คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ตลาดวัฒนธรรมพรเพชร
ตลาดวัฒนธรรมพรเพชร ถนนมุกดาหาร - ดอนตาล ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร 49000
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 07:00 น. - 19:00 น.
• วันจันทร์
: 07:00 น. - 19:00 น.
• วันอังคาร
: 07:00 น. - 19:00 น.
• วันพุธ
: 07:00 น. - 19:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 07:00 น. - 19:00 น.
• วันศุกร์
: 07:00 น. - 19:00 น.
• วันเสาร์
: 07:00 น. - 19:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
ขอต้อนรับ ทุกท่านสู่ ตลาดวัฒนธรรมแห่งแรกของอีสาน ตลาดวัฒนธรรมพรเพชรเมืองมุกดาหาร นอกจากจะเป็นตลาดสดพื้นเมืองแล้ว ตลาดเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตร พืช ผัก ผลไม้ แหล่งอาหารป่าจากธรรมชาติ แหล่งทำมาหากินของชาวเมืองจังหวัดมุกดาหาร ทุกอำเภอทุกตำบล ทุกคุ้มบ้าน จะนำสินค้าที่หามาได้ ลงมาจำหน่ายที่ตลาดแห่งนี้เพื่อเลี้ยงชีพ มากกว่า 20 ปี ความพิเศษของตลาดพรเพชร นอกจากจะเป็นแหล่งค้าขายแล้ว ตลาดวัฒนธรรมพรเพชรมีความมุ่งหวังที่จะทำให้ชุมชนเล็กแห่งนี้ เป็นวิถีของชาวอีสาน ความมีคุณค่าของชาวอีสาน และการเข้าถึงความเป็นจริงของธรรมชาติของชาวอีสาน การช่วยเหลือเอื้อเฟื้อแบ่งปันเกื้อกูลกัน ซึ่งเป็นได้ในท่ามกลางการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่รุนแรง รวมถึงการร่วมกันพัฒนาชุมชนภายในตลาด เพื่อให้เข้าถึงความจริงของวิถีชีวิต และมีความสุขในการทำงานอย่างสร้างสรรค์ได้ในท่ามกลางสังคม"ยุคโลกาภิวัตน์"นั้นหมายถึง การเผยแพร่ของข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดนของโลกปัจจุบัน ไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใดจะสามารถรับรู้ สัมผัส หรือ รับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง

ดังนั้น ในยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นยุคที่มีพัฒนา และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี การสื่อสารและการคมนาคม โดยเหตุนี้เอง การพัฒนาชุมชนตลาดของเราให้สามารถ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ในสังคมปัจจุบัน คือการเกื้อกูล มีจิตใจที่เข้มแข็งและปัจจุบัน ตลาดสดของเรามีแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ต่อสังคม ร่วมอนุรักษ์การสืบทอดภูมิปัญญาไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมอีสานให้เหมาะสม มีความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่าชื่นชมมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบทอด เผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณีศิลปะและวัฒนธรรมชาวอีสาน มีความกตัญญูกตเวที มุ่งมั่นจะทำให้ชีวิตของตนเองให้ดีที่สุดเต็มศักยภาพ ไม่ประมาท ไม่หลงใหลต่อสิ่งภายนอกที่มาล่อเร้าชักจูง สามารถที่จะมีความสุขในวิถีชีวิต และใช้ปัญญานำพาชีวิตให้ถึงจุดหมาย ตลาดสดวัฒนธรรพรเพชร เปิดดำเนินการทุกวัน มีแผงค้ากว่า300แผงค้า วันพระหรือวันโกนเกษตรกร ผู้ค้าขายจะแต่งกายด้วยผ้าไทยพื้นเมือง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณณิศา ลือพาณิชย์กุล โทร 061-5454526
ที่มาข้อมูล
กรมการค้าภายใน
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: มีค่าใช้จ่าย
  - ต่างชาติ ผู้ใหญ่
:
  - ต่างชาติ เด็ก
:
  - ไทย ผู้ใหญ่
:
  - ไทย เด็ก
:
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
สวนมังคุดไทย (สวนคุณปัญญา) มีต้นมังคุดกว่า 300 ต้น และผลไม้อื่นๆ เช่น เงาะ ทุเรียน แก้วมังกร เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสามารถมาชิมบุฟเฟ่ต์ผลไม้ได้ท่านละ 150 บาท และมีบริการที่พักแบบโฮมสเตย์
