คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ตลาดวัดไผ่โรงวัว
ตลาดวัดไผ่โรงวัว ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี 72110
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 08:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 08:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 08:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 08:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 08:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 08:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 08:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
วัดไผ่โรงวัว หรือวัดโพธาราม เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่พื้นที่ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง พื้นที่ของวัดแต่เดิมเป็นดงป่าไผ่ที่ชาวบ้านนำวัวมาผูกไว้ระหว่างทำนา จึงเป็นที่มาของชื่อวัดไผ่โรงวัว เป็นวัดที่มีพุทธศาสนิกชน และบุคคลทั่วไปนิยมไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเที่ยวชมกันอย่างไม่ขาดสาย ด้วยมีพุทธวัตถุและโบราณสถานสำคัญให้เยี่ยมชมมากมายหลายจุด เช่น "พระพุทธโคดม" พระพุทธรูปโลหะสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างโดยท่านพระครูอุทัยภาคาธร (หลวงพ่อขอม) นอกจากนี้ยังมี "สังเวชนียสถาน 4 ตำบล" คือ สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนาและปรินิพพาน มีส่วนที่แสดงงานประติมากรรม เกี่ยวกับพุทธประวัติเมืองสวรรค์ เมืองนรกจำลอง ส่วน "พระกะกุสันโธ" เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จนขึ้นชื่อเป็นวัดที่ใครมาเยือนสุพรรณบุรีแล้วต้องไม่พลาดไว้พระขอพรหลวงพ่อขอมแล้ว ก็เดินมาเลือกซื้อของฝากขึ้นชื่อในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ตลาดต้องชม "วัดไผ่โรงวัว" ของฝากขึ้นชื่อ คือ ปลาสลิดตากแห้ง ปลาช่อนแดดเดียว ปลาดุกแดดเดียว และยังมีปลาอื่นๆ ให้เลือกอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีสินค้าโอทอปของกิน ของใช้ในครัวเรือน เดินเลือกกันได้เลย
ที่มาข้อมูล
กรมการค้าภายใน
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: มีค่าใช้จ่าย
  - ต่างชาติ ผู้ใหญ่
:
  - ต่างชาติ เด็ก
:
  - ไทย ผู้ใหญ่
:
  - ไทย เด็ก
:
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
กินทุเรียนสดๆ ใหม่ๆในสวน ที่สวนทุเรียนจันทบุรี ป้าอิ๊ดวิถีธรรมชาติ เราพร้อมมอบประสปการณ์การกินทุเรียนที่แตกต่าง จากที่คุณเคยสัมผัสมา สวนทุเรียนจันทบุรี ป้าอิ๊ด เริ่มปลูกอย่างเป็นทางการ เมื่ิอเดือน กรกฏาคม 2563 ภายใต้แนวคิดทุเรียนที่ใช้สารเคมีน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ #สวนทุเรียนจันทบุรี ด้วยสภาพภูมิประเทศ ดินปนทราย จึงทำให้น้ำไม่ขัง เนื้อทุเรียน จึง มีความแห้ง+มัน อร่อยและมีความแตกต่างอย่างชัดเจน หน้าที่ของคุณคือ "มีความสุขกับการกินทุเรียน" ที่เหลือ คือหน้าที่เรา สวนทุเรียนจันทบุรี
จันทบุรี
เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบครบวงจร ภายในมีทั้งห้องพัก แพพัก ร้านอาหาร คาเฟ่ สระว่ายน้ำ และรางรถไฟนั่งชมบรรยากาศ นั่งได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยซื้อตั๋วนั่งรถไฟ 1. ผู้ใหญ่ 90 บาท/คน 2. เด็ก 50 บาท/คน 3. เด็กความสูงไม่ถึง 100 ซม. ฟรี
กาญจนบุรี
บ้านใหม่พัฒนา​ จ.น่าน ชุมชนต้นแบบตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสุขภาพด้วยสมุนไพรรอบตัวเป็นชุมชนเล็กบนที่ราบสูง มีลำน้ำเกี๋ยนไหลผ่าน ชาวบ้านในท้องถิ่นมีวิถีการดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
น่าน
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมคุณภาพไม้ผลตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยมีการเชื่อมโยงกับกลุ่มท่องเที่ยวภายในอำเภอพะโต๊ะ มีกิจกรรม ล่องแพ ชมสวน ชิมผลไม้ เดินป่า เที่ยวน้ำตก ชิมอาหารพื้นบ้าน เช่น แกงส้มหยวกกล้วยป่ากับหมูสามชั้น, ใบเหลียงผัดไข่, ข้าวในกระบอกไม้ไผ่ ชิมกาแฟโบราณ
ชุมพร
สวนหอมมีสุข วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรผลิตไม้กฤษณา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตไม้กฤษณาสายพันธุ์ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย
ระยอง
ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยสุพรรณบุรี เป็นวิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียง อนุรักษ์พันธุ์กล้วยหายากในประเทศไทย ได้รวมสายพันธุ์กล้วยมากมายถึง 108 ชนิด โดยเฉพาะของสุพรรณบุรีเอง
สุพรรณบุรี
พระธาตุยโสธร หรือ พระธาตุอานนท์ ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ เป็นพระธาตุรุ่นเก่าที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมส่วนยอดคล้ายพระธาตุพนม ภายในพระธาตุบรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์ การก่อสร้างได้รับอิทธิพลศิลปะลาวที่นิยมสร้างขึ้นเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับประวัติการตั้งเมืองและประวัติของวัดมหาธาตุ
ยโสธร
สถานที่สำหรับเรียนรู้ด้านพืช ประมง ดิน ข้าว ปศุสัตว์ และชลประทาน
ระยอง
เที่ยวชมสวน บรรยากาศร่มรื่น ชิมผลไม้สดจากสวน จำหน่ายผลไม้คุณภาพ
ระยอง
หยาดเหงื่อของลุงฮุยได้ทิ้งไว้ให้ลูกหลานและผู้สนใจได้ชื่นชมและศึกษาเล่าเรียน"สวนเกษตรลุงฮุย” จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร และสถานที่พักผ่อนเชิงธรรมชาติ ที่มีทั้งบ้านไม้สักกลางสวนและบ้านดินริมคลอง
กำแพงเพชร
แหล่งเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ อนุรักษ์ม้าไทย อาชาบำบัด(สำหรับเด็กออทิสติก) ชมสวน ทานผลไม้สดๆจากสวน เกษตรอินทรีย์
จันทบุรี
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร