คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ตลาดถนนคนเดินเมืองเก่าปราณบุรี
ตลาดถนนคนเดินเมืองเก่าปราณบุรี ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77220
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
อยู่ในเวลาปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันเสาร์
: 15:00 น. - 21:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
5.0
ความพร้อมสถานที่
5
ความคุ้มค่า
5
การให้บริการ
5
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
สำหรับบรรยากาศของตลาดนัดถนนคนเดินที่นี่เน้นขายสินค้าอาหารในราคาประหยัดไม่แพง มีทั้งส่วนที่เป็นร้านค้า ร้านอาหาร และแผงสินค้าที่ชาวบ้านนำมาตั้งวางริมถนน โดยในบริเวณลานกว้างหน้าสถานีรถไฟ จะมากไปด้วยอาหารการกินหลากหลาย เช่น ก๋วยจั๊บ ก๋วยเตี๋ยว ลูกชิ้นปิ้ง ขนมหวานน้ำสมุนไพร ห่อหมก ข้าวห่อใบบัว และ "ส้มตำโบราณ" ที่ปัจจุบันหากินค่อนข้างยาก บรรยากาศจะเป็นอาคารเก่าเรือนไม้ 2 ชั้น ประตูบานเฟี้ยม มีระเบียงบนชั้นสองหลังคาสังกะสี แซมด้วยห้องแถวปูนที่สร้างขึ้นมาใหม่ มีจุดน่าสนใจ คือพิพิธภัณฑ์บ้านครูซึ่งมีของเก่าหลากหลายที่อาจารย์วิลาศ แตงเกตุได้รวบรวมสะสมไว้ และนอกจากจะมีของเก่าหลากหลายให้ชมแล้ว ที่นี่ยังเป็นศูนย์ประสานงานของชมรมอนุรักษ์ตลาดเมืองเก่าปราณบุรีซึ่งรับผิดชอบกิจกรรมถนนคนเดิน ทั้งยังเป็นจุดร้องคาราโอเกะเพลงเก่าที่เรียกความคึกคักและรอยยิ้มจากผู้ผ่านไปผ่านมาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้บนถนนคนเดินแห่งนี้ยังมีเวทีจัดแสดงความสามารถของเด็กๆ ในชุมชน มีร้านก๋วยจั๊บ (เจ้าเก่า) มีแผงชาชัก มีมุมถ่ายรูป มีร้านขายของที่ระลึก แผงขายงานศิลปะ มีจุดนวดเท้าคลายเมื่อย แผงขายสินค้าต่างๆ และอื่นๆอีกหลากหลายกว่า 200 แผง นับเป็นการฟื้นเมืองเก่าปราณบุรีให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
ประวัติความเป็นมา
ตลาดถนนคนเดินเมืองเก่าปราณบุรีขึ้นมาโดยมีการเปิดกิจกรรม "ถนนคนเดินตลาดเก่าเมืองปราณบุรี" (หรือที่บางคนเรียกว่าตลาดเก่า 200 ปี ปราณบุรี) ครั้งแรกขึ้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2553 และหลังจากนั้นก็จัดต่อเนื่องเรื่อยมาในทุกๆเย็นวันเสาร์ ถนนคนเดิน ตลาดเก่าปราณบุรี ที่คงความเก่าแก่มากกว่า 200 ปี และยังรักษาสภาพความเป็นตลาดเก่าไว้ได้อย่างดีซึ่งบริเวณรอบนอกของตลาดจะมีบ้านไม้ ร้านกาแฟ และร้านอาหารเก่าแก่ที่เคยขึ้นชื่อมาแต่ครั้งอดีต ร้านขายของที่ระลึก ร้านหนังสือเก่า ๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและบรรดาบ้านเรือนที่เรียงรายอยู่นั้น ก็จะพร้อมใจกันปรับปรุงและรักษาให้กลายเป็น "ถนนคนเดินปราณบุรี"ในบรรยากาศย้อนยุค ให้ผู้มาเยือนได้ไปสัมผัสกลิ่นอายของวันวานเหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบความเป็นไทยแบบชมวิถีชาวบ้าน ท่านจะพบกับความอบอุ่นของชุมชนที่ร่วมกันจัดถนนคนเดินขึ้นมา
