คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ตลาดถนนคนเดินผูกปิ่นโตข้าวอำนาจเจริญ
ตลาดถนนคนเดินผูกปิ่นโตข้าวอำนาจเจริญ ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ 37000
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
อยู่ในเวลาปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันพุธ
: 16:00 น. - 20:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
เริ่มจากเครือข่ายวิสาหกิจข้าวสัจธรรมอำนาจเจริญรวมตัวกันโดยกลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็ง เมื่อผลิตข้าวอินทรีย์ได้แล้ว ที่ดิน ที่นา กลายเป็นต้นทุนสะอาดที่สำคัญ พืชผลทางการเกษตรอื่นๆ จึงเป็นผลผลิตอินทรีย์ ปลูกได้แล้วต้องมีสถานที่จำหน่ายที่เหมาะสมได้ราคาเป็นธรรม อีกทั้งชาวอำนาจเจริญควรได้บริโภคสินค้าที่ปลอดภัย เสมือนวัคซีนป้องกันโรค สำนักงานพาณิชย์จังหวัดอำนาจเจริญจึงร่วมกับเทศบาลเมืองอำนาจเจริญและกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์รวมถึงกลุ่มข้าวสัจธรรม เปิด "ตลาดนัดสีเขียว" ณ บริเวณหอนาฬิกา ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2556 เป็นต้นมา เกษตรกรที่จะนำสินค้ามาจำหน่ายต้องได้รับรองพื้นที่อินทรีย์จากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) และมาตรฐานอื่นๆ ตลาดเขียวได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีเกษตรกรสมาชิก 20 ราย ต่อมาเดือนตุลาคม 2557 หน่วยงานกระทรวงเกษตรโดย ได้บูรณาการจัด "ตลาดนัดเกษตรกร" ให้เกษตรกรที่ผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย หรือ GAP มีสถานที่จำหน่ายพืชผลของตนเอง มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก เพื่อสร้างรายได้ ปัจจุบันมีเกษตรกรสมาชิก 10 ราย

ต่อมาเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2559 จังหวัดอำนาจเจริญ ก่อตั้งโครงการผูกปิ่นโตข้าวอำนาจเจริญ เพราะเราเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์มีความเข้มแข็ง จากดำริของผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ "ข้าวของชาวนาอำนาจเจริญ ต้องมีเจ้าของ อยากซื้อต้องสั่งจอง" โครงการจึงเกิดขึ้นโดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวนาจะเป็นผู้กำหนดราคาผลผลิตของตนเอง ลดการพึ่งพาภาครัฐ พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน สอดคล้องเพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ "เมืองธรรมเกษตร เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง เส้นทางการค้าสู่สากล" โครงการนี้ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ได้แก่ เจ้าบ่าว คือ ชาวนา ที่ปลูกข้าวแบบอินทรีย์อยู่แล้ว หรือกำลังจะเลิกเคมี หันมาปลูกด้วยระบบอินทรีย์ เจ้าสาว คือ คนเมือง ที่อยากกินข้าวปลอดภัย และอยากสนับสนุนชาวนาไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน แม่สื่อ คือ ผู้มีจิตอาสา ที่พา เจ้าบ่าว มารู้จักกับ เจ้าสาว และผูกสัมพันธ์กัน ตกลงใจผูกปิ่นโตกันจำนวน 3, 6, 12 เดือน และติดตามดูแลเจ้าบ่าวและเจ้าสาวอย่างใกล้ชิด ภาพสุดท้ายในใจโครงการ "ผู้คนรู้จักอำนาจเจริญในฐานะเมืองที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติและความสุข"

