คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ตลาดถนนคนเดินยโสธร
ตลาดถนนคนเดินยโสธร ถนนประตูวัดสิงห์ท่าด้านตะวันออก ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร 35000
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
อยู่ในเวลาปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันพุธ
: 16:00 น. - 20:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
"บ้านสิงห์ท่า" เป็นย่านการค้าตั้งแต่สมัยโบราณและได้เจริญขึ้นเมื่อสมัยฝรั่งเศสเข้ามามี อิทธิพลมากในภูมิภาคนี้ในช่วงนั้นเองผู้ที่มีฐานะดีมีการนำเข้าช่างฝีมือจากเวียดนามจำนวนมากเข้ามาสร้างบ้านเรือนทำให้บ้านเรือนมีรูปแบบศิลปกรรมแบบจีนผสมยุโรปที่งดงาม ปัจจุบันยังคงเหลือให้เห็นบนสองข้างทาง ถนนศรีสุนทร นครทุม อุทัยรามฤทธิ์ และวิทยธำรง บางแห่งยังคงความสมบูรณ์อยู่มาก บอกถึงบรรยากาศของความเป็นอดีต ขณะที่อีกหลายแห่งถูกปล่อยให้รกร้างขาดคนอาศัยสร้างเสน่ห์ให้บ้านสิงห์ท่าสวยงามมาจนทุกวันนี้ ปัจจุบัน จังหวัดยโสธรร่วมกับเทศบาลเมืองยโสธรโดยความร่วมมือของส่วนราชการทุกภาคส่วนและชุมชนบ้านสิงห์ท่า ได้พลิกฟื้นย่านการค้าเก่าแก่นี้ให้มีชีวิต ซึ่งมีเสน่ห์เฉพาะตัว โดยจัดให้มี "ถนนคนเดิน เมืองเก่า 200 ปี

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมดีๆ มากมายให้ทุกท่านได้สัมผัสถึงความเป็นตัวตนของคนยโสธร อาทิเช่น การตักบาตรย้อนยุคทุกเช้าวันพุธ ส่วนใน ช่วงเย็นก็จะมีกิจกรรมการแสดงบนเวที กิจกรรมของเด็กและเยาวชน และถนนสายนี้ยังมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญๆ ได้แก่ หอมเหศักดิ์ (พระธาตุก่องข้าวน้อย) ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง และมีอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ ที่มีสถาปัตยกรรม "ชิโนโปรตุกีส" สวยงาม และมีความแตกต่างจากที่อื่นๆ ด้วยเสน่ห์จากไมตรีจิต ของชุมชนบ้านสิงห์ท่าที่พร้อมใจเปิดบ้านต้อนรับแขกผู้มาเยือน
ที่มาข้อมูล
กรมการค้าภายใน
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: มีค่าใช้จ่าย
  - ต่างชาติ ผู้ใหญ่
:
  - ต่างชาติ เด็ก
:
  - ไทย ผู้ใหญ่
:
  - ไทย เด็ก
:
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
สวนผลไม้ที่ได้มาตรฐาน GAP เเละเป็นสวนทุเรียนที่มีอายุไม่ตำกว่า 40 ปี ทุเรียนมีรสชาติดี โดยส่วนใหญ่ผลผลิตของสวน จะเป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เเละทางสวนยังเปิดให้ชมสวนเเละชิมผลไม้ในบรรยากาศธรรมชาติ ร่มรื่น รอบล้อมไปด้วยผลไม้ไทย
ระยอง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
สวนยายดา-เจ๊บุญชื่น เป็นสวนผลไม้ผลแบบผสมผสาน มีกิจกรรมชมสวนบุฟเฟต์ กินอิ่มนอนเล่นได้ทั้งวัน พร้อมส้มตำบุฟเฟต์ มีการบริการจัดคณะทัวร์ รับประทานอาหารในสวน มีผลิตภัณฑ์ทุเรียนทอด และทุเรียนกวนจากสวนยายดา ทำเอง สูตรลับเฉพาะ กรอบ อร่อย มีกะปิระยองแท้ ทำเองแบบดั้งเดิม และมีการจำหน่ายผลไม้สดๆ โปรแกรมการท่องเที่ยว - เดือน ธันวาคม-มกราคม มาชมดอกทุเรียนบาน ดูวิธีผสมเกสรทุเรียน เงาะ สละ   - เดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม เป็นฤดูมะปรางหวานมะยงชิด       - เดือน เมษายน - มิถุนายน จะเป็นช่วงที่ผลไม้ออกพร้อมกันมากที่สุด กิจกรรมบุฟเฟ่ต์ผลไม้ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.)  - หาดแม่รำพึง 8 กม., หาดสวนสน 15 กม.,  สถานีแสดงพันธุ์สัตว์น้ำระยอง 13 กม., ตลาดกลางผลไม้ตะพง 6 กม., ท่าเรือไปเกาะเสม็ด 12 กม. สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน ผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร, ทุเรียนทอด, กะปิคุณภาพ, ผลไม้คุณภาพ
ระยอง
พิกัด https://goo.gl/maps/qjPyiZ6hd2UhroWV6
สระบุรี
หากใครกำลังมองหาที่พักผ่อนหย่อนใจจากการทำงานอย่างหนักหน่วงตลอดทั้งสัปดาห์ ขอเชิญชวนมาท่องเที่ยวชมสวนดอกไม้ ชื่นชมกับธรรมชาติ รับประทานอาหารอร่อย ดื่มกาแฟหอมๆ ถ่ายรูปเล่นมีรถรับส่งเข้าชมไร่
กำแพงเพชร
