คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ตลาดศูนย์วัฒนธรรมพระธาตุเรณูนคร
ตลาดศูนย์วัฒนธรรมพระธาตุเรณูนคร ตำบลเรณู อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม 48170
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
อยู่ในเวลาปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 08:00 น. - 17:00 น.
• วันเสาร์
: 08:00 น. - 17:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
ตลาดต้องชมเรณูนคร จัดขึ้นทุกวันเสาร์ โดยเริ่มตั้งแต่วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม 2559 ตั้งแต่เวลา 18.00 – 16.00 น. และเป็นประจำทุกวันเสาร์ เป็นตลาดที่เปิดโอกาสให้กับ กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในพื้นที่อำเภอเรณูนครทุกตำบล รวม 8 ตำบล ได้มีโอกาสนำผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น (OTOP) ไม่ว่าจะเป็น ผ้าพื้นเมือง สินค้าหัตถกรรมด้านการจักสาน สินค้าแปรรูปการเกษตร สินค้าประเภทอาหารพื้นบ้านและอื่น ๆ มากมาย เช่น เสื้อผ้าปักมือ ผ้าเทปทอมือ ผ้ามัดหมี่ ผ้าพันคอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เหล้าอุ ขนมจีน กระติบข้าว หมวก/กระเป๋าจากปอพาน กระเป๋า/หมวกจากกก ผลิตภัณฑ์ถักจากไหมพรม ขนมต่าง ๆ รวมถึงอาหารพื้นบ้านที่มีรสชาติอร่อย อีกมากมายที่ต้องติดตาม ชม ชิม ช็อป ตลาดต้องชมศูนย์วัฒนธรรมพระธาตุเรณูนคร อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

เสน่ห์ของตลาดต้องชมศูนย์วัฒนธรรมพระธาตุเรณูนคร คือ ความเป็นอัตลักษณ์ของสินค้า และผู้ร่วมจำหน่าย คือสินค้าต้องเป็นสินค้าจากชุมชนที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเท่านั้นผู้ร่วมจำหน่ายใส่เสื้อผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ชนเผ่ารวมถึงภาษาพูดจะมีการสอดแทรกภาษาท้องถิ่น (ภาษาภูไท) อีกทั้งเป็นการส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครพนม ภายใต้สโลแกน 3 ที่สุด คือ (1) ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด (2) สวยที่สุด และ (3) งามที่สุด เช่น พระธาตุเรณูนครที่ตั้งในบริเวณนี้
ที่มาข้อมูล
กรมการค้าภายใน
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: มีค่าใช้จ่าย
  - ต่างชาติ ผู้ใหญ่
:
  - ต่างชาติ เด็ก
:
  - ไทย ผู้ใหญ่
:
  - ไทย เด็ก
:
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
กิจกรรมให้ลูกค้าได้เที่ยวมี 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้ - คาเฟ่มีสุข มีอาหารและเครื่องดื่มให้บริการ เมนูแนะนำคือ "กฤษณากาแฟ" ที่เราใช้ส่วนผสมจากกฤษณาสกัดมาเป็นหัวใจในเครื่องดื่มนี้ นอกจากความหอมเฉพาะตัวแล้วยังเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าสรรพคุณต่างๆมากมาย มีอาหารถิ่นที่สร้างสรรค์ขึ้นจากชุมชนเพื่อให้ลูกค้าได้เข้าถึงวิถีชีวิตท้องถิ่นดั้งเดิมของมีสุขฟาร์ม สัมผัสบรรยากาศของป่ากฤษณาที่มีอายุกว่า30ปี เป็นป่าผสมผสานที่ได้รับรางวัลเกษตรกรแห่งชาติ บนพื้นที่กว่า200ไร่ เติมพลังแห่งความสุขกับธรรมชาติที่หาไม่ได้ทั่วไป - ถ่ายรูปสวยๆ เช็คอินในมีสุขฟาร์ม - ข้ามสะพานมีสุขเพื่อทิ้งความทุกข์และเก็บความสุขกลับไป - ให้อาหารน้องปลาบึก - ให้อาหารน้องหมูป่า - ชมน้องแพะและน้องกระบือภายในฟาร์ม - ภายเรือคายัก ในทะเลสาบมีสุข