เชื่อมต่อโครงการผูกปิ่นโตข้าวอำนาจเจริญ สู่ "ถนนคนเดินผูกปิ่นโตข้าวอำนาจเจริญ" เพื่อตอกย้ำ เสริมสร้างภาพลักษณ์ ตลอดถึงสร้างการจดจำ และรับรู้ร่วมกันของชาวอำนาจเจริญ ถนนคนเดินแห่งนี้ จึงเริ่มขึ้นภายใต้แนวคิด "ผูกปิ่นโตข้าว ผูกปิ่นโตใจ วัฒนธรรมล้ำค่า หอนาฬิกามีชีวิต" เป้าหมายให้สถานที่แห่งนี้เป็น LAND MARK แหล่งรวมกิจกรรมของทุกเพศวัย ของชาวอำนาจเจริญ รวมถึง ส่งเสริมเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในอนาคต ถนนคนเดินผูกปิ่นโตข้าวอำนาจเจริญ เริ่มเปิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2559 ภาครัฐ โดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดอำนาจเจริญร่วมกับเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จัดนำร่อง 5 ครั้ง ผู้ประกอบการเข้าร่วมครั้งละ 50 ราย ครั้งที่ 6 เป็นต้นไป (25 พ.ค. 59) ได้ถ่ายโอนให้คณะกรรมการบริหารกิจกรรมบริเวณหอนาฬิกา หรือ ชุมชน บริหาร ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดอำนาจเจริญร่วมกับเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ และเพื่อความยั่งยืน วันที่ 22 มิถุนายน 2559 ได้มีการลงนามความร่วมมือสนับสนุนการจัดกิจกรรมบริเวณหอนาฬิกาเทศบาลเมืองอำนาจเจริญโดย 4 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ท้องถิ่น องค์การเอกชน และชุมชน รวม 14 องค์กร

ปัจจุบันถนนคนเดินฯ จัดมาแล้ว 15 ครั้ง มีผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นจาก 80 รายเป็น 150 ราย มีรายได้หมุนเวียนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ละ 20,000 บาท เป็น 150,000 บาท ความสำเร็จของการจัดกิจกรรม เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หอการค้าจังหวัด ทำหน้าที่ประสานชมรมต่างๆ นำกิจกรรมมาสนับสนุน เช่น ชมรมจักรยาน จัดกิจกรรม "ปั่นชมเมือง" เริ่มต้นและสิ้นสุดที่หอนาฬิกา นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2559 เป็นต้นมา ผู้ประกอบการทุกร้านค้าพร้อมใจกันจัดแคมเปญ "ปั่น ปัน ฮัก" ปั่นมาช้อป ลดทุกร้านค้า 5-50% เพื่อส่งเสริมการขายและแก้ปัญหาที่จอดรถ เกิดความมีเสน่ห์ เอื้อเฟื้อแบ่งปัน สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนอย่างยั่งยืน
ที่มาข้อมูล
กรมการค้าภายใน
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: มีค่าใช้จ่าย
  - ต่างชาติ ผู้ใหญ่
:
  - ต่างชาติ เด็ก
:
  - ไทย ผู้ใหญ่
:
  - ไทย เด็ก
:
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
ชุมชนบ้านบัวเทิง ศูนย์แห่งการเรียนรู้วิถีชีวิตการดำรงชีวิตเพื่อความสุขอย่างพอเพียง การทำการเกษตรผสมผสาน เกษตรปลอดสารพิษ และแหล่งเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ ประโยชน์และการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพกับการเกษตร การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ภาคอีสานที่ร้อนและแห้งแล้ง
อุบลราชธานี
เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบครบวงจร ภายในฟาร์มมีบริการสอนขี่ม้าเที่ยวชมธรรมชาติ ล่องแม่น้ำ อาหาร กาแฟ และที่พักใกล้ชิดธรรมชาติ
กาญจนบุรี
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี (ศูนย์ผึ้งจันทบุรี) เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ผึ้งชันโรง จิ้งหรีด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้งและผึ้งชันโรง จุดเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดในขอนไม้ั การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษในภาชนะ การปักชำมะนาวแบบควบแน่น เที่ยวได้ทุกวันที่จันทบุรี การเลี้ยงผึ้ง Bee Keeping
จันทบุรี