ข้อมูลแนะนำ
กลุ่มนักท่องเที่ยว
• กลุ่มครอบครัว
• กลุ่มผู้สูงอายุ
• กลุ่มวัยทำงาน
• กลุ่มนักเรียนนักศึกษา / เยาวชน / วัยรุ่น
• กลุ่มสตรี
• กลุ่มมุสลิม
• กลุ่มคู่รัก / คู่แต่งงาน
• กลุ่มศิลปวัฒนธรรม / ประวัติศาสตร์
• กลุ่มวิถีชีวิต / ชุมชน / วิถีเกษตร
การเดินทาง
• จักรยาน
• มอเตอร์ไซด์
• เดินเท้า
• รถโดยสารประจำทาง
• รถไฟ
• รถยนต์
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: มีค่าใช้จ่าย
  - ต่างชาติ ผู้ใหญ่
:
  - ต่างชาติ เด็ก
:
  - ไทย ผู้ใหญ่
:
  - ไทย เด็ก
:
• หมายเหตุ : -
สิ่งอำนวยความสะดวก
โรงแรม
ลานจอดรถ
สุขา
ร้านอาหาร
ร้านขายสินค้าที่ระลึก
ป้ายสื่อความหมาย
ลานจอดรถ
รีวิว (2)
5.0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
1. รูปแบบวิธีการจัดกิจกรรม : ชมและศึกษากระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟ สาธิตการทอเสื่อ การย้อมผ้าจากดินจากบ่อบารายศักศิ์สิทธ์ การชมฐานผลิตพืชผักสมุนไพรและการแปรรูปสมุนไพร เลือกซื้อของที่ระลึก ผลิตภัณฑ์และผลผลิตทางการเกษตร ศูนย์ OTOP ชิมอาหารพื้นบ้านในรูปแบบขันโตก ชมระบำนางอัปรา ปั่นจักรยานชมวิวทิวทัศน์ นอนบ้านพักโฮมสเตย์ ชมตลาดเช้าวิถีชุมชน 2. วิถีชีวิตชุมชน : วิถีชีวิตการทำการเกษตร การอยู่อาศัยของชาวบ้านอีสานใต้ ร่องรอยอารยธรรมขอม 3. การมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว : ชม ชิม ช้อป แชะ แชร์ ลองปฏิบิติและเรียนรู้ตามฐานเรียนรู้ด้านการเกษตร โปรแกรมการท่องเที่ยว: 2วัน 1 คืน วันที่ 1 เข้าที่พัก เช่าจักรยาน เข้าชมฐานการผลิตข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟ การชมฐานผลิตพืชผักสมุนไพรและการแปรรูปสมุนไพร รับประทานอาหารเที่ยงริมบาราย หลังจากนั้นเยี่ยมชมปราสาทเมืองต่ำ เย็นปั่นจักรยานชมรอบชุมชน ทำอาหารเย็นแบบพื้นบ้านที่โฮมสเตย์ (ขันโตก ชมระบำนางอัปราแล้วแต่ลูกค้าสั่งชมซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม) นอนบ้านพักโฮมสเตย์ วันที่ 2 เช้าชมตลาดเช้าวิถีชุมชน ตักบาตร ทานอาหารโอมสเตย์ ชมการสาธิตการทอเสื่อและการย้อมผ้าจากดินบ่อบารายศักศิ์สิทธ์ ทอผ้าลายผักกูด เลือกซื้อของที่ระลึกผ้าไหมลายผักกูด ศูนย์ OTOP ขึ้นเขาเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาพนมรุ้ง เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: 1.ปราสาทหินเมืองต่ำ ระยะทาง500 เมตร. 2. ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ระยะทาง 5 กม. 3. กลุ่มย้อมผ้าภูอัคนี อ.เฉลิมพระเกียรติ ระยะทาง 23 กม. 4. วัดเขาอังคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ระยะทาง 25 กม.
