คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ตลาดน้ำ 4 ภาค (พัทยา)
45/304 หมู่12 ถนนสุขุมวิท-พัทยา ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20140
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 20:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 20:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 20:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 20:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 20:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 20:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 20:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
ตลาดน้ำ 4 ภาค พัทยา (Pattaya Floating Market) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมและเป็นศูนย์รวมของ กิจกรรม ความหลากหลายเกี่ยวกับ การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ตลาดน้ำ 4 ภาค รวบรวม ของดี 4 ภาค มาไว้ที่นี่ ผสมผสาน กันอย่างลงตัว เสน่ห์ แห่งใหม่ในเมืองพัทยา แหล่ง รวม สินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน และแหล่งท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม มารวมไว้จุดเดียวกัน รวมถึงการเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีเสน่ห์ที่น่าหลงใหลใน 4 ภาค ของประเทศไทย ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และ ภาคใต้

ณ ที่นี่ ตลาดน้ำ 4 ภาค นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติจะได้เพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพอันงดงาม นั่งเรือพายชมวิถีชีวิตริม 2 ฝั่งน้ำ ตระการตากับร้านค้าเรือนไทยไม้สักทั้งหลังที่สร้างสรรค์ขึ้นตามเอกลักษณ์ของเรือนไทยภาคต่างๆ พร้อมลานกิจกรรมการแสดงทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น
ที่มาข้อมูล
กรมการค้าภายใน
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: มีค่าใช้จ่าย
  - ต่างชาติ ผู้ใหญ่
:
  - ต่างชาติ เด็ก
:
  - ไทย ผู้ใหญ่
:
  - ไทย เด็ก
:
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
นาข้าวขั้นบันได โครงการปิดทองหลังพระ ตั้งอยู่ใน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริจัง ซึ่งจังหวัดน่าน เป็นจังหวัดนำร่องสืบสานแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยแนวทาง ของโครงการ ก็คือ เริ่มต้นด้วยการลดการใช้พื้นที่ป่า แสวงหาวิธีปลูกข้าวแบบใหม่ โดยนำวิธีการทำนาขั้นบันไดบนพื้นที่ ภูเขา แทนข้าวไร่ เพื่อแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน โดยเน้นให้ชาวบ้านคิดเอง แต่ภาครัฐจะเข้าไปให้ความรู้เพื่อหาต้นแบบที่เหมาะสม ในการแก้ปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่าใน พื้นที่ป่าต้นน้ำ โครงการที่นี้ไม่ใช่แค่ขุดนาขั้นบันไดอย่างเดียว ยังรวมไปถึง การสร้างบ่อกักเก็บน้ำ ฝาย การปลูกถั่วเหลือง รวมไปถึงการเลี้ยงสัตว์ด้วย
น่าน
วิสากิจชุมชนผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ นโยบายที่จะพัฒนาวิสาหกิจชุมชนฯก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาตาม ข้อบังคับ ระเบียบ กฎหมาย วิสาหกิจชุมชนฯ ประกาศของนายทะเบียน โดยจะคำนึงถึงสมาชิก และวิสาหกิจชุมชนฯเป็นหลัก ด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ▪ พัฒนาคุณภาพ เกษตรกร พนักงาน กรรมการ และสมาชิก สู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ▪ สร้างความเข้มแข็งของหมู่มวลสมาชิก ฝ่ายบริหารให้มีรากฐานที่มั่นคง ▪ พัฒนาองค์กรให้ดูสวยงาม มีสง่า สะดวกสบายแก่สมาชิกที่มารับบริการ ▪ ปรับโครงสร้างการบริหารภายในให้สมดุลและยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้าง ▪ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของฝ่ายจัดการ และการให้บริการแก่มวลสมาชิกโดยการบริหารจัดการที่ดี การสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีด้วย ▪ เสริมสร้างหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนฯสร้างความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายอย่างยั่งยืน ด้านการบริการสมาชิก • พัฒนาระบบโซเชียลมีเดีย และสื่อสังคมออนไลน์ ด้านการประชาสัมพันธ์ การตลาดและการขาย • พัฒนาข้อมูลสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ และสื่อถึงสมาชิกอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง • เพิ่มพูนทักษะให้เจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยความยิ้มแย้ม แจ่มใส สะดวก รวดเร็ว ประทับใจ พัฒนาระบบสวัสดิการให้แก่สมาชิกอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง • จัดทำประกันชีวิตกลุ่มสำหรับสมาชิกที่เป็นหนี้และไม่เป็นหนี้แต่สมัคร • เพื่อสร้างหลักประกันให้แก่สมาชิกและครอบครัว • ดำเนินการสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อให้เป็นสวัสดิการสมาชิก
ชัยภูมิ
วังน้ำเขียว ขับผ่านแล้วเจอน้องไวโอเล็ต สีม่วงน่าถ่ายรูปมาก ไร่สตรอเบอรี่ฟ้าใส แต่ไม่ได้สนใจสตรอเบอรี่เลย แต่ถ้าสนใจเขามีให้เก็บจากต้นสดๆ
นครราชสีมา
ไร่สุขถวิล อินทผลัมเมืองช้าง จังหวัดสุรินทร์ 164 หมู่ 5 ตำบล หนองระฆัง อำเภอ สนม จังหวัด สุรินทร์ 32160
สุรินทร์
1 ฐานเรียนรู้ด้านการเกษตร ศพก.บ้านนาน้ำซำ จำนวน 10 ฐาน ดังนี้ 1) ฐานเรียนรู้การผลิตสารชีวภัณฑ์ (ไตรโคเดอร์มา, บิวเวอร์เรีย, BT, จุลินทรีย์ป่า , ไส้เดือนฝอย) 2) ฐานเรียนรู้การเผาถ่าน/กลั่นน้ำส้มควันไม้ 3) ฐานการเลี้ยงไก่ไข่พื้นเมือง 4) ฐานการเพาะเห็ด 5) ฐานการปลูกหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์ 6) ฐานการเลี้ยงปลาน้ำจืด 7) ฐานการทำปุ๋ยหมักไม่กลับกอง 8) ฐานการกลั่นสมุนไพร 2 ศึกษาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 1) ถ้ำผาน้ำทิพย์ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์จากธรรมชาติ 2) ถ้ำค้างคาว พบกับความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติของค้างคาวนับล้านตัว 3) ถ้ำชมพู 4) วัดเขาสามยอด 5) น้ำตกตาดฟ้า 6) น้ำผุดตาดเต่า 7) ถ้ำภูตาหลอ 8) จุดชมวิวดงสะคร่าน 9) โครงการพัฒนาป่าดงลาน 3 แหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร 1) การปลูกหน่อไม้ฝรั่ง 2) การปลูกและการขยายพันธุ์ฝรั่ง 3) สวนลำไยสร้างรายได้ 4) การเพาะเห็ดเสริมรายได้ โปรแกรมการท่องเที่ยว โปรแกรม 2 วัน 1 คืน เรียนรู้ด้านการเกษตรที่ ศพก.  1-2 ฐาน > รับประทานอาหารกลางวัน > ชมถ้ำผาน้ำทิพย์ > ชมค้างคาว > รับประทานอาหารเย็น > พักผ่อนบ้านพักโฮมสเตย์/ภูผาม่านแคมป์ > แปลงหน่อไม้ฝรั่ง> สวนกล้วยหอมทอง > วัดเขาสามยอด > รับประทานอาหารกลางวัน > เดินทางกลับ หมายเหตุ  – โปรแกรมการท่องเที่ยวและค่าบริการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม - อาหารว่าง 3 มื้อ โปรแกรม 1 วัน เรียนรู้ด้านการเกษตรที่ ศพก.  1-2 ฐาน > รับประทานอาหารกลางวัน > ชมถ้ำผาน้ำทิพย์ > ชมค้างคาว > เดินทางกลับ หมายเหตุ  – โปรแกรมการท่องเที่ยวและค่าบริการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม - อาหารว่าง 2 มื้อ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) 1) ถ้ำผาน้ำทิพย์ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์จากธรรมชาติ ระยะทาง 3 กม. 2) ถ้ำค้างคาว  ระยะทาง 6 กม. 3) ถ้ำชมพู ระยะทาง 4 กม. 4) วัดเขาสามยอด ระยะทาง 6 กม. 5) น้ำตกตาดฟ้า ระยะทาง 18 กม. 6) น้ำผุดตาดเต่า ระยะทาง 12 กม. 7) ถ้ำภูตาหลอ ระยะทาง 16 กม. 8) จุดชมวิวดงสะคร่าน ระยะทาง 18 กม. 9) โครงการพัฒนาป่าดงลาน ระยะทาง 22 กม. สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน 1 ร้านค้าชุมชนบ้านเซินใต้ หมู่ 3  บ้านเซินใต้ ตำบลโนนคอม จำหน่ายเสื้อผ้าพื้นเมืองภูผาม่าน 2 ร้านค้าชุมชนบ้านโนนคอม หมู่ 1 บ้านโนนคอม ตำบลโนนคอม จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของฝาก
ขอนแก่น
