คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ตลาดบึงโขงหลง
ตลาดบึงโขงหลง ซอยบัวขาว ตำบลบึงโขงหลง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ 38220
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 08:30 น. - 18:00 น.
• วันเสาร์
: 08:30 น. - 18:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
บึงโขงหลง เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติ อันดับที่ 1,098 ของโลก อันดับที่ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันดับที่ 2 ของประเทศไทย มีความจุที่ระดับเก็บกัก 12 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 2,000 ไร่ ชาวบึงโขงหลง และเซกาได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันจากอ่างเก็บน้ำบึงโขงหลงเพื่อป้องกันอุทกภัย และนำน้ำจากบึงไปพัฒนาการเกษตรให้ได้เต็มที่ เพื่อการอุปโภค-บริโภค เลี้ยงสัตว์ และการเพาะปลูก ตลอดจนแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดด้วย บริเวณรึมบึงเป็นแหล่งวางไข่ของนกหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นนกเป็ดน้ำและนกชายน้ำ และปกคลุมไปด้วยดงของแห้วทรงกระเทียม หม้อข้าวหม้อแกงลิง กกสามเหลี่ยม และผักไผ่น้ำ กลางผิวน้ำของบึงจะพบบัวสาย และบัวหลวง ส่วนใต้น้ำจะพบสาหร่ายหางกระรอก สันตะวาใบพาย และผักบุ้ง และพืชน้ำที่ขึ้นรอบ ๆ เกาะแก่งจะเป็นแพงพวยน้ำ และบอน

สวนสาธารณะบึงโขงหลงแห่งนี้ ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ สถานที่ท่องเที่ยว ได้เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอำเภอบึงโขงหลง ที่จะพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และเป็นศูนย์รวมสินค้าที่ผลิตมาจากคนในชุมชนเพื่อกระจายให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมเพื่อสร้างรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชน
ที่มาข้อมูล
กรมการค้าภายใน
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: มีค่าใช้จ่าย
  - ต่างชาติ ผู้ใหญ่
:
  - ต่างชาติ เด็ก
:
  - ไทย ผู้ใหญ่
:
  - ไทย เด็ก
:
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
1. รูปแบบวิธีการจัดกิจกรรม : ชมและศึกษากระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟ สาธิตการทอเสื่อ การย้อมผ้าจากดินจากบ่อบารายศักศิ์สิทธ์ การชมฐานผลิตพืชผักสมุนไพรและการแปรรูปสมุนไพร เลือกซื้อของที่ระลึก ผลิตภัณฑ์และผลผลิตทางการเกษตร ศูนย์ OTOP ชิมอาหารพื้นบ้านในรูปแบบขันโตก ชมระบำนางอัปรา ปั่นจักรยานชมวิวทิวทัศน์ นอนบ้านพักโฮมสเตย์ ชมตลาดเช้าวิถีชุมชน 2. วิถีชีวิตชุมชน : วิถีชีวิตการทำการเกษตร การอยู่อาศัยของชาวบ้านอีสานใต้ ร่องรอยอารยธรรมขอม 3. การมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว : ชม ชิม ช้อป แชะ แชร์ ลองปฏิบิติและเรียนรู้ตามฐานเรียนรู้ด้านการเกษตร โปรแกรมการท่องเที่ยว: 2วัน 1 คืน วันที่ 1 เข้าที่พัก เช่าจักรยาน เข้าชมฐานการผลิตข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟ การชมฐานผลิตพืชผักสมุนไพรและการแปรรูปสมุนไพร รับประทานอาหารเที่ยงริมบาราย หลังจากนั้นเยี่ยมชมปราสาทเมืองต่ำ เย็นปั่นจักรยานชมรอบชุมชน ทำอาหารเย็นแบบพื้นบ้านที่โฮมสเตย์ (ขันโตก ชมระบำนางอัปราแล้วแต่ลูกค้าสั่งชมซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม) นอนบ้านพักโฮมสเตย์ วันที่ 2 เช้าชมตลาดเช้าวิถีชุมชน ตักบาตร ทานอาหารโอมสเตย์ ชมการสาธิตการทอเสื่อและการย้อมผ้าจากดินบ่อบารายศักศิ์สิทธ์ ทอผ้าลายผักกูด เลือกซื้อของที่ระลึกผ้าไหมลายผักกูด ศูนย์ OTOP ขึ้นเขาเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาพนมรุ้ง เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: 1.ปราสาทหินเมืองต่ำ ระยะทาง500 เมตร. 2. ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ระยะทาง 5 กม. 3. กลุ่มย้อมผ้าภูอัคนี อ.เฉลิมพระเกียรติ ระยะทาง 23 กม. 4. วัดเขาอังคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ระยะทาง 25 กม.