ระยอง
Rayong Smile Plants ศูนย์การเรียนรู้พืชกินแมลงจังหวัดระยอง แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร Young Smart Farmer ที่ควรไปสักครั้งในชีวิต ตั้งอยู่ในต.นาตาขวัญ อ.เมืองระยอง เป็นศูนย์รวบรวมพันธุ์หม้อข้าวหม้อแกงลิงกว่า 500 สายพันธุ์
ระยอง
เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบครบวงจร ภายในมีทั้งห้องพัก แพพัก ร้านอาหาร คาเฟ่ สระว่ายน้ำ และรางรถไฟนั่งชมบรรยากาศ นั่งได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยซื้อตั๋วนั่งรถไฟ 1. ผู้ใหญ่ 90 บาท/คน 2. เด็ก 50 บาท/คน 3. เด็กความสูงไม่ถึง 100 ซม. ฟรี
กาญจนบุรี
ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก การมาเที่ยวชมศูนย์ฯ แห่งนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย เว้นแต่ว่ามากันเป็นหมู่คณะ และต้องการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทางศูนย์ฯ ได้จัดขึ้น ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นเลิศ ที่จะทำให้เข้าใจเรื่องราวของคำว่า "พอเพียง" และการใช้ทรัพยากรอย่างไรให้ได้ประโยชน์และรู้คุณค่ามากที่สุด การเดินเที่ยวชมที่แห่งนี้ เดินชมได้เป็นลักษณะคล้ายวงกลม โดยเริ่มจาก โซนภาคเหนือ ตื่นตาไปกับการปลูกไม้ไผ่ชนิดต่างๆ สองข้างทาง รวมทั้งความน่ารักของสะพานไม้ไผ่ บ้านที่สร้างจากไม้ไผ่ริมสระบัว และเครื่องเล่นที่ทำจากไม้ไผ่ ที่จัดแสดงแบบนี้ เป็นเพราะต้องการให้ได้รู้ว่าไม้ไผ่สามารถทำประโยชน์อะไรได้มากมาย รวมทั้งทำรางหยดน้ำ เพื่อใช้รดน้ำต้นไม้และรดดินแทนคนอีกด้วย เดินขึ้นไปตามภูเขาก้อนเล็กๆ เรียนรู้เรื่องภูเขาป่า การตะบันน้ำ คือ การที่ใช้น้ำอัดน้ำขึ้นที่สูงแทนการใช้เครื่องปั๊มน้ำ ระบบป่าเปียกกันไฟ ประโยชน์ของหญ้าแฝก และการทำฝายชะลอความชุ่มชื้น เดินต่อไปยัง โซนภาคกลาง เรียนรู้เรื่องการเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของตัวเองอย่างคุ้มค่า เรียนรู้การสร้างบ้านดิน และเรื่องสมุนไพรนานาชนิด แล้วก็เดินไปยัง โซนภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ชมธนาคารข้าว เรียนรู้เรื่องการสีข้าว การเลี้ยงปศุสัตว์ แอบเห็นวัวตัวเบ่อเริ่มอยู่ในคอกด้วย การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง จะได้ไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมี และได้เรียนรู้เรื่องการห่มดิน จากที่พื้นที่ที่ไม่มีดิน ต้องใช้วิธีห่มดิน เพื่อให้ได้ดินดีๆ กลับมาปลูกพืชผัก แต่จะทำอย่างไร อยากให้ไปเรียนรู้ด้วยตัวเองจะดีที่สุด สุดท้ายไปยัง โซนภาคใต้ ไปดูการเผาถ่านที่ทำจากไม้ไผ่ การทำน้ำมันไบโอดีเซล และเรียนรู้โครงการแก้มลิง นอกจากนี้ตลอดภายในศูนย์ฯ ฉันเห็นว่าจะมีร่องน้ำขนาดใหญ่และเล็กตลอดเส้นทาง มีสระน้ำ มีแปลงเกษตรปลูกพืชผัก มีกังหันน้ำชัยพัฒนา มีการปลูกหญ้าแฝกในน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย จบการเดินเที่ยวชม ที่รับสาระความรู้และความเพลิดเพลินเดินอย่างไม่รู้เหนื่อยกันไป เดินชม ตาดู หูฟังและปากถามเจ้าหน้าที่ไม่ลดละ เพียงเพราะว่าสิ่งที่เราคิดว่า ‘เรารู้' กลายเป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน นั่นเป็นเพราะความเคยชินกับโครงการต่างๆ หรือทฤษฎีต่างๆ แต่ไม่เคยปฏิบัติหรือมาสัมผัสจริง การเดินทาง : จากแยกรังสิต ไปทาง อ.องครักษ์ มุ่งหน้าไปใช้เส้นนครนายก-น้ำตกนางรอง ผ่านวังตะไคร้ ก่อนถึงน้ำตกนางรอง 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าโครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล ตรงไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงวงเวียน (มีรูปปั้นช้าง) วนขวาข้ามสะพาน ถึงสี่แยกเลี้ยวขวาตรงไปอีก 200 เมตร ศูนย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ
นครนายก
1 ฐานเรียนรู้ด้านการเกษตร ศพก.บ้านนาน้ำซำ จำนวน 10 ฐาน ดังนี้ 1) ฐานเรียนรู้การผลิตสารชีวภัณฑ์ (ไตรโคเดอร์มา, บิวเวอร์เรีย, BT, จุลินทรีย์ป่า , ไส้เดือนฝอย) 2) ฐานเรียนรู้การเผาถ่าน/กลั่นน้ำส้มควันไม้ 3) ฐานการเลี้ยงไก่ไข่พื้นเมือง 4) ฐานการเพาะเห็ด 5) ฐานการปลูกหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์ 6) ฐานการเลี้ยงปลาน้ำจืด 7) ฐานการทำปุ๋ยหมักไม่กลับกอง 8) ฐานการกลั่นสมุนไพร 2 ศึกษาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 1) ถ้ำผาน้ำทิพย์ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์จากธรรมชาติ 2) ถ้ำค้างคาว พบกับความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติของค้างคาวนับล้านตัว 3) ถ้ำชมพู 4) วัดเขาสามยอด 5) น้ำตกตาดฟ้า 6) น้ำผุดตาดเต่า 7) ถ้ำภูตาหลอ 8) จุดชมวิวดงสะคร่าน 9) โครงการพัฒนาป่าดงลาน 3 แหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร 1) การปลูกหน่อไม้ฝรั่ง 2) การปลูกและการขยายพันธุ์ฝรั่ง 3) สวนลำไยสร้างรายได้ 4) การเพาะเห็ดเสริมรายได้ โปรแกรมการท่องเที่ยว โปรแกรม 2 วัน 1 คืน เรียนรู้ด้านการเกษตรที่ ศพก.  1-2 ฐาน > รับประทานอาหารกลางวัน > ชมถ้ำผาน้ำทิพย์ > ชมค้างคาว > รับประทานอาหารเย็น > พักผ่อนบ้านพักโฮมสเตย์/ภูผาม่านแคมป์ > แปลงหน่อไม้ฝรั่ง> สวนกล้วยหอมทอง > วัดเขาสามยอด > รับประทานอาหารกลางวัน > เดินทางกลับ หมายเหตุ  – โปรแกรมการท่องเที่ยวและค่าบริการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม - อาหารว่าง 3 มื้อ โปรแกรม 1 วัน เรียนรู้ด้านการเกษตรที่ ศพก.  1-2 ฐาน > รับประทานอาหารกลางวัน > ชมถ้ำผาน้ำทิพย์ > ชมค้างคาว > เดินทางกลับ หมายเหตุ  – โปรแกรมการท่องเที่ยวและค่าบริการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม - อาหารว่าง 2 มื้อ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) 1) ถ้ำผาน้ำทิพย์ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์จากธรรมชาติ ระยะทาง 3 กม. 2) ถ้ำค้างคาว  ระยะทาง 6 กม. 3) ถ้ำชมพู ระยะทาง 4 กม. 4) วัดเขาสามยอด ระยะทาง 6 กม. 5) น้ำตกตาดฟ้า ระยะทาง 18 กม. 6) น้ำผุดตาดเต่า ระยะทาง 12 กม. 7) ถ้ำภูตาหลอ ระยะทาง 16 กม. 8) จุดชมวิวดงสะคร่าน ระยะทาง 18 กม. 9) โครงการพัฒนาป่าดงลาน ระยะทาง 22 กม. สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน 1 ร้านค้าชุมชนบ้านเซินใต้ หมู่ 3  บ้านเซินใต้ ตำบลโนนคอม จำหน่ายเสื้อผ้าพื้นเมืองภูผาม่าน 2 ร้านค้าชุมชนบ้านโนนคอม หมู่ 1 บ้านโนนคอม ตำบลโนนคอม จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของฝาก
ขอนแก่น
- ชมและถ่ายภาพกับดอกหน้าวัวหลากสี - ชมหม้อข้าวหม้อแกงลิง - ชมดอกกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ - ถ่ายรูปกับสับปะรดสีสวยๆ และบรรยากาศในขุนเข เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: ท่าปอมคลองสองน้ำ ระยะทาง 6.9 กิโลเมตร อ่าวท่าเลน ระยะทาง 11 กิโลเมตร เขากาโรส ระยะทาง 11 กิโลเมตร เขาหงอนนาค ระยะทาง 12 กิโลเมตร วัดถ้ำเสือ ระยะทาง 12 กิโลเมตร หาดนพรัตน์ธารา ระยะทาง 16 กิโลเมตร หาดอ่าวนาง ระยะทาง 17 กิโลเมตร สุสานหอย ระยะทาง 19 กิโลเมตร
กระบี่
ฟาร์มเมล่อนญี่ปุ่นที่ได้มาตรฐานและใหญ่ที่สุดในระยอง
ระยอง
กลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบไปด้วยสวนเกษตรอินทรีย์ 6 สวนดังนี้ - สวนจันทร์ชื่น ตั้งอยู่ที่ 8 ม.8 ต.แสนสุข อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เอกลักษณ์ของสวนจะมีการทำบ่อปลาร่วมกับเกษตรอินทรีย์ผสมผสาน เช่น มะพร้าวน้ำหอม ,กล้วยหอมทอง,เตยหอม,และผลไม้อื่นๆอีกมากมาย - สวนสละอุบล(สละอินโด) ตั้งอยู่ที่ 162 ม.10 ต.คำขวาง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เอกลักษณ์ของสวนจะเป็นการทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน เช่น สละอินโด กล้วยสายพันธุ์ต่างๆ มะละกอหลากหลายสายพันธุ์ ไม้ประดับนกน้อยนำโชคและใบไม้สีทอง - บ้านกะสวน ตั้งอยู่ที่ 235 ม.10 ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เอกลักษณ์ของสวนจะเป็นการทำเกษตรอินทรีย์ผสมผสาน เช่น มัลเบอร์รี่ ,มะเดื่อฝรั่ง,หญ้าหวาน และพืชผัก ผลไม้อีกหลากหลายสายพันธุ์ จุดเด่นจะมีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผลผลิตภายในสวน - นิรมลฟาร์มม้า ตั้งอยู่ที่ 227 ม.1 ต.