑ์แปรรูป
ระยอง
1 ฐานเรียนรู้ด้านการเกษตร ศพก.บ้านนาน้ำซำ จำนวน 10 ฐาน ดังนี้ 1) ฐานเรียนรู้การผลิตสารชีวภัณฑ์ (ไตรโคเดอร์มา, บิวเวอร์เรีย, BT, จุลินทรีย์ป่า , ไส้เดือนฝอย) 2) ฐานเรียนรู้การเผาถ่าน/กลั่นน้ำส้มควันไม้ 3) ฐานการเลี้ยงไก่ไข่พื้นเมือง 4) ฐานการเพาะเห็ด 5) ฐานการปลูกหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์ 6) ฐานการเลี้ยงปลาน้ำจืด 7) ฐานการทำปุ๋ยหมักไม่กลับกอง 8) ฐานการกลั่นสมุนไพร 2 ศึกษาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 1) ถ้ำผาน้ำทิพย์ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์จากธรรมชาติ 2) ถ้ำค้างคาว พบกับความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติของค้างคาวนับล้านตัว 3) ถ้ำชมพู 4) วัดเขาสามยอด 5) น้ำตกตาดฟ้า 6) น้ำผุดตาดเต่า 7) ถ้ำภูตาหลอ 8) จุดชมวิวดงสะคร่าน 9) โครงการพัฒนาป่าดงลาน 3 แหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร 1) การปลูกหน่อไม้ฝรั่ง 2) การปลูกและการขยายพันธุ์ฝรั่ง 3) สวนลำไยสร้างรายได้ 4) การเพาะเห็ดเสริมรายได้ โปรแกรมการท่องเที่ยว โปรแกรม 2 วัน 1 คืน เรียนรู้ด้านการเกษตรที่ ศพก.  1-2 ฐาน > รับประทานอาหารกลางวัน > ชมถ้ำผาน้ำทิพย์ > ชมค้างคาว > รับประทานอาหารเย็น > พักผ่อนบ้านพักโฮมสเตย์/ภูผาม่านแคมป์ > แปลงหน่อไม้ฝรั่ง> สวนกล้วยหอมทอง > วัดเขาสามยอด > รับประทานอาหารกลางวัน > เดินทางกลับ หมายเหตุ  – โปรแกรมการท่องเที่ยวและค่าบริการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม - อาหารว่าง 3 มื้อ โปรแกรม 1 วัน เรียนรู้ด้านการเกษตรที่ ศพก.  1-2 ฐาน > รับประทานอาหารกลางวัน > ชมถ้ำผาน้ำทิพย์ > ชมค้างคาว > เดินทางกลับ หมายเหตุ  – โปรแกรมการท่องเที่ยวและค่าบริการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม - อาหารว่าง 2 มื้อ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) 1) ถ้ำผาน้ำทิพย์ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์จากธรรมชาติ ระยะทาง 3 กม. 2) ถ้ำค้างคาว  ระยะทาง 6 กม. 3) ถ้ำชมพู ระยะทาง 4 กม. 4) วัดเขาสามยอด ระยะทาง 6 กม. 5) น้ำตกตาดฟ้า ระยะทาง 18 กม. 6) น้ำผุดตาดเต่า ระยะทาง 12 กม. 7) ถ้ำภูตาหลอ ระยะทาง 16 กม. 8) จุดชมวิวดงสะคร่าน ระยะทาง 18 กม. 9) โครงการพัฒนาป่าดงลาน ระยะทาง 22 กม. สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน 1 ร้านค้าชุมชนบ้านเซินใต้ หมู่ 3  บ้านเซินใต้ ตำบลโนนคอม จำหน่ายเสื้อผ้าพื้นเมืองภูผาม่าน 2 ร้านค้าชุมชนบ้านโนนคอม หมู่ 1 บ้านโนนคอม ตำบลโนนคอม จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของฝาก
ขอนแก่น