บุรีรัมย์
เรือนจำชั่วคราวดอยฮาง สังกัดเรือนจำกลางเชียงราย ดำเนินการตามโครงการในพระราชดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในเรือนจำ เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปใช้ได้จริงภายหลังพ้นโทษ เป็นการสร้างกำลังใจให้กับผู้ต้องขังและยังทำให้ผู้ต้องขังได้มีโอกาสในการกลับคืนสู่สังคม โดยมีทักษะที่สามารถดำรงชีวิตที่พึ่งตนเองได้ไม่หวนกลับไปกระทำผิดอีก ในปัจจุบัน เรือนจำชั่วคราวดอยฮาง เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เปิดให้บริการเข้าเยี่ยมชมการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และเป็นจุด Check in ที่สำคัญของนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการ
เชียงราย
ชาวบ้านบ้านนาต้นจั่น มีวิถีชีวิตดั้งเดิม มีการทำเกษตรแบบผสมผสาน มีการทำผ้าหมักโคลนเป็นผ้าดีมีน้ำหนัก งดงามด้วยการหมักโคลนและการทอที่ซับซ้อน ชาวบ้านได้ปรับพื้นที่สำหรับกางเต็นท์ ยกแคร่ไม่ไผ่ทำเป็นที่นั่งกินข้าว ทำห้องน้ำ ส่วนที่เหลือยังคงสภาพป่าไว้ดังเดิม สันดอยแห่งนี้มีทัศนียภาพงดงาม สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้ในจุดเดียวกัน โฮมสเตย์บ้านนาต้นจั่นมีประมาณ 23 หลัง แยกบ้านให้อยู่เป็น หลังหรืออยู่บ้านเดียวกับเจ้าของบ้าน ได้ดื่มด่ำไปกับธรรมชาติรอบ ที่พัก พร้อมห้องครัวอุปกรณ์ครบครัน ซื้ออาหาร ไปทำรับประทานเองสะดวกสบาย มีกิจกรรมปั่นจักรยานชมวิถีชมุชนในหมู่บ้าน ชมสวนผลไม้และท้องทุ่งพร้อมไกด์ชุมชนนำทาง ไปชมสวนผลไม้ของชาวบ้าน โปรแกรมการท่องเที่ยว : -พักโฮมสเตย์บ้านนาต้นจั่น ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมดจำนวน 23 หลัง -ปั่นจักรยานชมวิถีชมุชนในหมู่บ้าน ชมสวนผลไม้และท้องทุ่ง -ชมวิธีการทำผ้าหมักโคลน การทอผ้าด้วยมือ ผ้ายกดอก และเลือกซื้อผ้าหมักโคลนตัดสำเร็จรูป -ชมวิธีการทำตุ๊กตาบาร์โหน (บ้านตาวงศ์) -ชมหัตถกรรมตอไม้ -ชมและชิมผลไม้ตามฤดูกาล ได้แก่ ทุเรียน เงาะ ลองกอง มะม่วง มะปราง มะไฟ ลำไย -จุดชมวิว “ห้วยต้นไฮ” ชมทะเลหมอกพระอาทิตย์ -ชมและทดลองการทำข้าวเปิ๊ป อาหารท้องถิ่น จิบกาแฟในกระบอกไม้ไผ่ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ : - อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย 30 กิโลเมตร - ร้านทองโบราณ ร้านเงินโบราณ 30 กิโลเมตร - อุทยานแห่งชาติน้ำตกป่าคา 70 กิโลเมตร - อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (เมืองเก่าสุโขทัย) 77 กิโลเมตร - อุทยานแห่งชาติรามคำแหง 110 กิโลเมตร
สุโขทัย
โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ ตั้งอยู่ที่อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร มีประวัติเล่าสืบกันมาว่าในปี ค.ศ.1908 มีผู้หนีตายอพยพจากที่ต่าง ๆ กัน เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้รวม 5 ครอบครัว ซึ่งหนีมาด้วยสาเหตุเดียวกัน คือ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงรุมทำร้ายและขับไล่ เป็นโบสถ์หลังที่ 4 วางแผนก่อสร้างปี ค.ศ. 1936 ชาวบ้านพากันรวบรวมไม้ ลงมือสร้างปี ค.