กลุ่มโคขุนหนองแหน แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านปศุสัตว์แห่งใหม่ของจังหวัดยโสธร พร้อมเปิดฟาร์มต้อนรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสัมผัสกับวิถีความเป็นอยู่ของชุมชนคนเลี้ยงโคขุนคุณภาพที่ประสบความสำเร็จในระดับประเทศ โชว์ความแสนรู้ของโคที่เลี้ยงเสมือนหนึ่งสัตว์เลี้ยงแสนรัก พร้อมทั้งให้ความรู้ในเรื่องของการรวมกลุ่มและการเลี้ยงโคขุนสร้างรายได้ นักท่องเที่ยวสามารถไปเช้าเย็นกลับหรือพักค้างคืนได้ในรูปแบบของโฮมสเตย์ อีกทั้งมีเนื้อโคขุนจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวที่สนใจนำไปประกอบอาหารกันที่บ้านได้ในราคาย่อมเยา
ยโสธร
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นหน่วยงานของกรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ให้บริการความรู้ และฝึกอาชีพด้านการเกษตรแก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและแหล่งศึกษาดูงานด้านการเลี้ยงและแมลงเศรษฐกิจ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้งและชันโรง และการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีจุดเรียนรู้ต่างๆ ภายในศูนย์ ดังนี้ - จุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ - จุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรง - จุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งชันโรง - จุดเรียนรู้การเลี้ยงจิ้งหรีด - จุดเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้ง และผึ้งชันโรง - จุดเรียนรู้การเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง (การปลูกพืชผักในภาชนะ การเพาะเห็ดนาฟ้า ) โปรแกรมการท่องเที่ยว สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) - ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี (ทุ่งเพล) ระยะทาง 21 กม. - ศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริจังหวัด จันทบุรี ระยะทาง 24 กม. - สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 จันทบุรี ระยะทาง 25 กม. - ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระยะทาง 48 กม. - ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านปัถวี ระยะทาง 5 กม. สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน - น้ำผึ้ง - น้ำผึ้งชันโรง - ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผึ้งและผึ้งชันโรง (สบู่น้ำผึ้ง แชมพูน้ำผึ้งสมุนไพร ไขผึ้งสมุนไพร ลิบบาล์มไขผึ้ง โลชั่นโปรโปลิส ครีมนมผึ้ง)
จันทบุรี
สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือที่ผ่านมา คือ การทดสอบพันธุ์ไม้ผลเมืองหนาวสำหรับปลูกในพื้นที่สูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้แก่ พันธุ์แอปเปิล พันธุ์ท้อสำหรับรับประทานสด และพันนอกจากนี้สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือยังได้มีความพยายามที่จะทำการรวบรวมและศึกษาพันธุ์องุ่นสำหรับทำไวน์ รวมทั้งองุ่นสำหรับรับประทานสด เพื่อพัฒนาพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดเลยทำการปลูกต่อไปอีกด้วย
เลย
นักท่องเที่ยวท่านใดที่เดินทางมาที่สวนลำดวน ถ้าได้มาแล้วไม่มีคำว่าผิดหวังแน่นอน กับการได้รับประทานบุฟเฟ่ต์ผลไม้ ทั้ง เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง สามารถทานได้ไม่อั้น จนกว่าลูกค้าจะพอใจ ที่สำคัญไปกว่านั้นทุเรียน เราสามารถเลือกทานได้ ตามใจเรา เพราะมีค่อนข้าง หลากหลายพันธุ์ เจ้าของสวนบริการดี มีมนุษย์สัมพันธ์กับลูกค้าแบบเป็นกันเอง
ระยอง
1.เป็นศูนย์เรียนรู้สวนเอเดนเกษตรอินทรีย์เศรษฐกิจพอเพียง 2.การทำแก๊สชีวภาพใช้ในครัวเรือน 3.การทำปุ๋ยอินทรีย์และการทำน้ำหมักชีภาพ 4.การใช้ควายไถนาสู่วิถีชีวิตดั้งเดิม 5.การฝายชะลอน้ำและการฟื้นฟูป่าเพื่อเป็นแหล่งน้ำ(ปลูกป่า) 6.การทำหมูหลุม ควายหลุุม ไก่ และอื่นๆ 7.การปลูกพืชผักอินทรีย์และผลไม้อินทรีย์(ผสมผสาน) 8.การประมง
เชียงราย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
พื้นที่ปลูกพืชผลการเกษตรปลอดสารพิษ บริการที่พักแบบแคมป์ปิ้ง สามารถปั่นจักรยานชมวิวทิวทัศน์รอบๆที่สวยงามได้
พะเยา