ระยอง
...ชิมชา......ชาผักเชียงดาที่ผลิตภายในศูนย์ฯ ...ชมสวน...ชมแปลงเรียนรู้การเกษตรด้าน ไม้ดอก-ไม้ประดับ,ไม้ผล-ไม้ยืนต้น,เศรษฐกิจพอเพียง,พืชผักและสมุนไพร,แมลงเศรษฐกิจ,ฝายชะลอน้ำ,แปลงรวบรวมพันธุ์ไม้หายาก,จุดเช็คอินธรรมชาติ,เส้นทางเดินชมธรรมชาติ,ชมตาน้ำ,ดูนกท้องถิ่น...ฯลฯ ...ชวนช้อป...สินค้าผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรที่บริเวณจุดจำหน่ายด้านหน้าศูนย์ฯ โปรแกรมการท่องเที่ยว : ทริปเที่ยว ๑ วันภายในศูนย์ฯ ทริปเที่ยว ๒ วัน ๑ คืน..พร้อมท่องเที่ยวแหล่งอื่นๆที่ใกล้เคียง เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: '- บ้านไทลื้อบ้านลวงใต้ ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - วัดศรีมุงเมือง ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - วัดพระธาตุดอยสะเก็ด ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - หนองบัวพระเจ้าหลวง ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๕ กม. สะพานแขวนเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๑๐กม. - น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด ระยะทางจากศูนย์ฯ ๙ กม. - ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระยะทางจากศูนย์ฯประมาณ ๔ กม. - โครงการพระราชดำริฯศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรแปลงสาธิต๘๕ไร่ ระยะทางจากศูนย์ฯถึงประมาณ ๗ กม.
เชียงใหม่
ศูนย์การเรียนรู้ตามรอยพ่อหลวง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 ตำบลสรรพยา (ถนนเส้น ห้วยกรด - สรรพยา) ศูนย์การเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรผสมผสาน ขุดบ่อเลี้ยงปลา ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทั้งนี้ ยังรองรับคณะศึกษาดูงานจากหลายหน่วยงาน ประชาชน ตลอดจนผู้ที่สนใจ ติดต่อสอบถาม 081 886 2844 (นายกใหญ่) และ 082 399 0990 (แป้ง)
ชัยนาท
สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือที่ผ่านมา คือ การทดสอบพันธุ์ไม้ผลเมืองหนาวสำหรับปลูกในพื้นที่สูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้แก่ พันธุ์แอปเปิล พันธุ์ท้อสำหรับรับประทานสด และพันนอกจากนี้สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือยังได้มีความพยายามที่จะทำการรวบรวมและศึกษาพันธุ์องุ่นสำหรับทำไวน์ รวมทั้งองุ่นสำหรับรับประทานสด เพื่อพัฒนาพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดเลยทำการปลูกต่อไปอีกด้วย
เลย
จุดชมวิวเนินสวรรค์ เป็นบริเวรที่ตั้งสำนักงานและแปรรูปเหมืองตะกั่ว ที่ส่งไปขายยังต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันเหมืองแร่ดังกล่าวหมดสัมปทานไปแล้ว เป็นเวลากว่าสิบปี ปัจจุบันเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ได้ตั้งเป็นจุดตรวจสกัด และดูแลบริเวณสำนักงานเหมืองเก่า ที่ตั้งจุดตรวจนี้ เป็นพื้นที่สูงสามารถมองเห็นพื้นที่ด้านล่างได้สวยงาม หน้าหนาวจะมองเห็นเป็นทะเลหมอกในพื้นที่หมู่ที่ ๒ ทั้งหมู่บ้าน ช่วงกลางวันจะมองเห็นหมู่บ้านป่าไม้สะพานลาวที่สวยงาม รอบบริเวณจุดชมวิว สามารถเป็นที่กางเต็นท์ได้มากกว่า ๕๐ เต็นท์ ด้วยสภาพอากาศที่หนาวเย็น สามารถชมแสงเดือน แสงดาว ในยามค่ำคืนได้
กาญจนบุรี
สถานีวิจัยและฝึกอบรมที่สูง ใช้เป็นแปลงเพื่อศึกษาทดลองเกี่ยวกับพืช เป็นสถานที่ฝึกงานนักศึกษาทั้งในและนอกสถาบัน และ เป็นที่ศึกษาธรรมชาติ ให้แก่บุคคลผู้สนใจทั่วไป
เชียงใหม่