คำขวาง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เอกลักษณ์ของสวนจะอยู่ที่เป็นฟาร์มม้า มีม้าหลากหลายสายพันธุ์มีรถม้า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อดีตของอำเภอวารินชำราบ มีสนามสำหรับขี่ม้า และมีการทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน - สวนลิ้นจี่สุวรรณกูฎ ตั้งอยู่ที่ 86 ม. 8 ตำบลธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เอกลักษณ์ของสวนจะเป็นสวนผลไม้อินทรีย์ผสมผสาน เช่น ลิ้นจี่ ,แก้วมังกร ,ฟาร์มเห็ด ,กล้วย ,มังคุด ,ขนุน ,ทุเรียน โดยในสวนจะมีร้านกาแฟและอาหารที่นำผลผลิตจากภายในส่วนมาเป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร - สวนรัชภูโต ตั้งอยู่ที่ 59 ม.10 ต.แสนสุข อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เอกลักษณ์ของสวน จะเป็นการทำสวนเกษตรอินทรีย์ผสมผสาน เช่น มะเม่า ,กล้วยหอมคาเวนดิช ,มะละกอ พืช ผักอินทรีย์ จุดเด่นจะเป็นสถานที่เรียนรู้ระบบธนาคารน้ำใต้ดิน โปรแกรมการท่องเที่ยว: โปรแกรมท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน ราคา 990/คน (30 คน) รูปแบบกิจกรรม ของกลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรและแปรรูปผักผลไม้อินทรีย์ วันที่ 1 9:00-11:00 สวนรัชภูโต  ต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยพวงมาลัยดอกไม้  เดินชมสวนเกษตรผสมผสาน  เรียนรู้ระบบธนาคารน้ำใต้ดิน  เบรก ด้วยผลิตภัณฑ์จากสวน  กิจกรรมเพาะปลูกพืชผัก นำพืชผักที่เพาะปลูกกลับได้ด้วย 11:30-13:30 สวนสละอุบลสละอินโด  รับประทานอาหารเที่ยง อาหารพื้นบ้าน (ข้าวป่า)  เดินชมสวน /ผลไม้ตามฤดูกาล  เรียนรู้การตอนมะละกอ  กิจกรรม เพาะสละอินโด รับต้นไม้ที่เพาะกลับได้ด้วย 14:00-16:00 บ้านกะสวน  เดินชมสวนเก็บผลไม้ทำกิจกรรม  เบรก ด้วยผลิตภัณฑ์จากสวน  เรียนรู้พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ  กิจกรรมแปรรูป มัลเบอร์รี่,มะเดื่อฝรั่ง,หญ้าหวาน  แนะนำผลิตภัณฑ์ของกลุ่มและรับของฝากจากสวน 16:30-18:00 นิรมลฟาร์มม้า  ขี่รถม้า จากบ้านกะสวน ไปยัง นิรมลฟาร์มม้า  ขี่ม้า/เดินชมสวนเกษตรผสมผสาน  เรียนรู้การขี่ม้าเบื้องต้น  กิจกรรมร่วมกับม้า การขี่ม้า,บังคับม้า,ถ่ายภาพกับม้า,อาบน้ำม้า ,โชว์ม้าแสนรู้ สถานที่พักค้าคืน นิรมลฟาร์มม้า หรือ สวนลิ้นจี่สุวรรณกูฏ 19:00-22:00 นิรมลฟาร์มม้า (กางเต้นท์นอน สไตล์คาวบอย) หรือ สวนลิ้นจี่สุวรรณกูฏ  รับประทานอาหารเย็น  รำบายศรี ,การแสดงชุมชน  กิจกรรมนันทนาการ วันที่ 2 7:00 – 8:30 นิรมลฟาร์มม้า หรือ สวนลิ้นจี่สุวรรณกูฏ  ตักบาตร ,ฟังธรรม  รับประทานอาหารเช้า 9:00-11:00 สวนลิ้นจี่สุวรรณกูฏ  เดินชมสวนลิ้นจี่,แก้วมังกร/ผลไม้ตามฤดูกาล  เบรก ด้วยผลิตภัณฑ์จากสวน  เรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า  กิจกรรมฟาร์มเห็ด นำก้อนเห็ดกลับได้ด้วย 11:30-13:30 สวนจันทร์ชื่น  เดินชมสวน/ผลไม้ตามฤดูกาล/ให้อาหารปลา  เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักไม่กลับกอง  กิจกรรมเพาะชำต้นไม้ นำต้นไม้ที่เพาะชำกลับได้ด้วย  รับประทานอาหารเที่ยง เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: - วัดหนองป่าพง (หลวงปูชา) 12 กิโลเมตร - ฟาร์มฮัก ป.อุบล 15 กิโลเมตร - ทุ่งหนองหญ้าม้า 5 กิโลเมตร - สวนไม้ดอกไม้ประดับบ้านตาติด 15 กิโลเมตร - หาดคูเดื่อ 15 กิโลเมตร - ท่องเที่ยวชุมชนใกล้เคียง(จักรยาน) แปลงผัก,แปลงดอกไม้,ฟาร์มเลี้ยงหนูนา,วัดคำขวาง,บ้านสมุนไพร
