คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ไร่รื่นรมย์ เกษตรอินทรีย์ ท่องเที่ยว ออแกนิค Rai Ruen Rom Organic Farm
97 หมู่10 ตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย 57160
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
อยู่ในเวลาปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 18:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 18:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 18:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 18:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 18:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 18:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 18:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
ไร่รื่นรมย์เป็นพื้นที่ community ที่ๆจะเปิดประสบการณ์และสร้างแรงบัลดาลใจให้คนกลับเข้ามาหาความสมดุลของธรรมชาติและกับตัวเอง ผ่านไร่เกษตรอินทรีย์ผสมผสาน ที่พักฟาร์มสเตย์ ร้านอาหารสุขภาพสร้างสรรค์จากวัตถุดิบที่ดีจากการทำเกษตรที่ดี กิจกรรมและคอร์สเรียนวิถีชีวิตอินทรีย์ให้ใกล้ชิดธรรมชาติ และผ่านทางสินค้าเกษตรสดและแปรรูปอินทรีย์ที่ได้รับมาตราฐานสากล และจากวัตถุดิบชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่พวกเราตั้งใจปลูกและพิถีพิถันในการดูแลทุกขั้นตอน เพื่อส่งมอบสุขภาพที่ดีที่สุด ให้กับผู้บริโภคทุกคน ... เปิดประสบการณ์พักผ่อนในรูปแบบใหม่ที่เรียกได้อย่างเก๋ไก๋ว่า “Organic Life Style” เรียกได้ว่า มาครบจนในที่เดียว มีทั้ง ไร่ออร์แกนิค คาเฟ่ ฟาร์มสเตย์ ศูนย์การเรียนรู้ มากมาย
ข้อมูลแนะนำ
กลุ่มนักท่องเที่ยว
• กลุ่มครอบครัว
• กลุ่มผู้สูงอายุ
• กลุ่มวัยทำงาน
• กลุ่มนักเรียนนักศึกษา / เยาวชน / วัยรุ่น
• กลุ่มสตรี
• กลุ่มคู่รัก / คู่แต่งงาน
• กลุ่ม Wedding & Honeymoon
• กลุ่ม Health & Wellness
• กลุ่ม MICE / ศึกษาดูงาน
• กลุ่ม Volunteer Tourism
• กลุ่มวิถีชีวิต / ชุมชน / วิถีเกษตร
การเดินทาง
• รถยนต์
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
กินทุเรียนสดๆ ใหม่ๆในสวน ที่สวนทุเรียนจันทบุรี ป้าอิ๊ดวิถีธรรมชาติ เราพร้อมมอบประสปการณ์การกินทุเรียนที่แตกต่าง จากที่คุณเคยสัมผัสมา สวนทุเรียนจันทบุรี ป้าอิ๊ด เริ่มปลูกอย่างเป็นทางการ เมื่ิอเดือน กรกฏาคม 2563 ภายใต้แนวคิดทุเรียนที่ใช้สารเคมีน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ #สวนทุเรียนจันทบุรี ด้วยสภาพภูมิประเทศ ดินปนทราย จึงทำให้น้ำไม่ขัง เนื้อทุเรียน จึง มีความแห้ง+มัน อร่อยและมีความแตกต่างอย่างชัดเจน หน้าที่ของคุณคือ "มีความสุขกับการกินทุเรียน" ที่เหลือ คือหน้าที่เรา สวนทุเรียนจันทบุรี
จันทบุรี
บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อเป็นฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายในบ้านเป็นสวนผสม ปลูกพืชผักเพื่อบริโภคในครอบครัว โดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต และครูยังเป็นต้นแบบในการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในถังพลาสติก จำนวน 400 ถัง และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะได้ข้าวเปลือกประมาณกว่า 20 ถัง ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในครอบครัวได้ทั้งปี ต่อมาได้มีชาวบ้าน และชาวต่างชาติรู้ข่าวจึงได้มาดู และขอดูถ่ายรูปเป็นจำนวนมาก และได้เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการทำการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนนักศึกษาและผู้ที่สนใจอีกด้วย
ชุมพร
จัดเป็นสถานีจุดเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เช่น ๑.๑. สถานีการให้บริการเชื้อพันธุ์กล้วยไม้ และห้องเพาะเมล็ดกล้วยไม้ ๑.๒. สถานีการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สายพันธุ์ต่างๆ และการเพิ่มมูลค่ากล้วยไม้ ๑.๓. สถานีการปลูกและขยายพันธุ์ไม้ประดับ ๑.๔. การผลิตเชื้อชีวินทรีย์ (ไตรโครเดอร์ม่า บิวเวอร์เรีย บีที) , การทำปุ๋ยหมักไม่กลับกองสูตรแม่โจ้ ๑.๕. สถานีการเลี้ยงไส้เดือน จิ้งหรีด และชันโรง ๑.๖. สถานีการปลูกผักไร้ดิน และผักลอยฟ้า ๑.๗. สถานีการเพาะเห็ดแบบต่างๆ ๑.๘. สถานีการเพาะต้นอ่อนพืช และการแปรรูปอาหารจากเห็ด ๑.๙. สถานีการขยายพันธุ์ไม้ผลแบบต่างๆ ๑.๑๐. สถานีเกษตรผสมผสานตามหลักปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียง (สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม)
