คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
“ท่องเที่ยววิถีเกษตร ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
“ท่องเที่ยววิถีเกษตร ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” หมู่4 ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ
เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์)
เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”

ประวัติความเป็นมา
ตั้งอยู่หมู่ที่ 4,7 ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าแซะ เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่ารับร่อ และป่าสลุย ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ ประเภท ลูกคลื่น ลอนตื้น-ลึก และพื้นที่ภูเขา มีแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นลำคลอง 2 สาย คือ คลองโอน และคลองอาธรรม พืชพันธุ์ไม้เดิมถูกทำลายเสียหายโดยพายุใต้ฝุ่นเกย์ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 จากนั้นคนในชุมชนได้ร่วมกันปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเพื่อเป็นการฟื้นฟู และอนุรักษ์พืชท้องถิ่นให้คงอยู่
ลักษณะเด่น
รวบรวมพันธุ์พืชท้องถิ่นในชุมชน
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
ที่พักและสวนโกโก้ แห่งทุ่งตำเสา ดินแดนน้ำตกโตนงาช้าง ณ แนวเทือกเขาบรรทัด เราคือโฮมสเตย์ที่มีบ้านพักท่ามกลางสวนผสมผสานหรือภาคใต้ มักเรียกว่า สวนสมรม คือ ปลูกหลายๆอย่างรวมกัน มีทั้งไม้ยืนต้นและไม้ผล เช่น ลองกอง มังคุด ขนุน เงาะ มะพร้าว และที่โดดเด่น คือ โกโก้ ที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นช็อคโกแลตได้ ที่พักของเรามีเครื่องปรับอากาศและมองเห็นวิวเขาโตนงาช้าง ที่เรามีความสงบ ร่มรื่นย์ และเป็นกันเองเพราะเราดูแลทุกท่านดุจญาติมิตรของเรา
สงขลา
เรียนรู้การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ และจำหน่ายผักไฮโดรโปนิกส์
ระยอง
ทุ่งดอกไม้แห่งใหม่ที่สวยงามไม่แพ้กับที่จังหวัดเชียงใหม่เลย ที่ไร่เมล๋อน ชากังราวจังหวัดกำแพงเพชรสวนดอกไม้เปิดใหม่ที่ตำบลเขาคีรีส อำเภอพรานกระต่าย ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากนักท่องเที่ยว
กำแพงเพชร
สวนท่องเที่ยว ทุเรียนผลสดสินค้าแปรรูป
ระยอง
ศูนยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ไร่นาสวนผสม การแปรรูปผลผลิตการเกษตร
ระยอง
เรือนจำชั่วคราวดอยฮาง สังกัดเรือนจำกลางเชียงราย ดำเนินการตามโครงการในพระราชดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในเรือนจำ เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปใช้ได้จริงภายหลังพ้นโทษ เป็นการสร้างกำลังใจให้กับผู้ต้องขังและยังทำให้ผู้ต้องขังได้มีโอกาสในการกลับคืนสู่สังคม โดยมีทักษะที่สามารถดำรงชีวิตที่พึ่งตนเองได้ไม่หวนกลับไปกระทำผิดอีก ในปัจจุบัน เรือนจำชั่วคราวดอยฮาง เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เปิดให้บริการเข้าเยี่ยมชมการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และเป็นจุด Check in ที่สำคัญของนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการ
เชียงราย
สับปะรด ไอศกรีมสับปะรด น้ำสับปะรดสด
ระยอง
การส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพทางการเกษตรของตำบลสาคู และสืบสานดำเนินงานตามแนวพระราชดำริโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
ภูเก็ต
สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือที่ผ่านมา คือ การทดสอบพันธุ์ไม้ผลเมืองหนาวสำหรับปลูกในพื้นที่สูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้แก่ พันธุ์แอปเปิล พันธุ์ท้อสำหรับรับประทานสด และพันนอกจากนี้สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือยังได้มีความพยายามที่จะทำการรวบรวมและศึกษาพันธุ์องุ่นสำหรับทำไวน์ รวมทั้งองุ่นสำหรับรับประทานสด เพื่อพัฒนาพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดเลยทำการปลูกต่อไปอีกด้วย
เลย
สวนผลไม้ตามฤดูกาล ทุเรียนหอม เงาะหวาน มังคุดอร่อย ราคาจับต้องได้ ใส่ใจทุกการปลูก ส่งตรงถึงมือลูกค้า
สระบุรี
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี (ศูนย์ผึ้งจันทบุรี) เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ผึ้งชันโรง จิ้งหรีด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้งและผึ้งชันโรง จุดเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดในขอนไม้ั การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษในภาชนะ การปักชำมะนาวแบบควบแน่น เที่ยวได้ทุกวันที่จันทบุรี การเลี้ยงผึ้ง Bee Keeping
จันทบุรี
ที่นี่ บ้านนาสวนสามขา อำเภอสันติสุข สัมผัสวิถีเนิบช้ากับยามเช้าอันแสนสงบ เที่ยวชมท้องทุ่งสีเขียวอ่อน ในหน้าฝน สูดดิน กลิ่นโคลน สุดสดชื่นระรื่นตา กับบรรยากาศชายทุ่งเดินเล่นทอดน่องพักผ่อนสบายๆ กินอยู่ง่ายๆ เก็บพืชผักสวนครัวในบ้าน นำมาปรุงอาหาร เป็นเมนูในท้องถิ่น แค่นี้ก็อิ่มอร่อยมีเวลาเหลือๆ ลงแปลงเพาะกล้า ทำนาโยน เรียนรู้การเกษตรวิถีใหม่ บางคนไม่ใช่เกษตรกรโดยตรง ไม่เคยดำนา มาท่องเที่ยว อยากเดินย่ำโคลนโยนข้าว สัมผัสสายลม และท้องทุ่งขนต้นกล้าที่เพาะไว้ไปแปลงนา เดินป่าๆ โยนๆ แบบซิวๆ ไม่ต้องก้มให้เมื่อย ยิ่งแดดร่ม ลมตกแบบนี้สบายๆ
น่าน