ชุมชนบ้านบัวเทิง ศูนย์แห่งการเรียนรู้วิถีชีวิตการดำรงชีวิตเพื่อความสุขอย่างพอเพียง การทำการเกษตรผสมผสาน เกษตรปลอดสารพิษ และแหล่งเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ ประโยชน์และการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพกับการเกษตร การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ภาคอีสานที่ร้อนและแห้งแล้ง
อุบลราชธานี
ศูนย์ฯนี้ มีเครื่องกลั่นสมุนไพรไล่แมลง อาทิ ตะไคร้หอม บระเพ็ด เพื่อนำไปฉีดในไร่และสวนผัก อีกเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องอบพลีงงานแสงอาทิตย์ สนับสนุนโดยกระทรวงพลังานได้มามอบให้เพื่อใช้อบชาดาวเรือง สรรพคุณคือบำรุงสายตา ลดความดัน ซึ่
ระยอง
นักท่องเที่ยวท่านใดที่เดินทางมาที่สวนลำดวน ถ้าได้มาแล้วไม่มีคำว่าผิดหวังแน่นอน กับการได้รับประทานบุฟเฟ่ต์ผลไม้ ทั้ง เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง สามารถทานได้ไม่อั้น จนกว่าลูกค้าจะพอใจ ที่สำคัญไปกว่านั้นทุเรียน เราสามารถเลือกทานได้ ตามใจเรา เพราะมีค่อนข้าง หลากหลายพันธุ์ เจ้าของสวนบริการดี มีมนุษย์สัมพันธ์กับลูกค้าแบบเป็นกันเอง
ระยอง
จัดเป็นสถานีจุดเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เช่น ๑.๑. สถานีการให้บริการเชื้อพันธุ์กล้วยไม้ และห้องเพาะเมล็ดกล้วยไม้ ๑.๒. สถานีการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สายพันธุ์ต่างๆ และการเพิ่มมูลค่ากล้วยไม้ ๑.๓. สถานีการปลูกและขยายพันธุ์ไม้ประดับ ๑.๔. การผลิตเชื้อชีวินทรีย์ (ไตรโครเดอร์ม่า บิวเวอร์เรีย บีที) , การทำปุ๋ยหมักไม่กลับกองสูตรแม่โจ้ ๑.๕. สถานีการเลี้ยงไส้เดือน จิ้งหรีด และชันโรง ๑.๖. สถานีการปลูกผักไร้ดิน และผักลอยฟ้า ๑.๗. สถานีการเพาะเห็ดแบบต่างๆ ๑.๘. สถานีการเพาะต้นอ่อนพืช และการแปรรูปอาหารจากเห็ด ๑.๙. สถานีการขยายพันธุ์ไม้ผลแบบต่างๆ ๑.๑๐. สถานีเกษตรผสมผสานตามหลักปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียง (สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม)
สมุทรสาคร
ชมผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านดงน้อย สัมผัสวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวนครจำปาศรี ณ ชุมชนบ้านดงน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม มาเลือกชมและซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากผ้าทอมือ กระเป๋าแปรรูป ผ้าตุ๊กตาของที่ระลึกจากไม้ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ที่ร้านค้าชุมชนบ้านดงน้อย และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ตั้งอยู่ใกล้ๆ หมู่บ้าน นั่นคือ พระบรมธาตุนาดูน ที่เปรียบเสมือนพุทธมณฑลแห่งอีสานแห่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่งที่มีประวัติอันยาวนานของเมืองนครจัมปาศรีค่า ที่ตั้ง : บ้านดงน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
มหาสารคาม
ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ถือเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการ ฟื้นฟูป่าชายเลนจากนากุ้งร้างเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เดิมทีเป็นนากุ้งที่ได้รับสัมปทาน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองเก่า – คลองคอย ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมาที่ปราณบุรี กรมป่าไม้ได้สนองพระราชดำริด้วยการยกเลิกสัมปทานนากุ้ง แล้วรวมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ พัฒนาป่าไม้ปากน้ำปราณบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมเร่งฟื้นฟูป่าชายเลนและกำหนด ให้เป็นพื้นที่เป้าหมายในการปลูกป่าและพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนในเวลาต่อมา
ประจวบคีรีขันธ์