อุบลราชธานี
อำเภอเมืองจันทร์เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการปลูกส้มโอ ดินส่วนใหญ่เป็นดินที่เกิดจากตะกอนลำน้ำ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง การระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีความลาดชันเล็กน้อย และเป็นพื้นที่มีระดับน้ำใต้ดินตื้น คุณภาพน้ำใต้ดินดี สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรได้ดี ไม่มีปัญหาน้ำกระด้าง ทำให้ส้มโอของอำเภอเมืองจันทร์มีคุณภาพและรสชาติดี ไม่มีรสขม เปลือกอ่อนบาง ไม่กระด้าง รสหวานฉ่ำ อร่อย เนื้อไม่แฉะ และปลอดภัยจากสารพิษ
ศรีสะเกษ
ดำเนินการโดยชุมชน กิจกรรม นั่งรถอีโก่งไปท่าเรือ ลงเรือ พายเรือ ล่องเรือ ชมสวนส้มโอ ทำกิจกรรมในสวนส้มโอ เช่นการขยายพันธุ์ส้มโอ การติดตา ต่อกิ่งส้มโอ ฟังการบรรยายความรู้เรื่องการปลูก การบริหารจัดการสวนส้มโอ การตลาดส้มโอ การชิมส้มโอ การรับประทานอาหารพื้นบ้าน เช่น ตำหมากโอ การบายศรีสู่ขวัญต้อนรับนักท่องเที่ยว การแสดงรำวงสาวบ้านแต้ แสดงโดยเยาวชนในแหล่งท่องเที่ยว และการพักโฮมสเตย์ โปรแกรมการท่องเที่ยว: 1 เที่ยว 1 วัน ราคา 350 บาท/คน กิจกรรม ต้อนรับนักท่องเที่ยว นำนั่งรถอีโก่ง ลงเรือ ล่องเรือตามลำน้ำพรม ชมธรรมชาติ ขึ้นชมสวนส้มโอ รับประทานอาหารกลางวัน/อาหารว่างและเครื่องดื่ม ซื้อสินค้าในสวน ส่งนักท่องเที่ยวกลับ 2 เที่ยว 2 วัน 1 คืน ราคา 990 บาท/คน วันที่ 1 ต้อนรับนักท่องเที่ยว นำดูงานที่ศูนย์เรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร รับประทานอาหารกลางวันที่ศูนย์บริการต้อนรับนักท่องเที่ยว นั่งรถอีโก่ง ลงเรือ ล่องเรือตามลำน้ำพรม ชมธรรมชาติ ขึ้นชมสวนส้มโอ ร่วมกิจกรรมในสวน รับประทานอาหารเย็นศูนย์บริการต้อนรับนักท่องเที่ยว ร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญต้อนรับนักท่องเที่ยว ชมการแสดงรำวงสาวบ้านแต้ ของเยาวชนในแหล่งท่องเที่ยว ร่วมกิจกรรมนันทนาการกับแหล่งท่องเที่ยว รำวงสาวบ้านแต้ เข้าพักโฮมสเตย์ วันที่ 2 รับประทานอาหารเช้า ที่ศูนย์บริการต้อนรับนักท่องเที่ยว ซื้อของฝากของที่ระลึก ส่งนักท่องเที่ยวกลับ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: 1 หาดน้ำพรม ระยะทาง 5 กม. 2 แก่งตาดไซ ระยะทาง 9 กม.
ชัยภูมิ
พระธาตุยโสธร หรือ พระธาตุอานนท์ ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ เป็นพระธาตุรุ่นเก่าที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมส่วนยอดคล้ายพระธาตุพนม ภายในพระธาตุบรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์ การก่อสร้างได้รับอิทธิพลศิลปะลาวที่นิยมสร้างขึ้นเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับประวัติการตั้งเมืองและประวัติของวัดมหาธาตุ
ยโสธร