ไร่รื่นรมย์เป็นพื้นที่ community ที่ๆจะเปิดประสบการณ์และสร้างแรงบัลดาลใจให้คนกลับเข้ามาหาความสมดุลของธรรมชาติและกับตัวเอง ผ่านไร่เกษตรอินทรีย์ผสมผสาน ที่พักฟาร์มสเตย์ ร้านอาหารสุขภาพสร้างสรรค์จากวัตถุดิบที่ดีจากการทำเกษตรที่ดี กิจกรรมและคอร์สเรียนวิถีชีวิตอินทรีย์ให้ใกล้ชิดธรรมชาติ และผ่านทางสินค้าเกษตรสดและแปรรูปอินทรีย์ที่ได้รับมาตราฐานสากล และจากวัตถุดิบชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่พวกเราตั้งใจปลูกและพิถีพิถันในการดูแลทุกขั้นตอน เพื่อส่งมอบสุขภาพที่ดีที่สุด ให้กับผู้บริโภคทุกคน ... เปิดประสบการณ์พักผ่อนในรูปแบบใหม่ที่เรียกได้อย่างเก๋ไก๋ว่า “Organic Life Style” เรียกได้ว่า มาครบจนในที่เดียว มีทั้ง ไร่ออร์แกนิค คาเฟ่ ฟาร์มสเตย์ ศูนย์การเรียนรู้ มากมาย
เชียงราย
เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบครบวงจร ภายในฟาร์มมีบริการสอนขี่ม้าเที่ยวชมธรรมชาติ ล่องแม่น้ำ อาหาร กาแฟ และที่พักใกล้ชิดธรรมชาติ
กาญจนบุรี
บ้านซำขี้เหล็ก เดิมเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น (คำว่า "ซำ" แปลได้ว่าเป็นพื้นที่ซับน้ำ หรือชำน้ำ) บุคคลที่เข้ามาบุกเบิกในระยะแรกๆ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2510-2512 เป็นชาวจังหวัดยโสธรเข้ามาจับจองที่ดินช่วงแรกยังคงปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลัง ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2530-2535 มีชาวบ้านที่ไปประกอบอาชีพรับจ้างทางภาคตะวันออกแถวจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด ได้นำความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพารา ไม้ผล เช่น เงาะ ทุเรียน และไม้ผลอื่นๆ กลับมาทดลองปลูกในพื้นที่ของตนเอง ปรากฏว่ามีการเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตที่ดี ในส่วนของผลไม้มีรสชาติที่แตกต่างจากทางภาคตะวันออกของไทย และผลผลิตที่ออกก็ไม่ตรงกับภาคอื่นๆ ในปัจจุบันมีการขยายพี้นที่การปลูกเงาะ ทุเรียน และยางพารา ประชากรส่วนใหญ่ของบ้านซำขี้เหล็กประกอบอาชีพการเกษตร งานประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ งานบุญเดือนสี่ ประเพณีบุญพเวส งานวันสารทลาว (ไหว้บรรพบรุษ)
ศรีสะเกษ
คุณลือศักดิ์ เป็นเจ้าของศูนย์ฝึกลิงกะแดะแจะ ได้เรียนวิธีการสอนลิงกังมาจากคุณพ่อซึ่งเป็นครูฝึกลิง ทุกเช้าคุณลือศักดิ์จะนำลิงกังไปยังสวนมะพร้าว สอน มันให้ปีนขึ้นต้นมะพร้าว เลือกลูกมะพร้าวสุก และปลิดมะพร้าวออกจากต้น นอกจากนี้แล้ว คุณยังสามารถค้างคืนที่บ้านคุณลือศักดิ์ได้ในราคาไม่แพง ศูนย์ฝึกลิงกระแดะแจะนำลิงกังตัวผู้มาสอนเก็บมะพร้าว ลิงสามารถเก็บมะพร้าวได้ วันละ 500-1000 ลูกต่อวัน
สุราษฎร์ธานี
ไร่สุขถวิล อินทผลัมเมืองช้าง 164 หมู่ 5 ตำบลหนองระฆัง อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ 32160
สุรินทร์
พิกัด https://goo.gl/maps/qjPyiZ6hd2UhroWV6
สระบุรี