ศ. 1947 ตัวโบสถ์รูปทรงที่สร้างขึ้นมีลักษณะแบบศิลปะไทย กว้าง 16 เมตร ยาว 57 เมตร จัดเป็นโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย ใช้แผ่นไม้เป็นแป้นมุง หลังคา 80,000 แผ่น ใช้เสาขนาดต่างๆกันถึง 360 ต้น ส่วนใหญ่เป็นเสาไม้เต็ง เสาในแถวกลางมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดมี 260 ต้น สูงจากพื้นดินกว่า 10 เมตร พื้นแผ่นกระดานเป็นไม้แดงและไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ม้านั่งไม้จุคนได้กว่าพันคน ระฆังโบสถ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 ฟุต อยู่ในหอระฆังสูงที่สร้างแบบหอระฆังตามวัดไทยทั่วไป แต่แปลกตรงที่แยกต่างหากจากโบสถ์ และเนื่องจากไม้ที่ได้รวบรวมมามีจำนวนมาก จึงได้นำไม้ที่เหลือมาสร้างโรงเรียนบ้านซ่งแย้พิทยา ข้อมูลและรูปภาพจากเว็บไซต์ : http://www.yasothon.go.th/web/file/menu4.html
ยโสธร
เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่ยังคงมีความเป็นธรรมชาติ และบริสุทธิ์ อบอุ่นไปด้วยวิถีชีวิตที่งดงามของชาวเขา ในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. ซึ่งป็นฤดูทำนาข้าว นักท่องเที่ยวจะได้ชม
แม่ฮ่องสอน
เดิมชื่อ “สวนเกษตรศิริ” เป็นสวนยางพาราผสมสวนผลไม้มากว่า 40 ปีแล้ว มีพื้นที่ ประมาณ 2,000 ไร่ ภูมิประเทศเป็นหุบเขา มีลำธารน้ำไหลผ่าน 3 สาย อุดมสมบูรณ์ ตลอดปี ต่อมาได้ถูกพัฒนาพื้นที่บางส่วนให้เป็นพื้นที่จัดสรร และใช้ชื่อโครงการว่า โครงการ “THE PARK” ที่มีการตกแต่งภูมิสถาปัตย์อย่างสวยงาม และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน มีที่พัก ที่ทำกิจกรรม สวนผลไม้ แล้วยังมีร้านอาหารด้วยนะคะ กับกาแฟสด เครื่องดืม ขนม ของว่าง
ระยอง
จักสานพลาสติก เป็นศิลปะการจักสานที่มีลวดลายสวยงาม การออกแบบ สีสันของเส้นพลาสติก ลวดลายต่าง ๆตามความต้องการของลูกค้า มีความละเอียดประณีต เรียบร้อย ได้มาตรฐาน คงทน สมประโยชน์ ราคาไม่แพง มีการพัฒนารูปแบบทันสมัยอย่างต่อเนื่องและเป็นสากล แต่กระบวนการผลิตยังใช้แบบดั่งเดิม ทำให้มองเห็นคุณค่าและแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของคนบ้านพราน เป็นผลงานจากการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่ประสานภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ ให้เข้ากันได้อย่างลงตัวและเหมาะสม
อ่างทอง
สวนยายดา-เจ๊บุญชื่น เป็นสวนผลไม้ผลแบบผสมผสาน มีกิจกรรมชมสวนบุฟเฟต์ กินอิ่มนอนเล่นได้ทั้งวัน พร้อมส้มตำบุฟเฟต์ มีการบริการจัดคณะทัวร์ รับประทานอาหารในสวน มีผลิตภัณฑ์ทุเรียนทอด และทุเรียนกวนจากสวนยายดา ทำเอง สูตรลับเฉพาะ กรอบ อร่อย มีกะปิระยองแท้ ทำเองแบบดั้งเดิม และมีการจำหน่ายผลไม้สดๆ โปรแกรมการท่องเที่ยว - เดือน ธันวาคม-มกราคม มาชมดอกทุเรียนบาน ดูวิธีผสมเกสรทุเรียน เงาะ สละ   - เดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม เป็นฤดูมะปรางหวานมะยงชิด       - เดือน เมษายน - มิถุนายน จะเป็นช่วงที่ผลไม้ออกพร้อมกันมากที่สุด กิจกรรมบุฟเฟ่ต์ผลไม้ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.)  - หาดแม่รำพึง 8 กม., หาดสวนสน 15 กม.,  สถานีแสดงพันธุ์สัตว์น้ำระยอง 13 กม., ตลาดกลางผลไม้ตะพง 6 กม., ท่าเรือไปเกาะเสม็ด 12 กม. สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน ผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร, ทุเรียนทอด, กะปิคุณภาพ, ผลไม้คุณภาพ
ระยอง
สวนปาหนัน มีผลไม้ปลูกมากมายหลากหลายชนิดที่นี่ปลูกทั้งเงาะ มังคุด ลองกอง ทุเรียน โดยค่าใช้จ่ายในการมาเที่ยวสวนปาหนันช่วงเดือน พ.ค. - มิ.ย. ซึ่งเป็นช่วงที่มีผลไม้เต็มสวน จากนี้ที่นี่ยังมีบริการที่พักในสวนผลไม้ด้ว