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี (ศูนย์ผึ้งจันทบุรี) เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ผึ้งชันโรง จิ้งหรีด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้งและผึ้งชันโรง จุดเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดในขอนไม้ั การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษในภาชนะ การปักชำมะนาวแบบควบแน่น เที่ยวได้ทุกวันที่จันทบุรี การเลี้ยงผึ้ง Bee Keeping
จันทบุรี
1. รูปแบบวิธีการจัดกิจกรรม : ชมและศึกษากระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟ สาธิตการทอเสื่อ การย้อมผ้าจากดินจากบ่อบารายศักศิ์สิทธ์ การชมฐานผลิตพืชผักสมุนไพรและการแปรรูปสมุนไพร เลือกซื้อของที่ระลึก ผลิตภัณฑ์และผลผลิตทางการเกษตร ศูนย์ OTOP ชิมอาหารพื้นบ้านในรูปแบบขันโตก ชมระบำนางอัปรา ปั่นจักรยานชมวิวทิวทัศน์ นอนบ้านพักโฮมสเตย์ ชมตลาดเช้าวิถีชุมชน 2. วิถีชีวิตชุมชน : วิถีชีวิตการทำการเกษตร การอยู่อาศัยของชาวบ้านอีสานใต้ ร่องรอยอารยธรรมขอม 3. การมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว : ชม ชิม ช้อป แชะ แชร์ ลองปฏิบิติและเรียนรู้ตามฐานเรียนรู้ด้านการเกษตร โปรแกรมการท่องเที่ยว: 2วัน 1 คืน วันที่ 1 เข้าที่พัก เช่าจักรยาน เข้าชมฐานการผลิตข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟ การชมฐานผลิตพืชผักสมุนไพรและการแปรรูปสมุนไพร รับประทานอาหารเที่ยงริมบาราย หลังจากนั้นเยี่ยมชมปราสาทเมืองต่ำ เย็นปั่นจักรยานชมรอบชุมชน ทำอาหารเย็นแบบพื้นบ้านที่โฮมสเตย์ (ขันโตก ชมระบำนางอัปราแล้วแต่ลูกค้าสั่งชมซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม) นอนบ้านพักโฮมสเตย์ วันที่ 2 เช้าชมตลาดเช้าวิถีชุมชน ตักบาตร ทานอาหารโอมสเตย์ ชมการสาธิตการทอเสื่อและการย้อมผ้าจากดินบ่อบารายศักศิ์สิทธ์ ทอผ้าลายผักกูด เลือกซื้อของที่ระลึกผ้าไหมลายผักกูด ศูนย์ OTOP ขึ้นเขาเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาพนมรุ้ง เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: 1.ปราสาทหินเมืองต่ำ ระยะทาง500 เมตร. 2. ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ระยะทาง 5 กม. 3. กลุ่มย้อมผ้าภูอัคนี อ.เฉลิมพระเกียรติ ระยะทาง 23 กม. 4. วัดเขาอังคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ระยะทาง 25 กม.
บุรีรัมย์
โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจ พืชพันธุ์ดีของอำเภอท่ายาง และของจังหวัดเพชรบุรี เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกร
เพชรบุรี
การทำเกษตรตามแนวพระราชดำริ การเกษตรพอเพียงเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า และเป็นจุดแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรทฤษดีใหม่
แพร่
กินทุเรียนสดๆ ใหม่ๆในสวน ที่สวนทุเรียนจันทบุรี ป้าอิ๊ดวิถีธรรมชาติ เราพร้อมมอบประสปการณ์การกินทุเรียนที่แตกต่าง จากที่คุณเคยสัมผัสมา สวนทุเรียนจันทบุรี ป้าอิ๊ด เริ่มปลูกอย่างเป็นทางการ เมื่ิอเดือน กรกฏาคม 2563 ภายใต้แนวคิดทุเรียนที่ใช้สารเคมีน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ #สวนทุเรียนจันทบุรี ด้วยสภาพภูมิประเทศ ดินปนทราย จึงทำให้น้ำไม่ขัง เนื้อทุเรียน จึง มีความแห้ง+มัน อร่อยและมีความแตกต่างอย่างชัดเจน หน้าที่ของคุณคือ "มีความสุขกับการกินทุเรียน" ที่เหลือ คือหน้าที่เรา สวนทุเรียนจันทบุรี
จันทบุรี
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมคุณภาพไม้ผลตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยมีการเชื่อมโยงกับกลุ่มท่องเที่ยวภายในอำเภอพะโต๊ะ มีกิจกรรม ล่องแพ ชมสวน ชิมผลไม้ เดินป่า เที่ยวน้ำตก ชิมอาหารพื้นบ้าน เช่น แกงส้มหยวกกล้วยป่ากับหมูสามชั้น, ใบเหลียงผัดไข่, ข้าวในกระบอกไม้ไผ่ ชิมกาแฟโบราณ
ชุมพร
แหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรอินทรีย์ มีทั้งที่พัก กิจกรรม คอร์สเรียนรู้ทางด้านการเกษตรและอาหารเป็นยา
เชียงราย