บ้านสวนอคิราห์ เกษตรตามรอยพ่อ ได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริอำเภอปาย ซึ่งเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมบาถบพิตร และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อไปสู่ประชาชนในพื้นที่เพื่อให้ประชาชนนำแนวคิดและหลักปฏิบัติไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านต่างๆ ดังนี้ 1. ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอำเภอปาย 2. ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 3. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 4. ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ด้านไร่นาสวนผสม ด้านปศุสัตว์ ด้านประมง 5. แปลงต้นแบบการผลิตพืชอินทรีย์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน 6. แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตามโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 7. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ประจำตำบลแม่ฮี้ 8. ศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา โมเดล บ้านสวนอคิราห์
แม่ฮ่องสอน
เป็นฟาร์มเกษตรแบบผสมผสาน มีการวางแผนและจัดระบบฟาร์มที่ดี การผลิตและใช้สารสกัดชีวภาพเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืช นอกจากนั้นยังมีการขยายพันธุ์ไม้ผลและเป็ดเทศอีกด้วย ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการศึกษาดูงาน
กำแพงเพชร
ดงเมืองเตยเป็นเมืองเก่าสมัยขอมจะเป็นเมืองร้างมาแล้วนานเท่าไรไม่ทราบได้ สภาพที่เห็นมาจากปู่ย่าตาทวดหลายชั่วอายุคน ดงเมืองเตยมีป่าไม้ขึ้นสูงข้างล่างโปร่ง มีหมู่ไม้เล็กๆ ขึ้นบ้าง ต้นไม้ใหญ่ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะแบก ไม้ยางเหียง เป็นป่าหนาแน่นมาก พวกพ่อแม่ปู่ย่าตายายไม่กล้าตัดต้นไม้ในดงนี้ เพราะดงเมืองเตยมีผีดุเรียกว่า ผีปู่ตา ป่าไม้จึงเป็นที่อาศัยของลิง และนกหลายจำพวก บึงรอบบริเวณดงเมืองเตยเป็นหนองน้ำขนาดลึกมีน้ำขังตลอดปี เป็นที่อาศัยและเป็นที่เพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ นอกจากนกจำพวกต่างๆ แล้วบึงนี้ได้ชื่อว่ามีเต่ามากที่สุด เหตุที่มีเต่ามากเช่นนี้ชาวบ้านนับถือผีปู่ตา ปู่ตาห้ามจับกินทำลายสัตว์พาหนะของท่าน คือ ลิงและเต่า ถ้าเกิดทำอันตรายขึ้นมา จะต้องมีอันเป็นไป” “ต่อมาเมื่อประมาณ 90 ปีมาแล้ว ชาวบ้านสงเปือยมีหมอร่ำเรียนวิชาอาคมมาทำพิธีปราบผีดงเมืองเตยได้ หมอผู้มีวิชาอาคมผู้นี้ชื่อ ผู้ใหญ่สุวอ เหตุการณ์นี้ตรงกับสมัยพ่อใหญ่อัครฮาด เป็นตาแสง เมื่อชาวบ้านใกล้ไกลได้ยินข่าวพ่อใหญ่สุวอข่มผีดงเมืองเตยได้แล้ว ก็พากันหลั่งไหลมาจับเต่าปลาดงเมืองเตยไปเป็นอาหารจนเกือบเกลี้ยงบึง เต่าจึงเกือบสูญพันธุ์มาจนบัดนี้ พ่อใหญ่สุวอได้แบ่งปันที่บึงออกเป็นที่นาให้พี่น้องญาติมิตรทำนามาจนทุกวันนี้ ส่วนบริเวณดงเมืองเตยได้แบ่งบันทำไร่ สวน ปลูกพืชทำกินมาเท่าทุกวันนี้ อันนี้เป็นเรื่องจริง ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุครบ 90 ปี เช่น พ่อใหญ่อ่อน หอมกลิ่น พ่อใหญ่บู กกเปือย ยังมีชีวิตเป็นพยานอยู่
ยโสธร
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมคุณภาพไม้ผลตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยมีการเชื่อมโยงกับกลุ่มท่องเที่ยวภายในอำเภอพะโต๊ะ มีกิจกรรม ล่องแพ ชมสวน ชิมผลไม้ เดินป่า เที่ยวน้ำตก ชิมอาหารพื้นบ้าน เช่น แกงส้มหยวกกล้วยป่ากับหมูสามชั้น, ใบเหลียงผัดไข่, ข้าวในกระบอกไม้ไผ่ ชิมกาแฟโบราณ
ชุมพร
โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ ตั้งอยู่ที่อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร มีประวัติเล่าสืบกันมาว่าในปี ค.ศ.1908 มีผู้หนีตายอพยพจากที่ต่าง ๆ กัน เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้รวม 5 ครอบครัว ซึ่งหนีมาด้วยสาเหตุเดียวกัน คือ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงรุมทำร้ายและขับไล่ เป็นโบสถ์หลังที่ 4 วางแผนก่อสร้างปี ค.ศ. 1936 ชาวบ้านพากันรวบรวมไม้ ลงมือสร้างปี ค.ศ. 1947 ตัวโบสถ์รูปทรงที่สร้างขึ้นมีลักษณะแบบศิลปะไทย กว้าง 16 เมตร ยาว 57 เมตร จัดเป็นโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย ใช้แผ่นไม้เป็นแป้นมุง หลังคา 80,000 แผ่น ใช้เสาขนาดต่างๆกันถึง 360 ต้น ส่วนใหญ่เป็นเสาไม้เต็ง เสาในแถวกลางมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดมี 260 ต้น สูงจากพื้นดินกว่า 10 เมตร พื้นแผ่นกระดานเป็นไม้แดงและไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ม้านั่งไม้จุคนได้กว่าพันคน ระฆังโบสถ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 ฟุต อยู่ในหอระฆังสูงที่สร้างแบบหอระฆังตามวัดไทยทั่วไป แต่แปลกตรงที่แยกต่างหากจากโบสถ์ และเนื่องจากไม้ที่ได้รวบรวมมามีจำนวนมาก จึงได้นำไม้ที่เหลือมาสร้างโรงเรียนบ้านซ่งแย้พิทยา ข้อมูลและรูปภาพจากเว็บไซต์ : http://www.yasothon.go.th/web/file/menu4.html
ยโสธร
พบกับร้าน WISDOM CAFÉ แวะจิบกาแฟ ชิลล์ ชิลล์ เพิ่มความสดชื่นท่ามกลางบรรยากาศท้องทุ่ง แชะ แชร์ ถ่ายภาพกับมุมโปรดสุดประทับใจบนสะพานไม้ไผ่ ชมความน่ารักของสัตว์ในวิถีเกษตร สัมผัสเสน่ห์ของวิถีเกษตรไทย สะท้อนวิถีชีวิต ความเชื่อ และประเพณี กับโซนบ้านเรือนไทย 4 ภาค ตื่นตา ตื่นใจ ชมเรือขุด รข.1 เรือขุดในสมัยรัชกาลที่ 5
ปทุมธานี
พระธาตุกู่จาน ตั้งอยู่ภายในวัดบ้านกู่จานเป็นปูชนียสถานสำคัญ ประชาชนชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียงต่างสักการะบูชา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมรูปทรงคล้ายพระธาตุพนมแต่มีขนาดเล็กกว่า ส่วนของฐานล่างรูปบัวคว่ำบัวหงายเตี้ยๆ รองรับฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมเรียบต่อด้วยทรงบัวเหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยลวดลายประณีตสวยงามตามโบราณ และยอดพระธาตุทรงเหลี่ยมรองรับฉัตรซึ่งเป็นยอดบนสุด จากหลักฐานน่าจะสร้างขึ้นตามคตินิยมในการสร้างพระธาตุทั่วไป คือ เพื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ละปีจะมีการจัดพิธีสรงน้ำเพื่อรักษาประเพณีที่ดีงามเอาไว้ ลักษณะทางสถาปัตยกรรม องค์พระธาตุกู่จาน กว้าง 5.10 เมตร สูง 15 เมตร ที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่บ้านงิ้ว กลางลานวัดกู่จาน ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งดูลักษณะแล้วคล้ายคลึงกับองค์พระธาตุพนม ต่างกันเพียงขนาดซึ่งพระธาตุกู่จานมี ขนาดเล็กกว่า ความสำคัญต่อชุมชน : เป็นที่สักการะของชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียง ทุกๆ ปี ชาวตำบลกู่จานจะนำน้ำอบ น้ำหอมไป ทำพิธีสรงน้ำพระธาตุในช่วงเช้าของวัน เพ็ญ เดือน 6 ตอนบ่ายจะไปทำพิธีสรงน้ำ "กู่" หลังจากนั้นจะพากันไปที่หนองสระพัง เพื่อนำน้ำที่หนองสระพังมาทำพิธี สรงน้ำพระธาตุและใบเสมา ซึ่งพิธีกรรมดังกล่าวนี้ ต้องกระทำเป็นประจำทุกปี มีความเชื่อว่าหากไม่ทำพิธีดังกล่าวแล้วจะทำให้ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านกู่จานจึงได้ถือปฏิบัติพิธีนี้เป็นประจำ
ยโสธร
กลุ่มเลี้ยงผึ้งบ้านปากแพรก ตั้งอยูตำบลละหาร อำเภอปลวกแดง มีผลิตภัณฑ์แปรรูป/ของฝาก และยังสามารถศึกษาการเลี้ยงผึ้ง สำหรับคนที่สนใจการเลี้ยงผึ้ง
ระยอง
อาณาจักรสวนดอกไม้แห่งวังน้ำเขียว ‘ฟลอร่า พาร์ค’ อาณาจักรทุ่งดอกไม้นานาชนิดแห่งอำเภอวังน้ำเขียว ที่มีพื้นที่กว้างสุดลูกหูลูกตา ภายในมีดอกไม้เมืองหนาวสวยๆ ยังมีโซนโรส พาร์ค ที่เป็นสวนสวยเต็มไปด้วยดอกกุหลาบหลากสายพันธุ์ โดยจะได้พบกับสวนดอกไม้นานาพันธุ์ อุโมงค์ดอกไม้ กำแพงดอกไม้ และราชินีแห่งดอกไม้งาม รวมไปถึงพันธุ์ดอกไม้หายากที่สามารถเพาะพันธุ์ได้เฉพาะที่วังน้ำเขียวเท่านั้น
นครราชสีมา