บุรีรัมย์
สวนท่องเที่ยว ทุเรียนผลสดสินค้าแปรรูป
ระยอง
เลี้ยงปูนาสร้างรายได้ ส่งขายในประเทศ-ต่างประเทศ เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้และอนุรักษ์ขยายพันธุ์ รวมทั้งแปรรูปปูนาไทย แหล่งเรียนรู้ส่งเสริมอาชีพเกษตรกร
กำแพงเพชร
เรียนรู้การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ และจำหน่ายผักไฮโดรโปนิกส์
ระยอง
ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก การมาเที่ยวชมศูนย์ฯ แห่งนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย เว้นแต่ว่ามากันเป็นหมู่คณะ และต้องการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทางศูนย์ฯ ได้จัดขึ้น ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นเลิศ ที่จะทำให้เข้าใจเรื่องราวของคำว่า "พอเพียง" และการใช้ทรัพยากรอย่างไรให้ได้ประโยชน์และรู้คุณค่ามากที่สุด การเดินเที่ยวชมที่แห่งนี้ เดินชมได้เป็นลักษณะคล้ายวงกลม โดยเริ่มจาก โซนภาคเหนือ ตื่นตาไปกับการปลูกไม้ไผ่ชนิดต่างๆ สองข้างทาง รวมทั้งความน่ารักของสะพานไม้ไผ่ บ้านที่สร้างจากไม้ไผ่ริมสระบัว และเครื่องเล่นที่ทำจากไม้ไผ่ ที่จัดแสดงแบบนี้ เป็นเพราะต้องการให้ได้รู้ว่าไม้ไผ่สามารถทำประโยชน์อะไรได้มากมาย รวมทั้งทำรางหยดน้ำ เพื่อใช้รดน้ำต้นไม้และรดดินแทนคนอีกด้วย เดินขึ้นไปตามภูเขาก้อนเล็กๆ เรียนรู้เรื่องภูเขาป่า การตะบันน้ำ คือ การที่ใช้น้ำอัดน้ำขึ้นที่สูงแทนการใช้เครื่องปั๊มน้ำ ระบบป่าเปียกกันไฟ ประโยชน์ของหญ้าแฝก และการทำฝายชะลอความชุ่มชื้น เดินต่อไปยัง โซนภาคกลาง เรียนรู้เรื่องการเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของตัวเองอย่างคุ้มค่า เรียนรู้การสร้างบ้านดิน และเรื่องสมุนไพรนานาชนิด แล้วก็เดินไปยัง โซนภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ชมธนาคารข้าว เรียนรู้เรื่องการสีข้าว การเลี้ยงปศุสัตว์ แอบเห็นวัวตัวเบ่อเริ่มอยู่ในคอกด้วย การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง จะได้ไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมี และได้เรียนรู้เรื่องการห่มดิน จากที่พื้นที่ที่ไม่มีดิน ต้องใช้วิธีห่มดิน เพื่อให้ได้ดินดีๆ กลับมาปลูกพืชผัก แต่จะทำอย่างไร อยากให้ไปเรียนรู้ด้วยตัวเองจะดีที่สุด สุดท้ายไปยัง โซนภาคใต้ ไปดูการเผาถ่านที่ทำจากไม้ไผ่ การทำน้ำมันไบโอดีเซล และเรียนรู้โครงการแก้มลิง นอกจากนี้ตลอดภายในศูนย์ฯ ฉันเห็นว่าจะมีร่องน้ำขนาดใหญ่และเล็กตลอดเส้นทาง มีสระน้ำ มีแปลงเกษตรปลูกพืชผัก มีกังหันน้ำชัยพัฒนา มีการปลูกหญ้าแฝกในน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย จบการเดินเที่ยวชม ที่รับสาระความรู้และความเพลิดเพลินเดินอย่างไม่รู้เหนื่อยกันไป เดินชม ตาดู หูฟังและปากถามเจ้าหน้าที่ไม่ลดละ เพียงเพราะว่าสิ่งที่เราคิดว่า ‘เรารู้' กลายเป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน นั่นเป็นเพราะความเคยชินกับโครงการต่างๆ หรือทฤษฎีต่างๆ แต่ไม่เคยปฏิบัติหรือมาสัมผัสจริง การเดินทาง : จากแยกรังสิต ไปทาง อ.องครักษ์ มุ่งหน้าไปใช้เส้นนครนายก-น้ำตกนางรอง ผ่านวังตะไคร้ ก่อนถึงน้ำตกนางรอง 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าโครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล ตรงไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงวงเวียน (มีรูปปั้นช้าง) วนขวาข้ามสะพาน ถึงสี่แยกเลี้ยวขวาตรงไปอีก 200 เมตร ศูนย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ
นครนายก
สวนผลไม้ที่ได้มาตรฐาน GAP เเละเป็นสวนทุเรียนที่มีอายุไม่ตำกว่า 40 ปี ทุเรียนมีรสชาติดี โดยส่วนใหญ่ผลผลิตของสวน จะเป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เเละทางสวนยังเปิดให้ชมสวนเเละชิมผลไม้ในบรรยากาศธรรมชาติ ร่มรื่น รอบล้อมไปด้วยผลไม้ไทย
ระยอง
ผลไม้ตามฤดูกาล รับรองความอร่อย ปลอดภัยไร้สารเคมี
ระยอง
ศูนยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ไร่นาสวนผสม การแปรรูปผลผลิตการเกษตร
ระยอง
กลุ่มโคขุนหนองแหน แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านปศุสัตว์แห่งใหม่ของจังหวัดยโสธร พร้อมเปิดฟาร์มต้อนรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสัมผัสกับวิถีความเป็นอยู่ของชุมชนคนเลี้ยงโคขุนคุณภาพที่ประสบความสำเร็จในระดับประเทศ โชว์ความแสนรู้ของโคที่เลี้ยงเสมือนหนึ่งสัตว์เลี้ยงแสนรัก พร้อมทั้งให้ความรู้ในเรื่องของการรวมกลุ่มและการเลี้ยงโคขุนสร้างรายได้ นักท่องเที่ยวสามารถไปเช้าเย็นกลับหรือพักค้างคืนได้ในรูปแบบของโฮมสเตย์ อีกทั้งมีเนื้อโคขุนจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวที่สนใจนำไปประกอบอาหารกันที่บ้านได้ในราคาย่อมเยา
ยโสธร
สวนผักครูสรรเสริญ แหล่งผลิตผักปลอดสารพิษบนเนื้อที่ 47 ไร่ เป็นต้นแบบและแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานของเกษตรกรในพื้นที่ และผู้ศึกษาดูงานทั่วไปเป็นอย่างดี ซึ่งได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี ในการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัย และการรวมกลุ่มเชื่อมโยงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเชื่อมโยงตลาดเกษตรกร
สระบุรี
สวนอินทผลัมเมืองช้าง ม.18 บ.โคกสวาย คุ้มหินปูน ต.ท่าสว่าง อ.เมือง จ.สุรินทร์
สุรินทร์
บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อเป็นฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายในบ้านเป็นสวนผสม ปลูกพืชผักเพื่อบริโภคในครอบครัว โดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต และครูยังเป็นต้นแบบในการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในถังพลาสติก จำนวน 400 ถัง และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะได้ข้าวเปลือกประมาณกว่า 20 ถัง ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในครอบครัวได้ทั้งปี ต่อมาได้มีชาวบ้าน และชาวต่างชาติรู้ข่าวจึงได้มาดู และขอดูถ่ายรูปเป็นจำนวนมาก และได้เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการทำการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนนักศึกษาและผู้ที่สนใจอีกด้วย
ชุมพร