ระยอง
ชมสวนผลไม้ ชิมผลไม้สดจากสวน เเละจำหน่ายผลไม้คุณภาพ
ระยอง
สวนโบราณ 200 ปี เป็นสวนที่มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระยะยาว เพื่อคนจำนวนมากที่สุด สวน 200 ปี ตั้งอยู่เลขที่ 5 หมู่ที่ 11 ตำบลแหลมทราย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ห่างจากตลาดหลังสวนราว 2 กิโลเมตร ผู้ที่ดูแลสวนอยู่ในปัจจุบันคือ คุณลุงสำเริง รัชเวทย์ ทายาทช่วงที่ 4 ของตระกูล สวน 200 ปี เป็นสวนเบญจพรรณ คือปลูกไม้ผลหลายๆ ชนิดรวมกัน โดยไม่ได้แบ่งเขต แบ่งโซน ชนิดของไม้ผลมีทุเรียนพื้นบ้าน มังคุด เงาะพื้นบ้าน ลางสาด หมาก มะพร้าว จันทน์เทศ สะตอ ลูกเนียง ละมุด จำปา ขนุน มะไฟ กล้วย ไผ่ พืชผักสวนครัว สมุนไพรต่างๆ สำหรับการบำรุงรักษา อาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ปราศจากการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโต การบำรุงดินทำโดยเลี้ยงหญ้าบำรุงดิน ช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้นตลอดปี ส่วนปุ๋ยเป็นปุ๋ยจากธรรมชาติ เป็นวัฏจักรหมุนเวียน เช่น ใบไม้ และซากพืชล้มลุกที่ทับถมตลอดปี ส่วนการป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีนก กระรอก กระแต คอยจับกินหนอน แมลง เป็นอาหาร ต้นทุนในการดูแลสวน แยกออกได้เป็นส่วนๆ คือ เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต ต้องจ้างแรงงานถางหญ้าบ้าง โดยเฉพาะโคนต้นเพื่อให้การเก็บเกี่ยวได้สะดวก ส่วนต่อมาคือถางบริเวณที่จะปลูกต้นไม้ซ่อมแซมลงไป
ชุมพร
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นหน่วยงานของกรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ให้บริการความรู้ และฝึกอาชีพด้านการเกษตรแก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและแหล่งศึกษาดูงานด้านการเลี้ยงและแมลงเศรษฐกิจ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้งและชันโรง และการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีจุดเรียนรู้ต่างๆ ภายในศูนย์ ดังนี้ - จุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ - จุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรง - จุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งชันโรง - จุดเรียนรู้การเลี้ยงจิ้งหรีด - จุดเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้ง และผึ้งชันโรง - จุดเรียนรู้การเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง (การปลูกพืชผักในภาชนะ การเพาะเห็ดนาฟ้า ) โปรแกรมการท่องเที่ยว สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) - ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี (ทุ่งเพล) ระยะทาง 21 กม. - ศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริจังหวัด จันทบุรี ระยะทาง 24 กม. - สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 จันทบุรี ระยะทาง 25 กม. - ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระยะทาง 48 กม. - ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านปัถวี ระยะทาง 5 กม. สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน - น้ำผึ้ง - น้ำผึ้งชันโรง - ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผึ้งและผึ้งชันโรง (สบู่น้ำผึ้ง แชมพูน้ำผึ้งสมุนไพร ไขผึ้งสมุนไพร ลิบบาล์มไขผึ้ง โลชั่นโปรโปลิส ครีมนมผึ้ง)
จันทบุรี