สมุทรสาคร
สวนจะติดกับคลองชลประทาน ซึ่งจะมีลมพัดเย็นตลอดเวลา ภายในสวนบรรยากาศร่มรื่น มีการจัดเส้นทางเดินชมสวน และมีซุ้มสำหรับให้นักท่องเที่ยวได้นั่งพักผ่อน รับประทานผลไม้ในสวนนานาชนิด โดยเอกลักษณ์ที่สำคัญของสวนผู้ใหญ่สมควรคือ ต้นมังคุด 100 ปี จะมีขนาดลำต้นที่ใหญ่ สูง และมีลักษณะเป็นพุ่มสวยงาม ซึ่งลักษณะเด่นของมังคุด 100 ปี คือ จะมีเปลือกบาง หวานอร่อยกว่ามังคุดทั่วไป โดยลูกจะมีขนาดไม่ใหญ่มากนักและผิวพรรณจะไม่นวลเนียนเท่าที่ควร แต่มีรสชาติอร่อย
ระยอง
ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ถือเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการ ฟื้นฟูป่าชายเลนจากนากุ้งร้างเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เดิมทีเป็นนากุ้งที่ได้รับสัมปทาน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองเก่า – คลองคอย ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมาที่ปราณบุรี กรมป่าไม้ได้สนองพระราชดำริด้วยการยกเลิกสัมปทานนากุ้ง แล้วรวมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ พัฒนาป่าไม้ปากน้ำปราณบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมเร่งฟื้นฟูป่าชายเลนและกำหนด ให้เป็นพื้นที่เป้าหมายในการปลูกป่าและพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนในเวลาต่อมา
ประจวบคีรีขันธ์
โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ ตั้งอยู่ที่อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร มีประวัติเล่าสืบกันมาว่าในปี ค.ศ.1908 มีผู้หนีตายอพยพจากที่ต่าง ๆ กัน เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้รวม 5 ครอบครัว ซึ่งหนีมาด้วยสาเหตุเดียวกัน คือ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงรุมทำร้ายและขับไล่ เป็นโบสถ์หลังที่ 4 วางแผนก่อสร้างปี ค.ศ. 1936 ชาวบ้านพากันรวบรวมไม้ ลงมือสร้างปี ค.ศ. 1947 ตัวโบสถ์รูปทรงที่สร้างขึ้นมีลักษณะแบบศิลปะไทย กว้าง 16 เมตร ยาว 57 เมตร จัดเป็นโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย ใช้แผ่นไม้เป็นแป้นมุง หลังคา 80,000 แผ่น ใช้เสาขนาดต่างๆกันถึง 360 ต้น ส่วนใหญ่เป็นเสาไม้เต็ง เสาในแถวกลางมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดมี 260 ต้น สูงจากพื้นดินกว่า 10 เมตร พื้นแผ่นกระดานเป็นไม้แดงและไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ม้านั่งไม้จุคนได้กว่าพันคน ระฆังโบสถ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 ฟุต อยู่ในหอระฆังสูงที่สร้างแบบหอระฆังตามวัดไทยทั่วไป แต่แปลกตรงที่แยกต่างหากจากโบสถ์ และเนื่องจากไม้ที่ได้รวบรวมมามีจำนวนมาก จึงได้นำไม้ที่เหลือมาสร้างโรงเรียนบ้านซ่งแย้พิทยา ข้อมูลและรูปภาพจากเว็บไซต์ : http://www.yasothon.go.th/web/file/menu4.html
ยโสธร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
สวนเมเปิล เป็นไร่ลำไยแบบพอเพียงที่เปิดให้เข้าชมปีละครั้ง พร้อมกับลิ้มรสลำไยหวาน ๆ แบบบุฟเฟ่ต์ กินไม่อั้น จัดไปในราคาไม่เกินร้อย และยังจะได้ชมสวนดอกไม้สวย ๆ บรรยากาศสุดโรแมนติก
กาญจนบุรี
เดิมชื่อ “สวนเกษตรศิริ” เป็นสวนยางพาราผสมสวนผลไม้มากว่า 40 ปีแล้ว มีพื้นที่ ประมาณ 2,000 ไร่ ภูมิประเทศเป็นหุบเขา มีลำธารน้ำไหลผ่าน 3 สาย อุดมสมบูรณ์ ตลอดปี ต่อมาได้ถูกพัฒนาพื้นที่บางส่วนให้เป็นพื้นที่จัดสรร และใช้ชื่อโครงการว่า โครงการ “THE PARK” ที่มีการตกแต่งภูมิสถาปัตย์อย่างสวยงาม และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน มีที่พัก ที่ทำกิจกรรม สวนผลไม้ แล้วยังมีร้านอาหารด้วยนะคะ กับกาแฟสด เครื่องดืม ขนม ของว่าง
ระยอง
สวนองุ่นแวงเดอร์เรย์ (Vin De Ray) เป็นสวนองุ่นที่คัดสรรพันธุ์องุ่นสำหรับการผลิตไวน์โดยเฉพาะ พิกัด : https://goo.gl/maps/TAiSBmBywwVD5ek86
สระบุรี
เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แหล่งเรียนรู้การลดต้นทุนการผลิตสูง จากการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีมาก ทำให้สุขภาพทรุดโทรม เกิดโรคภัยกับชีวิตมนุษย์ จึงปรับเปลี่ยนแนวคิดปรับปรุงคุณภาพผลผลิต และลดต้นทุนการผลิตโดยการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน
ชัยนาท