คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านถ้ำผึ้ง
กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านถ้ำผึ้ง ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
อยู่ในเวลาปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
- บึงมหัศจรรย์น้ำดันทรายดูด
- ป่าต้นน้ำ น้ำผุด
- ดอกไม้สีดำ
- ถ้ำน้ำลอด
- ถ้ำประวัติศาสตร์สมรภูมิ
- น้ำตกธารพฤกษาหรือน้ำตกบางคุย
ประวัติความเป็นมา
บ้านถ้ำผึ้งเป็นชื่อของหมู่บ้าน ซึ่งได้มาจากชื่อภูเขาลูกหนึ่งในหมู่บ้าน มีถ้ำอยู่ภายใน และมีผึ้งอาศัยอยู่ ปัจจุบันยังมีคงมีผึ้งอาศัยอยู่ในถ้ำจำนวนมาก และชาวบ้านได้อนุรักษ์ไว้เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน ชุมชนบ้านถ้ำผึ้งเป็นชุมชนที่อพยพมาจากต่างถิ่น โดยมีนายเป้า เกษโกมล จากกรุงเทพฯ เป็นบุคคลแรกที่เข้ามา และเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านเมื่อ พ.ศ. 2505 และชวนลูกหลานมาทำกิน เพราะพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีป่า สัตว์ป่า ต้นน้ำ หลังจากเป็นชุมชนได้มีชาวบ้านใกล้เคียงอพยพเข้ามาจับจองที่ดินทำกินกันมากขึ้น สภาพโดยทั่วไปของบ้านถ้ำผึ้ง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ คือ ภูเขา หุบเขา ขึ้นอยู่ตามความสูงต่ำของพื้นที่ เป็นเขาหินปูน มีถ้ำอยู่ภายใน มีป่าต้นน้ำที่เป็นป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร
ลักษณะเด่น
ชุมชนบ้านถ้ำผึ้งรักษาเอกลักษณ์ของวิถีชีวิตชุมชน เช่น การจัดอาหารปิ่นโตบ้านละเถา แล้วนำมาวางเรียง และรับประทานร่วมกันระหว่างชุมชนกับผู้มาเยือนในลักษณะบุฟเฟต์
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
บ้านใหม่พัฒนา​ จ.น่าน ชุมชนต้นแบบตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสุขภาพด้วยสมุนไพรรอบตัวเป็นชุมชนเล็กบนที่ราบสูง มีลำน้ำเกี๋ยนไหลผ่าน ชาวบ้านในท้องถิ่นมีวิถีการดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
น่าน
แหล่งเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ อนุรักษ์ม้าไทย อาชาบำบัด(สำหรับเด็กออทิสติก) ชมสวน ทานผลไม้สดๆจากสวน เกษตรอินทรีย์
จันทบุรี
สวนโบราณ 200 ปี เป็นสวนที่มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระยะยาว เพื่อคนจำนวนมากที่สุด สวน 200 ปี ตั้งอยู่เลขที่ 5 หมู่ที่ 11 ตำบลแหลมทราย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ห่างจากตลาดหลังสวนราว 2 กิโลเมตร ผู้ที่ดูแลสวนอยู่ในปัจจุบันคือ คุณลุงสำเริง รัชเวทย์ ทายาทช่วงที่ 4 ของตระกูล สวน 200 ปี เป็นสวนเบญจพรรณ คือปลูกไม้ผลหลายๆ ชนิดรวมกัน โดยไม่ได้แบ่งเขต แบ่งโซน ชนิดของไม้ผลมีทุเรียนพื้นบ้าน มังคุด เงาะพื้นบ้าน ลางสาด หมาก มะพร้าว จันทน์เทศ สะตอ ลูกเนียง ละมุด จำปา ขนุน มะไฟ กล้วย ไผ่ พืชผักสวนครัว สมุนไพรต่างๆ สำหรับการบำรุงรักษา อาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ปราศจากการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโต การบำรุงดินทำโดยเลี้ยงหญ้าบำรุงดิน ช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้นตลอดปี ส่วนปุ๋ยเป็นปุ๋ยจากธรรมชาติ เป็นวัฏจักรหมุนเวียน เช่น ใบไม้ และซากพืชล้มลุกที่ทับถมตลอดปี ส่วนการป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีนก กระรอก กระแต คอยจับกินหนอน แมลง เป็นอาหาร ต้นทุนในการดูแลสวน แยกออกได้เป็นส่วนๆ คือ เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต ต้องจ้างแรงงานถางหญ้าบ้าง โดยเฉพาะโคนต้นเพื่อให้การเก็บเกี่ยวได้สะดวก ส่วนต่อมาคือถางบริเวณที่จะปลูกต้นไม้ซ่อมแซมลงไป
ชุมพร
บ้านซำขี้เหล็ก เดิมเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น (คำว่า "ซำ" แปลได้ว่าเป็นพื้นที่ซับน้ำ หรือชำน้ำ) บุคคลที่เข้ามาบุกเบิกในระยะแรกๆ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2510-2512 เป็นชาวจังหวัดยโสธรเข้ามาจับจองที่ดินช่วงแรกยังคงปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลัง ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2530-2535 มีชาวบ้านที่ไปประกอบอาชีพรับจ้างทางภาคตะวันออกแถวจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด ได้นำความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพารา ไม้ผล เช่น เงาะ ทุเรียน และไม้ผลอื่นๆ กลับมาทดลองปลูกในพื้นที่ของตนเอง ปรากฏว่ามีการเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตที่ดี ในส่วนของผลไม้มีรสชาติที่แตกต่างจากทางภาคตะวันออกของไทย และผลผลิตที่ออกก็ไม่ตรงกับภาคอื่นๆ ในปัจจุบันมีการขยายพี้นที่การปลูกเงาะ ทุเรียน และยางพารา ประชากรส่วนใหญ่ของบ้านซำขี้เหล็กประกอบอาชีพการเกษตร งานประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ งานบุญเดือนสี่ ประเพณีบุญพเวส งานวันสารทลาว (ไหว้บรรพบรุษ)
ศรีสะเกษ